อาการหลงลืมตามวัยหรือไม่ค่อยมีสมาธิ แก้ได้อย่างไร


2,269 ผู้ชม

อาการหลงลืมตามวัยหรือไม่ค่อยมีสมาธิมักมีสาเหตุมาจากไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของเรา


เคยไหม? เรียนไม่รู้เรื่อง คิดช้าลง คิดงานไม่ออก ทำงานออกมาได้ไม่ดีเหมือนที่เคย เริ่มคิดอะไรที่ซับซ้อนได้ยากขึ้น (เช่น บวกเลขหรือทอนเงินผิด) นึกคำพูดไม่ออกหรือพูดคำไม่ถูกต้องแต่ใกล้เคียง หรือมีอาการหลงลืมตามวัย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของต่าง ๆ (กุญแจบ้าน/กุญแจรถ โทรศัพท์ รหัสผ่านต่าง ๆ เอกสารสำคัญ) หรือลืมว่าเก็บของไว้ตรงไหน, ลืมส่งงาน, ลืมวันเดือนปี, จำวันที่หรือเหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านมาไม่ได้, จำทางไม่ได้หรือเกิดหลงทางในที่คุ้นเคย, ลืมชื่อ ลืมนัดหรือลืมวันสำคัญต่าง ๆ

อาการเหล่านี้อาจดูไม่ผิดปกติอะไรถ้านาน ๆ เกิดขึ้นที แต่หากเกิดขึ้นบ่อยครั้งจนเกินไปก็อาจเป็นสัญญาณของการมีปัญหาเรื่องหลงลืมตามวัยได้ และอาจส่งผลให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการสูญเสียเวลา เงินทอง มิตรภาพ และอาจส่งผลกระทบต่อหน้าที่การงาน การเรียน และการเข้าสังคมได้

อาการหลงลืมตามวัยหรือไม่ค่อยมีสมาธิมักมีสาเหตุมาจากไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของเรา ได้แก่

  1. อายุที่มากขึ้น เป็นสาเหตุหลักที่ยากจะหลีกเลี่ยง ส่งผลให้ฟังก์ชั่นการรับรู้ สมาธิ ความเร็วในการประมวลผล และการจดจำลดน้อยถดถอยลงไปด้วย โดยเฉพาะในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป
  2. ขาดการพักผ่อนอย่างเพียงพอ การพักผ่อนน้อยติดต่อกันหลายวันหรือนอนน้อยกว่าวันละ 7-8 ชั่วโมง จะทำให้สมองเกิดความเมื่อยล้าส่งผลให้เราไม่มีสมาธิ หงุดหงิดง่าย และเกิดอาการขี้หลงขี้ลืม นอกจากนี้ การนอนหลับที่ไม่มีคุณภาพหรือหลับได้ไม่สนิทก็ทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับความทรงจำ สมาธิ และการตัดสินใจด้วย
  3. อยู่ในสภาวะเครียด รวมถึงความรู้สึกด้านลบต่าง ๆ เช่น มีความกังวล เกิดอารมณ์เศร้า ฯลฯ ก็สามารถส่งผลให้เกิดปัญหาด้านความจำได้ และยังเสี่ยงต่อการเกิดอาการนอนไม่ค่อยหลับด้วย
  4. ขาดโภชนาการที่ดี หากร่างกายไม่ค่อยได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์หรือไม่ครบ 5 หมู่อยู่เป็นประจำ ก็อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการหลงลืมตามวัย ความจำไม่ค่อยดีได้
  5. การดื่มแอลกอฮอล์ หากดื่มในปริมาณมากหรือดื่มทุกวันก็อาจส่งผลให้เกิดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับความทรงจำและเกิดอาการหลงลืมในช่วงที่ดื่มแอลกอฮอล์ หรือมีปัญหากับการจัดการความจำระยะสั้นได้
  6. การสูบบุหรี่ รู้หรือไม่ ? การสูบบุหรี่ทุกวันนั้นมีผลกระทบอย่างมากต่อการสูญเสียความจำที่มาพร้อมกับความแก่ชรา
  7. โรคหรือการใช้ยาบางชนิด การเป็นโรคหรือการใช้ยาบางชนิดก็ส่งผลกระทบเรื่องความจำได้ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง การใช้ยาระงับประสาท ฯลฯ แต่อย่างไรก็ตาม หากคุณมีอาการหลงลืมตามวัยบ่อย ๆ ก็แนะนำให้ไปหาหมอครับ ไม่ควรวินิจฉัยเองหรือกังวลไปก่อนครับ
  8. สาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้สมาธิสั้นจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ไม่นาน เช่น การทำหลายอย่างในเวลาเดียวกัน, ยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้ใจร้อนไม่รู้จักการรอคอย, การใช้งานโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานานจนส่งผลให้ขาดสมาธิ, พันธุกรรม (อย่างโรคสมาธิสั้นที่ส่งต่อกันผ่านทางพันธุกรรม) ฯลฯ

การดูแลและป้องกันตัวเองในเบื้องต้น เฉพาะในส่วนของอาการหลงลืมตามวัยทั่วไปที่ไม่ใช่โรคทางสมองที่พอจะป้องกันและแก้ไขได้ ก็คือการหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการหลงลืมตามวัยดังที่กล่าวมา ได้แก่

  1. พักผ่อนให้เพียงพอ การนอนหลับอย่างเพียงพอและนอนหลับอย่างมีคุณภาพ (หลับสนิท) สามารถช่วยลดปัญหาด้านความจำ ไม่มีสมาธิ และการตัดสินใจไม่ค่อยดีได้ อีกทั้งการนอนหลับที่ดียังจำเป็นต่อการรวบรวมความทรงจำ ซึ่งประกอบด้วยการสร้างและเก็บความทรงจำใหม่ ๆ เพื่อให้คุณนำออกมาใช้ในภายหลังด้วยเช่นกัน
  2. จัดการความเครียดให้ดี/ใช้ชีวิตทางสังคมให้สนุก โดยอาจเริ่มจากการจัดสรรเวลาในชีวิตประจำวันให้ดี (โดยแยกเวลาการทำงาน การใช้ชีวิตส่วนตัว การอยู่กับครอบครัวให้ชัดเจน ไม่ทำงานไปในขณะที่ใช้เวลาอยู่กับครอบครัว เป็นต้น) ปรับเปลี่ยนความคิดเพื่อไม่ให้จมอยู่กับความคิดใดความคิดหนึ่งมากเกินไปจนทำให้เกิดอาการเครียดโดยไม่รู้ตัว หรือผ่อนคลายด้วยการนอนดูหนัง ฟังเพลงสบาย ๆ นั่งสมาธิ ฝึกจิต สวดมนต์ไหว้พระ ทำงานอดิเรกที่ชื่นชอบ ฯลฯ
  3. ใช้ชีวิตทางสังคมให้สนุก ผู้ที่ไม่ค่อยได้ติดต่อกับเพื่อนหรือครอบครัวมักจะเสี่ยงมีปัญหาเกี่ยวกับความทรงจำมากกว่าผู้ที่ชอบเข้าสังคม
  4. ออกกำลังกายเป็นประจำ รวมถึงรักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสมจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดอาการหลงลืมตามวัย
  5. ลดการดื่มแอลกอฮอล์ให้น้อยลง รวมไปถึงการหลีกเลี่ยงใช้ยาหรือสารต่าง ๆ ที่ส่งผลต่ออาการหลงลืมตามวัยโดยไม่ปรึกษาแพทย์
  6. งดการสูบบุหรี่ เพื่อไม่ไปเพิ่มโอกาสต่อการเกิดอาการหลงลืมตามวัย
  7. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ถ้าเริ่มต้นเลยก็คือการรับประทานให้ครบ 5 หมู่ ไม่งดอาหารเช้า หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เค็มจัด หวานจัด และไปเน้นเสริมอาหารที่มีส่วนช่วยในเรื่องสมาธิ และความจำ เช่น อาหารที่มีโอเมก้า 3 (ไข่ ปลาทะเล) ใบแปะก๊วย ซุปไก่สกัด ผลไม้ตระกูลเบอร์รี แอปเปิล อะโวคาโด ผักโขม แครอท ธัญพืชและถั่วต่าง ๆ
  8. ตรวจเช็คสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพื่อทำการตรวจร่างกายโดยรวมและรับการทดสอบภาวะความจำหรือตรวจพิเศษอื่น ๆ ถ้าจำเป็น หากพบความผิดปกติจะได้ทำการรักษาและป้องกันได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ครับ

ไลฟ์สไตล์ หรือ “รูปแบบการใช้ชีวิต” นั้น เป็นองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพเป็นอย่างมากสำหรับทุกคนไม่ว่าจะเป็นวัยเรียน วัยทำงาน หรือผู้สูงอายุ การหันเอาเวลามาใส่ใจสุขภาพ เช่น การพักผ่อนให้เพียงพอ, การจัดการกับความเครียด, การใช้ชีวิตทางสังคมให้สนุก, การออกกำลังกายเป็นประจำ, การงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, การงดสูบบุหรี่,การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และการตรวจเช็คสุขภาพ ถือเป็นการป้องกันไม่ให้ร่างกายอ่อนแอและเจ็บป่วยย่อมดีกว่าการมารักษาทีหลัง แต่ถ้าหากใครยังไม่มั่นใจในเรื่องของไลฟ์สไตล์ตัวเอง

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

อัพเดทล่าสุด