กินไม่ระวังอาจถึงตาย! เส้นก๋วยเตี๋ยว 3 ชนิด ที่ใส่สารกันบูดเยอะที่สุด กินบ่อยๆ ตับ-ไตพัง


6,643 ผู้ชม

คนรักสุขภาพอาจมีระแวง เพราะก๋วยเตี๋ยวถือเป็นอาหารที่มีแคลอรี่ไม่มาก จึงเป็นที่นิยมสำหรับคนที่กำลังควบคุมน้ำหนัก แต่หากชอบทางเส้นก๋วยเตี๋ยวด้วยแล้ว อาจจะต้องคิดหนัก เพราะพบสารกันบูดมหาศาล จนอาจเรียกได้ว่าเกินมาตรฐานในเส้นก๋วยเตี๋ยวที่ผลิตโดยผู้ประกอบการบางราย หากบริโภคติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจส่งผลกระทบต่อตับ และไตได้


คนรักสุขภาพอาจมีระแวง เพราะก๋วยเตี๋ยวถือเป็นอาหารที่มีแคลอรี่ไม่มาก จึงเป็นที่นิยมสำหรับคนที่กำลังควบคุมน้ำหนัก แต่หากชอบทางเส้นก๋วยเตี๋ยวด้วยแล้ว อาจจะต้องคิดหนัก เพราะพบสารกันบูดมหาศาล จนอาจเรียกได้ว่าเกินมาตรฐานในเส้นก๋วยเตี๋ยวที่ผลิตโดยผู้ประกอบการบางราย หากบริโภคติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจส่งผลกระทบต่อตับ และไตได้

ทำไมเส้นก๋วยเตี๋ยว ถึงต้องใส่สารกันบูด?

เนื่องจากเส้นก๋วยเตี๋ยวสดอาจมีอายุในการเก็บรักษาได้ไม่นาน  ดังนั้นผู้ประกอบการจึงมักใส่สารกันบูด เพื่อยืดอายุของเส้นก๋วยเตี๋ยวให้อยู่ได้นานมากยิ่งขึ้น เก็บรักษาก่อนปรุงได้นานมากยิ่งขึ้น
อันตรายของสารกันบูดที่มีต่อร่างกาย

สารกันบูดที่นิยมใช้คือกรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก ซึ่งหากร่างกายได้รับในปริมาณสูงเป็นเวลานาน ๆ จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของตับและไตลดลง
เส้นก๋วยเตี๋ยวที่พบสารกันบูดมากที่สุด คือ (เรียงลำดับจากมากไปน้อย)

–         เส้นเล็ก
–         เส้นหมี่
–         เส้นใหญ่
 
 
เส้นก๋วยเตี๋ยวที่ไม่พบสารกันบูด คือ
–         บะหมี่เหลือง
–         วุ้นเส้น
ทั้งนี้ใช่ว่าเส้นก๋วยเตี๋ยวทั่วประเทศไทยจพบสารกันบูดในปริมาณมากกว่ามาตรฐานเสมอไปนะคะ ดังนั้นคนที่ชอบทานก๋วยเตี๋ยว อาจจะลองเปลี่ยนเส้นที่ทานไปเรื่อยๆ หรือลองทานเป็นเส้นบะหมี่ หรือวุ้นเส้น ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการรับสารกันบูดเข้าร่างกายอย่างไม่ตั้งใจได้มากขึ้น หรือถ้าจะควบคุมน้ำหนักไปด้วย ก็ลองทานเป็นเกาเหลาดูบ้างก็ไม่เลว
ที่มา                 tnews

อัพเดทล่าสุด