8 ขั้นตอน วิธีรักษาและปฐมพยาบาลอาการข้อเท้าพลิก ข้อเท้าแพลงในเบื้องต้น


3,295 ผู้ชม

อาการข้อเท้าพลิก ข้อเท้าแพลงนั้น ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ โดยเฉพาะในระหว่างการเดินหรือวิ่งในพื้นผิวที่ไม่ราบเรียบ และเมื่อเกิดข้อเท้าพลิกขึ้นมาแล้วนั้น อาจส่งผลเสียต่ออวัยวะส่วนนั้น เช่น กระดูกอ่อน หรือเส้นเอ็นได้ไม่ยาก หากไม่รู้จักวิธีรักษาพยาบาลที่ถูกหลัก ดังนั้นวันนี้เราจะมาแนะนำถึงวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นกับผู้ป่วยที่มีอาการข้อเท้าพลิก ก่อนนำส่งถึงมือหมอกันครับ


อาการข้อเท้าพลิก ข้อเท้าแพลงนั้น ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ โดยเฉพาะในระหว่างการเดินหรือวิ่งในพื้นผิวที่ไม่ราบเรียบ และเมื่อเกิดข้อเท้าพลิกขึ้นมาแล้วนั้น อาจส่งผลเสียต่ออวัยวะส่วนนั้น เช่น กระดูกอ่อน หรือเส้นเอ็นได้ไม่ยาก หากไม่รู้จักวิธีรักษาพยาบาลที่ถูกหลัก ดังนั้นวันนี้เราจะมาแนะนำถึงวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นกับผู้ป่วยที่มีอาการข้อเท้าพลิก ก่อนนำส่งถึงมือหมอกันครับ
1. อย่างแรกเลยห้ามให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวบริเวณที่เกิดการพลิกโดยเด็ดขาดเพราะ อาจมีส่วนของกระดูกแตกเกิดขึ้นได้ ดังนั้นให้หาไม้มาวางประคบแล้วใช้เชือกพันเป็นเฝือก และหากจำเป็นต้องมีการเคลื่อนที่ควรใช้เปล หรือไม้เท้าขณะเดิน
2. หากอาการไม่หนักมากให้ใช้น้ำแข็งหรือผ้าเย็นประคบบริเวณที่เกิดการพลิก โดยประคบครั้งละ 20-30 นาที เพื่อกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนช้าลง เพราะ ความเย็นจากน้ำแข็งและผ้าเย็นนั้นจะไปทำให้เลือดหดตัว และมีการไหลเวียนไม่สะดวก ช่วยลดอาการปวดบวมลงได้นั่นเอง
3. ห้ามใช้ยาหม่อง ครีมนวด หรือน้ำมันมวยเป็นอันขาด เพราะตัวยาจะทำให้เกิดการกระตุ้นโลหิตให้ไหลเวียน และเป็นการเพิ่มอาการบวมให้มากขึ้น นอกจากนั้นตัวยายังมีฤทธิ์แสบร้อน ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บบริเวณที่พลิกมากขึ้นด้วย
4. อีกวิธีหนึ่งที่แนะนำสำหรับการลดการบวมคือ ใช้ผ้าพันบริเวณที่พลิก แต่ผ้าที่พันควรเป็นผ้ายืดและไม่พันแน่นจนเกินไป เพราะจะทำให้เลือดไปคั่งอยู่บริเวณปลายเท้า และบวมหนักขึ้นกว่าเดิม
5. ยกเท้าให้สูงเข้าไว้ หรือหาเก้าอี้มาหนุนขาให้สูงขึ้น เพื่อลดอัตราการหล่อเลี้ยงของเลือดไม่ให้เข้าไปยังบริเวณที่บวมได้สะดวก ขณะที่ผู้ป่วยนอนก็ควรหาหมอนหรือท่อนไม้มาหนุนขาข้างที่มีอาการให้สูงกว่าระดับหัวใจ
6. หากผู้ป่วยมีอาการปวดมาก สามารถให้รับประทานยาแก้ปวดได้ แต่ไม่ควรให้รับประทานมาก หรือติดต่อกัน
7. หากผู้ป่วยพ้นระยะ 48 ชั่วโมงไปแล้วให้ใช้วิธีใช้ถุงน้ำร้อนประคบ เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต หรืออาจใช้สลับกับการประคบเย็นด้วยก็ได้
8. หากมีอาการปวดหรือบวมมาก ให้รีบพาไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพราะอาจมีอาการของกระดูกแตกร่วมด้วย
โดยมากหากอาการที่เกิดขึ้นไม่ร้ายแรงหรือเจ็บปวดนัก จะหายไปได้เองในระยะเวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ แต่เพื่อความแน่ใจว่าไม่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก แนะนำว่าเมื่อเกิดอาการขึ้นควรรีบไปพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำและทำการรักษาจะดีกว่า เพราะหากมารักษากันเองอย่างไม่ถูกวิธีแล้ว อาจจะส่งผลให้ข้อเท้าข้างนั้นหายช้า หรืออาจพิการไปเลยก็ได้ครับ
ที่มา                        www.เกร็ดความรู้.com

อัพเดทล่าสุด