แนะนำให้อ่าน นี่คือสุดยอดวิธีรักษาโรคกรดไหลย้อน ด้วยสมุนไพรในบ้าน


5,980 ผู้ชม

โรคกรดไหลย้อน หมายถึงภาวะที่กรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาในหลอดอาหาร ทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บแสบ แน่นหน้าอก รู้สึกมีก้อนอยู่ในคอ กลืนลำบาก หรือกลืนแล้วเจ็บ เจ็บคอหรือแสบลิ้นเรื้อรัง หากใครที่เป็นอยู่หรืเคยเป็นต้องรู้เลยว่ามันทรมาณขนาดไหน วันนี้เรามีเคล็ดลับดีๆ มาให้อ่าน เพื่อจะได้ป้องกันและบรรเทาอาการให้หายได้ ลองอ่านดูเลยค่ะ


โรคกรดไหลย้อน หมายถึงภาวะที่กรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาในหลอดอาหาร ทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บแสบ แน่นหน้าอก รู้สึกมีก้อนอยู่ในคอ กลืนลำบาก หรือกลืนแล้วเจ็บ เจ็บคอหรือแสบลิ้นเรื้อรัง หากใครที่เป็นอยู่หรืเคยเป็นต้องรู้เลยว่ามันทรมาณขนาดไหน วันนี้เรามีเคล็ดลับดีๆ มาให้อ่าน เพื่อจะได้ป้องกันและบรรเทาอาการให้หายได้ ลองอ่านดูเลยค่ะ 

การป้องกันโรคกรดไหลย้อน 
โดยการรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อน 
– งดการสูบบุหรี่
– หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม ชา กาแฟ
– ลดอาหารมัน ของทอด ของหวาน
– รับประทานอาหารให้เป็นเวลา
– หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารก่อนนอนอย่างน้อย 3-4 ชั่วโมง
– ลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอดี
– ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
– หลับพักผ่อนให้เพียงพอ เข้านอนก่อน 22.00 น.และ นอนให้ได้ 6-8 ชม
วิธีการรักษา
1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วย
– ปฏิบัติเช่นเดียวกับการป้องกันตนจากโรคกรดไหลย้อน
– การรักษาโรคกรดไหลย้อนโดยการปรับเปลี่ยนนิสัยและการดำเนินชีวิตประจำวันมีความสำคัญมาก จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการน้อยลง ป้องกันไม่ให้เกิดอาการอีก
– การรักษาด้วยวิธีนี้ควรทำอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต แม้จะมีอาการดีขึ้นหรือหายดีแล้ว โดยไม่ต้องรับประทานยาแล้วก็ตาม
2. การรักษาโดยใช้ยา
– ปัจจุบันยาลดกรดกลุ่ม proton pump inhibitor เป็นยาที่สามารถยับยั้งการหลั่งกรดได้ดี สามารถเห็นผลการรักษาเร็ว
– การรักษาด้วยยา ควรควบคู่ไปกับการปฏิบัติตัวให้ไม่เกิดอาการกรดไหลย้อนนั้น
– ควรรับประทานยาสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง และควรมาพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
– เมื่ออาการต่างๆ ดีขึ้น แพทย์จะปรับลดขนาดยาลงเรื่อยๆ ทีละน้อย
– ที่สำคัญไม่ควรซื้อยารับประทานเองเวลาป่วย เนื่องจากยาบางชนิดจะทำให้กระเพาะอาหารมีการหลั่งกรดเพิ่มขึ้น หรือกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่างคลายตัวมากขึ้น

3. การผ่าตัด
การผ่าตัดนี้จะทำในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง
– กรณีที่เข้ารับการรักษาโดยการใช้ยาอย่างเต็มที่แล้วไม่ดีขึ้น หรือไม่สามารถรับประทานยาที่ใช้ในการรักษาโรคนี้ได้ หรือผู้ป่วยที่ดีขึ้นหลังจากการใช้ยา แต่ไม่ต้องการที่จะกินยาต่อ
– มีรายงานว่าผู้ป่วยที่ต้องทำการผ่าตัดมีเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น
– โดยแพทย์จะพิจารณาทำการรักษาด้วยการผ่าตัด ผูกหูรูดกระเพาะอาหาร
การรักษาด้วยน้ำกะเพรา 
วิธีทำน้ำกะเพรา
1. นำกะเพรา 1 กำ (ทั้งลำต้นและใบ) ประมาณ 1 ขีด มาล้างให้สะอาดด้วยน้ำจุลินทรีย์ EM (แช่ 1 ช.ม.)หรือน้ำยาล้างผักเพื่อล้างยาฆ่าแมลงออก (ปัจจุบันนี้ พ.ศ. 2553 ผมปลูกต้นกะเพราขาวและต้นกะเพราแดงไว้ที่หน้าบ้านด้วยครับ)
2. ใส่น้ำ 2 – 3 ลิตรลงในหม้อ นำกะเพราใส่ลงไปทั้งหมด ทั้งลำต้นและใบ
3. ปิดฝาหม้อ ใช้ไฟปานกลางค่อนข้างอ่อน ต้มประมาณ 15 – 20 นาที พอน้ำเดือดปุ๊บให้ปิดแก๊สทันที หากใช้ไฟอ่อนเกินไป ฤทธิ์ยาในกะเพราจะไม่ออกมา ควรกะปริมาณไฟที่ต้ม ให้น้ำเดือดภายใน 15 – 20 นาที
4. ดื่มหลังอาหาร 1 แก้ว 250 ml
5. ถ้าน้ำกะเพราเย็นลง หรือ ดื่มไม่หมด ไม่ต้องอุ่นหรือต้มซ้ำ ให้แช่เย็นไว้ดื่ม เพื่อไว้ดื่มได้หลายๆวัน สำหรับคนธาตุเย็น แนะนำไม่ให้ ดื่มน้ำกะเพราเย็น แต่ควรตั้งน้ำกะเพราทิ้งไว้ให้เย็นก่อน แล้วค่อยดื่ม เพราะหลังรับประทานอาหาร ถ้าดื่มน้ำเย็นหรือทานของเย็นๆ จะท้องอืดอาหารไม่ย่อย 
เคล็ดลับดีๆในการดูแลตนเองสำหรับผู้ที่มีอาการกรดไหลย้อน (ข้อมูลนี้ได้มาจากประสบการณ์ของผู้ป่วย)
1. รับประทานแต่อาหารที่มีประโยชน์ ไม่ทานลูกอมรสต่างๆ เช่น รสเปรี้ยว ที่ผสมสารสังเคราะห์
2. ไม่รับประทานอาหารที่มีรสเผ็ดและเปรี้ยว แม้เพียงเล็กน้อย (ข้อนี้สำคัญ)
3. ไม่รับประทานอาหารมัน เช่น กล้วยแขก มันทอด ปอเปี๊ยะทอด และของหมักดอง เช่น ผลไม้ดองต่างๆ(ข้อนี้สำคัญ)
4. ไม่ควรรับประทานอาหารรสหวาน ที่มีน้ำตาลปริมาณมาก เช่น ขนมหวาน, น้ำหวาน, น้ำอัดลม (ข้อนี้สำคัญ)
5. งดดื่มเหล้า และสูบบุหรี่ ชาและกาแฟก็ควรงด (ข้อนี้สำคัญ)
6. ไม่รับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์เป็นจำนวนมาก ควรทานเนื้อปลา หรือถั่ว (ข้อนี้สำคัญ)
7. ควรรับประทานผัก เน้นเป็นผักต้ม (ผักสดควรรับประทานแต่น้อย) เพื่อให้มีการขับถ่าย ไล่ลมออกจุลินทรีย์ได้ทำงาน (ข้อนี้สำคัญ)
8. ไม่ควรรับประทานผลไม้ประเภทย่อยยาก เช่น ฝรั่ง, มะม่วง
9. ควรทานผลไม้ประเภทย่อยง่าย และมีกากใยสูง และไม่มีน้ำตาล ผลไม้ที่แนะนำ เช่น ส้ม ชมพู่ แตงไทย แคนตาลูป และห้ามทานฝรั่ง แตงโม แก้วมังกร มะเขือเทศโดยเด็ดขาด 10. เคี้ยวอาหารให้ละเอียด ประมาณ 100-200 ครั้งต่อ 1 คำ หรือ 3 นาทีต่อ 1 คำ (ข้อนี้ช่วยได้มาก)
11. ไม่รับประทานอาหารจนเต็มกระเพาะอาหาร (ข้อนี้สำคัญเช่นกัน)
12. ใช้เวลารับประทานอาหารในแต่ละมื้อประมาณ ครึ่ง – หนึ่งชั่วโมง
13. หลังรับประทานอาหารเสร็จ ให้ดื่มน้ำเปล่าแต่น้อย หลังจากนั้นอีกประมาณ ครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงให้ดื่มน้ำกะเพรา เพราะน้ำกะเพราจะช่วยขับลม และช่วยเร่งการย่อยอาหาร (ข้อนี้สำคัญ)
14. แกว่งแขนหลังรับประทานอาหารเสร็จในแต่ละมื้อ ช่วยให้กระเพาะอาหารและลำไส้มีการเคลื่อนไหว(ข้อนี้สำคัญมากๆเช่นกัน)
15. ตอนเย็นให้รับประทานอาหารย่อยง่ายๆเท่านั้น เช่น โจ๊ก, ข้าวต้ม (ข้อนี้สำคัญมากๆเช่นกัน)
16. ทานอาหารเสริมประเภทเพิ่มจุลินทรีย์ในลำไส้ ไม่ควรทานนมเปรี้ยวหรือโยเกริต์ เนื่องจากนมทำให้บางท่านท้องอืดได้
17. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น วิ่งทุกเช้า หรือวิ่งในช่วงเย็น อย่างน้อย 2.0 – 3.0 กิโลเมตร หรือเดินในช่วงเย็น เพื่อให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหว (ข้อนี้สำคัญ)
18. อดทนในเรื่องไม่ทานอาหารจุกจิก ไม่เป็นเวลา ไม่เป็นมื้อ สหายธรรมของผมที่เป็นคนสูงอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ทุกคนรักษาโรคนี้ด้วยการทานอาหารเป็นมื้อทั้งหมดทุกคนครับ (ข้อนี้สำคัญเช่นกัน)
19. ท่องไว้ในใจเสมอว่า “การไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ” มีเงินทำไม ถ้าไม่ได้ใช้เงินให้เกิดประโยชน์ 

โรคกรดไหลย้อนนั้นอาจไม่สามารถรักษาให้หายสนิทได้ แต่เราสามารถควบคุมอาการให้ดีขึ้นได้ ด้วยการปรับพฤติกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดกรดเกินในกระเพาะอาหาร ด้วยวิธีการต่างๆเหล่านี้ เชื่อว่าคุณนั้นสามารถรับมือกับโรคกรดไหลย้อนได้สบายมาก 
ที่มา                   www.tookchai.com

อัพเดทล่าสุด