40 หะดิษฺ สำหรับเดือนรอมฎอน (2)


2,648 ผู้ชม

40 หะดิษฺ สำหรับเดือนรอมฎอน เป็นการรวบรวมหะดิษฺต่าง ๆ ของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ซึ่งเกี่ยวกับคุณค่าของเดือนรอนฎอน รวมทั้งอะมัลต่าง ๆ ที่สนับสนุนให้ปฏิบัติในเดือนอันประเสริฐนี้ ...


40 หะดิษฺ สำหรับเดือนรอมฎอน (2)

40 หะดิษฺ สำหรับเดือนรอมฎอน เป็นการรวบรวมหะดิษฺต่าง ๆ ของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ซึ่งเกี่ยวกับคุณค่าของเดือนรอนฎอน รวมทั้งอะมัลต่าง ๆ ที่สนับสนุนให้ปฏิบัติในเดือนอันประเสริฐนี้

หะดีษบทที่ 6

การถือศีลอดเป็นโล่ห์กำบัง

عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ رَضِيَ اللهَ عَنْهُ أَنَّ رَسُولَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمْ قَالَ :
الصِّيَامُ جُنَّةٌ فَلاَ يَرْفُثْ وَلاَ يَجْهَلْ . وَاِنِ امْرَؤٌ قَاتَلَهُ أَوْ شَاتَهُ فَلْيَقُلْ إِنِّي صِائِمٌ ـ مَرَّتَيْنِ

البخارى مع الفتح 4/103 ومسلم 1151

ความหมาย จากอบี ฮุรอยเราะห์ เราะฏิยัลลอฮุอันฮุ ท่านรอซูล กล่าวว่า "การถือศีลอดนั้นเป็นโล่ห์กำบัง (เมื่อผู้ใดถือศีลอด)ดังนั้นเขาจงอย่าได้กล่าวคำพูดที่ชั่ว (เหมือนกับการกระทำของผู้ที่อวิชา) และหากมีผู้ใดจะสาปแช่ง หรือกล่าวเหยียดหยาม และจงพูดว่า แท้จริงแล้วฉันกำลังถือศีลอด" (2 ครั้ง) (รายงานโดยอัล-บุคอรี4/103 มุสลิม 1151)

คำอธิบายหะดีษ

คำว่า "جُنَّةٌ" มีหะดีษหลายบทได้ให้ความหมายที่แตกต่างกันไป ดังนี้

1. การเพิ่มเติมในรายงานหะดีษของสะอีด บิน มันซูรหมายถึงการระมัดระวังจากไฟนรก

2. การเพิ่มเติมในรายงานหะดีษของอัน-นะซาอีย์ หมายถึงการถือศีลอดนั้นเป็นเสมือนโล่ห์กำบัง(ที่ถูกเตรียมไว้) โดยคนใดคนหนึ่งจากพวกท่านเพื่อป้องกันตัวในการสงคราม

บรรดาอุละมาอ์ยังได้ให้ทัศนะต่าง ๆ ดังนี้

- เจ้าของหนังสือ "อันนิฮายะห์" ระบุว่า การถือศีลอดนั้นสามารถปกป้องผู้ที่ถือศีลอดจากการรบกวนของอารมณ์ใฝ่ต่ำ

- อัลกุรฎุบีย์กล่าวว่า เป็นกำแพงกั้น ตามเป้าหมายการถือศีลอดของศีลอดนั้น ดังนั้นผู้ที่ถือศีลอดจะต้องรักษาศีลอดของเขาจากทุกสิ่งที่อาจจะทำให้การถือศีลอดของเขาเสียไป

- อิยาฎกล่าวว่า การถือศีลอดสามารถป้องกันจากบาปต่างๆ หรือจากไฟนรก หรือจากทั้งสองอย่างนั้น ทัศนะนี้ได้รับการสนับสนุนจากอิหม่ามอันนะวะวีย์

- อิบนุ อะเราะบีย์กล่าวว่า สาเหตุที่การถือศีลอดเป็นสิ่งที่สามารถปกป้องจากไฟนรกได้ก็เพราะว่าการถือศีลอดนั้นสามารถปกป้องจากการหลอกลวงของอารมณ์ใฝ่ต่ำ เพราะว่านรกนั้นจะถูกล้อมรอบด้วยอารมณ์ใฝ่ต่ำนั่นเอง

สรุป

ในเมื่อการศีลอดสามารถปกป้องจากอารมณ์ใฝ่ต่ำของดุนยาแล้ว แน่นอนที่สุดการถือศีลอดก็สามารถปกป้องผู้ถือศีลอดจากไฟนรกในวันอะคิเราะห์ได้เช่นกัน

ในกรณีที่ผู้ถือศีลอด ได้รับการดูถูกเหยียดหยามและถูกสาบแช่งโดยผู้อื่นนั้น เขาจงกล่าวว่าฉันกำลังถือศีลอด ไม่ว่าจะโดยทางวาจาหรือกล่าวในใจก็ได้

บทเรียนจากหะดีษ

1. ให้รักษามารยาทต่างๆ ในการถือศีลอด เพื่อจะได้รับผลของการถือศีลอดอย่างครบถ้วน

2. การกระทำต่างๆ ที่อาจทำให้ผลบุญของการถือศีลอดลงน้อยลง เช่น การพูดจาในสิ่งที่ไร้สาระ และการกระทำต่างๆ ที่เหมือนคนอวิชชา

3. ห้ามผู้ที่ถือศีลอดตอบโต้ต่อคำพูดที่เหยียดหยามตน

4.เพื่อรักษาความสมบูรณ์ของการถือศีลอด เมื่อมีคำพูดที่เหยียดหยามตัวเขาแล้ว ให้ปฏิบัติตัวอย่างมั่นคงในฐานะเป็นผู้ที่ถือศีลอด

5. การไม่ตอบโต้คำพูดที่เหยียดหยามตน อาจจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้น โดยเฉพาะเมื่อผู้นั้นกำลังถือศีลอดอยู่

6. อิสลามสอนให้มุสลิมมีมารยาทที่ดีงามและมีความรู้มิใช่มีมารยาทอย่างคนที่โงเขล่า

หะดีษบทที่ 7

การถือศีลอดสามารถลดอารมณ์ใฝ่ต่ำ

عَنْ اْبنِ مَسْعُود رَضِىَ اللهُ عَنْهُ قَالَ : قَالَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّم : " يَا مَعْشَرَ الشَّبَابِ مَنِ اسْتَطَاعَ مِنْكُمْ البَاءَةَ فَلْيَتَزَوَّجْ ، فَإِنَّهُ أَغَضُّ لِلْبَصَرِ وَأَحْصَنُ لِلْفَرَجِ ، وَمَنْ لَمْ يَسْتَطِعْ فَعَلَيْهِ بِالصَّوْمِ ، فَإِنَّ لَهُ وِجَاٌء " البخارى 4779 ومسلم 1400

ความว่า จากอิบนุ มัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ท่านรอซูล(ศ็อลฯ) กล่าว "โอ้บรรดาชายหนุ่มทั้งหลาย ผู้ใดจากพวกท่านที่มีความสามารถแต่งงานได้จงแต่งงานเถิด แท้จริงแล้ว (ด้วยการแต่งงานนั้น) สามารถรักษาสายตาของพวกท่าน (จากสิ่งที่หะรอม) และยังสามารถรักษาอวัยวะเพศของท่านได้ (แต่) ถ้าหากผู้ใดไม่สามารถ (แต่งงาน) ดังนั้น พวกท่านจงถือศีลอด เนื่องจากการถือศีลอดสามารถลด" (ความรู้สึกของอารมณ์ใฝ่ต่ำได้) (รายงานโดยมุสลิม 4779 และมุสลิม 1400)

คำอธิบายหะดีษ

ในหะดีษข้างต้นได้เชิญชวนเฉพาะในหมู่เยาวชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้มีความสามารถในการแต่งงาน

อิบนุ หะญัร อัล-อัสเกาะลานีย์กล่าวว่า "โดยปกติแล้วความต้องการทางอารมณ์สูงนั้นจะนำไปสู่การแต่งงาน ซึ่งจะมีอยู่ในตัวของบรรดาคนหนุ่ม ซึ่งจะแตกต่างไปจากผู้ที่สูงอายุ 1
คำเชิญชวนของท่านรอซูล (ศ็อลฯฯ) ต่อบรรดาชายหนุ่มนั้นเป็นแนวทางแก้ปัญหาทางสังคมที่สำคัญยิ่ง ความระส่ำระสายที่สังคมปัจจุบันกำลังเผชิญอยู่ในทุกวันนี้ เนื่องจากคนหนุ่มสาวจำนวนมากกำลังตกอยู่ในสภาวะที่หะรอมอันเนื่องมาจากความผิดพลาดในการใช้อารมณ์ใฝ่ต่ำ จึงทำให้พวกเขาต้องกระทำความชั่วก่อนการแต่งงาน

ด้วยเหตุนี้เองอิสลามจึงส่งเสริมให้บรรดาคนหนุ่มสาวแต่งงานมีครอบครัว หลังจากที่พวกเขามีความพร้อมที่ดีไม่ว่าทางวัตถุเช่น ค่าสินสอดและความพร้อมในการมีเพศสัมพันธ์ ถ้าหากว่าพวกเขาไม่สามารถกระทำแล้ว ดังนั้นจึงส่งเสริมให้มีการถือศีลอด และด้วยการถือศีลอดสามารถลดอารมณ์ฝ่ายต่ำได้

ความหมายของหนุ่มสาวในที่นี้หมายถึงใคร ดังนั้นอุละมาอ์หลายๆ ท่านมีทัศนะ ดังนี้คือ
- อิหม่ามชาฟิอีย์มีทัศนะว่า ผู้ที่บรรลุศาสนภาวะจนมีอายุครบ 30 ปีบริบูรณ์
- อัล-กุรฏุบีย์มีทัศนะว่า นับตั้งแต่อายุ 16 ปี จนถึง 32 ปี
- ซะมัคชะรีย์มีทัศนะว่า นับจากบรรลุศาสนภาวะจนมีอายุครบ 32 ปี.
- อิบนุ อ๊าศมองว่า เริ่มตั้งแต่บรรลุศาสนภาวะจนถึงอายุ 40 ปี
- อิหม่ามอันนะวะวีย์มีทัศนะว่า ทัศนะที่ถูกต้องที่สุด และได้ถูกคัดเลือกคือ ผู้ที่บรรลุศาสนภาวะและต้องมีอายุไม่เกิน 30 ปี

บทเรียนที่ได้จากหะดีษ

1. แนะนำผู้ที่ไม่มีความสามารถแต่งงานเพราะไม่มีค่าสินสอดด้วยการถือศีลอด เนื่องจากอารมณ์ใคร่มาจากการกินอาหาร เมื่อความต้องการกินมีสูงแล้ว ทำให้มีความต้องการที่จะแต่งงานขึ้น

2. ให้มีการรักษาสายตาและอวัยวะเพศจากสิ่งที่หะรอมอย่างเคร่งครัด

3. คำสอนของอิสลามนั้นตระหนักถึงความเป็นอยู่ของมนุษย์ โดยไม่บังคับบุคคลที่ไม่มีความสามารถให้ปฏิบัติสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ศาสนาบังคับ

4. อิสลามส่งเสริมให้แต่งงานมีครอบครัว ไม่ส่งเสริมให้คนหนุ่มสาวมีชีวิตอยู่อย่างเป็นโสด

5. ความประเสริฐของการถือศีลอดสามารถแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ หลายประการในชีวิต

6. อิสลามได้ตระหนักเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่ของคนหนุ่มสาว รวมทั้งแก้ไขปัญหาของพวกเขา

หะดีษบทที่ 8

ความสุขของผู้ที่ถือศีลอด

عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ رَضِىَ اللهُ عَنهُ قَالَ : قَالَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّم : " لِلصَّائِمِ فَرْحَتَانِ يَفْرَحُهُمَا ، إِذَا أَفْطَرَ فَرِحَ بِفِطْرِهَ وَإِذَا لَقِىَ رَبَّهُ فَرِحَ بِصَومِهِ" رواه مسلم 2/807

ความว่า จากอบี ฮุรอยเราะห์ เราะฎิยัลลอฮ กล่าวว่า ท่านรอซูลกล่าวว่า "สำหรับผู้ที่ถือศีลอดมีความสุขอยู่ 2 วาระ (หนึ่ง) มีความสุขขณะละศีลอด (สอง) ความสุขขณะพบกับพระผู้เป็นเจ้าของเขา" (ในวันอาคีเราะฮฺ) บันทึกโดยมุสลิม 2/807

คำอธิบายหะดีษ

อัล-กุรฏุบีย์กล่าวว่า ความสุขในขณะละศีลอดนั้นคือ การหายจากความหิวและการกระหายน้ำ เพราะได้ละศีลอด

อิหม่ามอันนะวะวีย์กล่าวว่า ความสุขขณะที่พบกับอัลลอฮ เนื่องจากเขาสามารถมองเห็นการตอบแทนจากพระองค์ และรำลึกถึงเนี๊ยะมัตของอัลลอฮ (ซุบฮ) อันเนื่องจากได้รับเตาฟีกจากพระองค์ส่วน (ความสุขขณะละศีลอด) นั้นเนื่องจากเขาได้รับความสมบูรณ์ในการประกอบอิบาดะห์และปลอดภัยจากสิ่งที่ทำให้อิบะดะห์ของการถือศีลอดนั้นเสียไป ทั้งยังประสบความสำเร็จในสิ่งที่เขาคาดหวังไว้ในผลบุญ [เศาะฮีห์มุสลิม บิซัรฮุ อันนะวะวีย์ 8/31-32]

บทเรียนจากหะดีษ
1. ผู้ที่ถือศีลอดจะมีความสุขอยู่ 2 ประการ

2. กล่าวถึงเนี๊ยะมัตและผลตอบแทนของผู้ที่ถือศีลอดที่จะได้รับจากอัลลอฮ

3. เนี๊ยะมัตในดุนยาที่สามารถลิ้มรสได้ก็คือ ขณะละศีลอดหรือหลังจากผ่านการถือศีลอดเดือนรอมฎอน

4. เนียะมัตที่สามารถลิ้มรสได้วันอาคีเราะห์ก็คือ ขณะที่พบกับพระพักตร์ของอัลลอฮฺ ซึ่งเขาจะได้รับการตอบแทนความดีงามจากพระองค์

5. การถือศีลอดนั้นแม้ว่าในรูปธรรมแล้วจะหิวกระหาย แต่ในความเป็นจริงแล้วจะประกอบด้วยความสุขอันใหญ่หลวง โดยเฉพาะความสุขขณะพบกับพระพักตร์ของอัลลอฮฺ

6. ผลของการทดสอบจากอัลลอฮนั้นจะได้รับผลตอบแทนที่ดีงาม อาจได้รับขณะที่มีชีวิตอยู่บนโลกนี้หรือในวันอะคีเราะห์

หะดีษบทที่ 9

กลิ่นปากของผู้ถือศีลอด

عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ رَضِىَ اللهُ عَنْهُ قَالَ : قَالَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهِ عَلَيْهِ وَسَلَّمْ : " قَالَ اللهِ : وَالَّذِيْ نَفْسُ مُحَمَّدٍ بِيَدِهِ لَخُلُوفُ فَمِ الصَّائِمِ أَطِيْبُ عِنْدَاللهِ مَنْ رِيْح المِسْكِ . رواه مسلم 2/807

ความว่า ท่านรอซูล (ศ็อลฯ) กล่าวว่า "ข้าแด่พระผู้เป็นเจ้า ซึ่งชีวิตมูหัมมัดอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ แท้จริงกลิ่นปากของผู้ถือ ศีลอดในทัศนะของอัลลอฮนั้นหอมยิ่งกว่ากลิ่นชะมดเชียง" (บันทึกโดยมุสลิม 2/807)

คำอธิบาย

อัล-กอฏีย์กล่าวว่า อุละมาอ์บางท่านกล่าวว่าอัลลอฮทรงตอบแทนผู้ที่ถือศีลอดในวันอะคิเราะห์นั้น โดยที่กลิ่นปากของเขาหอมยิ่งกว่ากลิ่นชะมดเชียง และมีความเสมอเหมือนกับเลือดของผู้ที่ตายชะฮีดซึ่งจะมีกลิ่นหอมยิ่งกว่ากลิ่นชะมดเชียง

อุละมาอ์ท่านอื่นกล่าวว่า สำหรับมะลาอีกะฮ์แล้วกลิ่นของผู้ที่ถือศีลอดนั้นจะมีกลิ่นหอมยิ่งกว่ากลิ่นชะมดเชียง แม้ว่าสำหรับคนเราแล้วจะมีกลิ่นที่ตรงกันข้ามก็ตาม

อิหม่ามอันนะวะวีย์กล่าวว่า ที่เศาะฮีห์ก็คือ ตามที่อัด-ดาวิรีย์กล่าวว่าเหมือนอย่างที่บรรดาเศาะฮาบะฮ์ของพวกเขาพูดว่ากลิ่นปากของผู้ที่ถือศีลอดนั้นจะได้ผลบุญมากกว่าการสุนัตให้พรมน้ำหอมในพิธีต่างๆ เช่น วันอีด หรือการรวมตัวต่างๆ หะดีษนี้เป็นการอ้างอิงของบรรดาเศาะฮาบะห์ของเราที่พูดว่ามักรูฮในการแปรงฟันสำหรับผู้ที่ถือศีลอดหลังจากดวงอาทิตย์คล้อย เพราะอาจจะทำให้กลิ่นตามคุณลักษณะและผลบุญที่จะได้รับในหะดีษดังกล่าวหมดไป แม้ว่าการแปรงฟันนั้นจะมีข้อดีก็ตาม แต่ความประเสริฐของกลิ่นปากนั้นสำคัญเหนือกว่า พวกเขากล่าวว่ามีความเสมอเหมือนกับเลือดของคนที่ตายชะฮีด ซึ่งเป็นที่รับรองว่ามีกลิ่นหอมมาก ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีการอาบน้ำศพสำหรับผู้ที่ตายชะฮีด แม้ว่าการอาบน้ำศพนั้นหุกมวาญิบก็ตาม การละทิ้งสิ่งที่วาญิบเพื่อรักษาเลือดที่ยอมรับว่ามีกลิ่นหอมนั้นถือว่าหุก่ม อนุญาตให้ทำได้ เฉกเช่นเดียวกันกับการละทิ้งการแปรงฟันซึ่งมิใช่เป็นวาญิบ เพื่อคงไว้ซึ่งกลิ่นที่ถือว่ามีกลิ่นหอม จึงเป็นเรื่องสำคัญมากกว่า [เศาะฮีห์มุสลิม ชัรฮุ อันนะวะวีย์ 8/30]

บทเรียนจากหะดีษ

1. ความประเสริฐของผู้ที่ถือศีลอด กระทั่งปากของเขา อัลลอฮยังได้ให้ความสำคัญอีกด้วย

2. กลิ่นปากที่เหม็นของผู้ที่ถือศีลอด อัลลอฮทรงเปลี่ยนให้มีกลิ่นหอม

3. อัลลอฮทรงให้เกียรติแก่ผู้ที่ถือศีลอด

4. อัลลอฮทรงอำนาจสามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งหนึ่งสิ่งใดตามความประสงค์ของพระองค์

หะดีษบทที่ 10

อัล-ร็อยยาน : ประตูสวรรค์สำหรับผู้ที่ถือศีลอด

عَنْ سَهْلِ بْنِ سَعْدٍ السَاعِدِىْ رَضِىَ اللهُ عَنْهُ قَالَ : سَمِعْتُ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهِ عَلَيْهِ وَسَلَّمْ يَقُولُ : إِنَّ فِي الجَنَّةِ بَاباً يُقَالُ لَهُ : الرَيَّانُ ، فَإِذَا كَانَ يَومَ القِيَامَةِ قِيْلَ : أَيْنَ الصَائِمُوْنَ ؟ فَإِذَا دَخَلُوا ، أَغْلِقَ فَيَشْرَبُوْنَ مِنْهُ ، فَمَنْ شَرِبَ مِنْهُ لَمْ يَظْمَأ أَبَدًا. رواه الترمذي 765 والنسائى 4/168

ความว่า จากซะห์ล บิน สะอ์ด อัซซาอิดีย์ กล่าวว่า ฉันฟังท่าน รอซูล (ศ็อลฯ) กล่าวว่า "แท้จริงแล้วในสรวงสวรรค์นั้นจะปรากฏประตูหนึ่งชื่อว่า "الريَّان " ดังนั้นเมื่อวันปรโลกได้เกิดขึ้น มะลาอิกะฮ์จะถามว่า : ผู้ที่ถือศีลอดอยู่ไหน? ครั้นเมื่อผู้ที่ถือศีลอดเข้าไป ประตูก็จะปิด และพวกเขาก็จะดื่มน้ำจากสรวงสวรรค์ ผู้ใดที่ได้ดื่มน้ำจากสรวงสวรรค์แล้วเขาจะไม่รู้สึกกระหายตลอดไป" (บันทึกโดยอัต-ติรมีซี 765 และอัลนะซาอีย์ 4/168/)

คำอธิบาย

"الريَّان" เป็นชื่อหนึ่งของประตูสวรรค์ที่อัลลอฮได้เตรียมไว้แก่บรรดาผู้ถือศีลอด เดิมมาจากคำภาษาอาหรับว่า "อัล-ร็อยย์" หมายถึง การรดน้ำหรือการทำให้หายไปจากความกระหาย จึงเป็นสิ่งที่สมควรสำหรับผู้ที่ถือศีลอด

อัซ-ซัยน์ อิบนุ อัล-มุนีร กล่าวว่า ประตูดังกล่าวนั้นอยู่ในสรวงสวรรค์มิใช่ว่าสวรรค์นั้นมีประตูหาใช่ไม่ ซึ่งเป็นการให้ตระหนักว่าในประตูดังกล่าวนั้นจะปรากฎซึ่งเนี๊ยะมัตและการพักผ่อนหย่อนใจในสวนสวรรค์ ดังนั้นจึงมีความสุขสำราญและรำลึกถึงประตูดังกล่าว [ฟัตฮุล บารีย์ 4/111]

บทเรียนจากหะดีษ

1. กล่าวถึงผลที่ดีเลิศของผู้ที่ถือศีลอดในวันอะคีเราะห์

2. เนี๊ยะมัตในสวนสวรรค์นั้นมีมากมาย เช่น อัลลอฮฺได้เตรียมประตูไว้เฉพาะสำหรับผู้ที่ถือศีลอด

3. ความพิเศษของผู้ที่ถือศีลอด อัลลอฮฺได้ให้เกียรติแก่พวกเขาด้วยความโปรดปรานที่ไม่มีกับบุคคลอื่น

4. ส่งเสริมให้มีการถือศีลอดเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่พระองค์ทรงสัญญาไว้

5. ผลตอบแทนที่อัลลอฮฺมอบให้แก่ผู้ที่ถือศีลอด แสดงให้เห็นว่าการถือศีลอดนั้นมีความประเสริฐยิ่ง

อัพเดทล่าสุด