เช็คตัวเองด่วน! สังเกต “ขี้หู” บอกโรค “เปียก-แห้ง” แบบไหนกันแน่ที่เสี่ยงเป็นมะเร็ง อย่าชะล่าใจเด็ดขาด!


6,629 ผู้ชม

“มะเร็ง” เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับพันธุ์กรรม หากครอบครัวเรามีคนป่วยเป็นมะเร็ง เราก็อาจเสี่ยง!! ที่จะป่วยเป็นมะเร็งได้มากกว่าครอบครัวที่ไม่มีคนเป็น…โดยเฉพาะ  “ลักษณะขี้หูเปียก-แห้ง”  ก็เป็นเรื่องของพันธุกรรมเช่นกัน ฉะนั้นถ้าครอบครัวไหนพ่อแม่มีขี้หูเปียก ลูกก็ต้องมีขี้หูเปียกด้วย…แล้วที่มีการแชร์ว่า…คนมีขี้หูเปียกเสี่ยงเป็นมะเร็งมากกว่าคนขี้หูแห้งล่ะ คุณเสี่ยงเป็นด้วยหรือเปล่า??


สัปดาห์นี้จะพามาสังเกต “ขี้หู” กันว่าแบบเปียกหรือแห้งเสี่ยงเป็นมะเร็งมากกว่ากัน แล้วสัญญาณบอกโรคแบบไหนที่ควรไปพบแพทย์?
“มะเร็ง” เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับพันธุ์กรรม หากครอบครัวเรามีคนป่วยเป็นมะเร็ง เราก็อาจเสี่ยง!! ที่จะป่วยเป็นมะเร็งได้มากกว่าครอบครัวที่ไม่มีคนเป็น…โดยเฉพาะ  “ลักษณะขี้หูเปียก-แห้ง”  ก็เป็นเรื่องของพันธุกรรมเช่นกัน ฉะนั้นถ้าครอบครัวไหนพ่อแม่มีขี้หูเปียก ลูกก็ต้องมีขี้หูเปียกด้วย…แล้วที่มีการแชร์ว่า…คนมีขี้หูเปียกเสี่ยงเป็นมะเร็งมากกว่าคนขี้หูแห้งล่ะ คุณเสี่ยงเป็นด้วยหรือเปล่า??
อ.พญ.นวรัตน์ อภิรักษ์กิตติกุล ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล ไขสังสัยว่า ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ “ขี้หู” กันว่ามีไว้เพื่อหล่อลื่นและป้องกันการติดเชื้อในช่องหู เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ซึ่ง “ขี้หู” ประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ ไขมัน เซลล์เยื่อบุผิวหนังที่หลุดลอกในรูหู และสารคัดหลั่งที่ผลิตจากต่อมขี้หูที่อยู่บริเวณในรูหู
กรณีลักษณะของ “ขี้หู” ที่เปลี่ยนไปจากปกติ หรือมีน้ำจากหูผิดปกติ เช่น บางวันเปียกหรือไม่เปียกน่าจะเกิดจากน้ำเข้าหู เวลาอาบน้ำและน้ำเข้าหูก็อาจทำให้ขี้หูพอง หรือการออกกำลังกายเยอะๆ แล้วเหงื่อออก หรือเกิดการอักเสบของหูชั้นนอกทำให้มีหนอง ลักษณะเปียกๆ มากขึ้น
เบื้องต้นลักษณะ “ขี้หู” ที่เปียกหรือไม่เปียกขึ้นอยู่กับพันธุกรรมมากกว่า หรือส่วนหนึ่งเวลาเหงื่อออกอาจจะเป็นเหงื่อมาผสมกับขี้หู ทำให้เรารู้สึกแฉะมากขึ้น ส่วนข้อสงสัยที่บอกว่า…
“ลักษณะขี้หูเปียกอาจเสี่ยงเป็นมะเร็งมากกว่าขี้หูแห้งนั้น จริงๆ แล้วอาการที่บ่งบอกว่าเป็นมะเร็งในช่องหู คืออาจจะไม่ใช่ขี้หูเปียก แต่เป็นน้ำที่ผลิตออกมาจากตัวก้อนมะเร็ง และมักจะมีเลือดปน หรือมีน้ำออกจากหูเป็นๆ หายๆ หรือไม่หายสนิท”
ลักษณะของ “ขี้หู” อาจมีลักษณะและสีที่แตกต่างออกไปตามพันธุกรรม ถ้าเป็นชาวเอเชีย เช่น จีน เกาหลี มักเป็นแบบชนิดแห้งและสีอ่อน ถ้าเป็นชาวแอฟริกา มักเป็นสีเข้มและแบบเปียก สำหรับในเด็กมักมีลักษณะที่นิ่ม สีอ่อนและปริมาณมากกว่าผู้ใหญ่

ปกติแล้ว “ขี้หู” มักถูกขับออกมาเองได้โดยเฉพาะเวลาเคี้ยวอาหารขี้หูจะสามารถค่อยๆ เลื่อนหลุดออกมาเองได้ตามธรรมชาติ ถ้าไม่ได้มีภาวะผิดปกติอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น ภาวะติดเชื้อ หรือรูหูแคบ
มาถึงข้อสงสัยที่แชร์กันอยู่ในขณะนี้ว่า…
“ลักษณะของขี้หูบอกโรคได้?” ซึ่งจริงๆ แล้วลักษณะของ “ขี้หู” ที่เปลี่ยนไปอาจเป็นสัญญานบอกโรคบางอย่างได้ แต่การวินิจฉัยโรคต้องอาศัยหลายอย่างร่วมกัน นอกจากประวัติลักษณะขี้หูแล้ว ยังมีการตรวจร่างกายในอวัยวะที่เกี่ยวข้อง หรือการส่งตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม ขึ้นอยู่กับลักษณะของโรคด้วย
กรณีลักษณะของ “ขี้หู” ที่เปลี่ยนไปจากปกติ หรือมีน้ำจากหูผิดปกติ เช่น บางวันเปียกหรือไม่เปียกน่าจะเกิดจากน้ำเข้าหู เวลาอาบน้ำและน้ำเข้าหูก็อาจทำให้ขี้หูพอง หรือการออกกำลังกายเยอะๆ แล้วเหงื่อออก หรือเกิดการอักเสบของหูชั้นนอกทำให้มีหนอง ลักษณะเปียกๆ มากขึ้น
เบื้องต้นลักษณะ “ขี้หู” ที่เปียกหรือไม่เปียกขึ้นอยู่กับพันธุกรรมมากกว่า หรือส่วนหนึ่งเวลาเหงื่อออกอาจจะเป็นเหงื่อมาผสมกับขี้หู ทำให้เรารู้สึกแฉะมากขึ้น ส่วนข้อสงสัยที่บอกว่า
“ลักษณะขี้หูเปียกอาจเสี่ยงเป็นมะเร็งมากกว่าขี้หูแห้งนั้น จริงๆ แล้วอาการที่บ่งบอกว่าเป็นมะเร็งในช่องหู คืออาจจะไม่ใช่ขี้หูเปียก แต่เป็นน้ำที่ผลิตออกมาจากตัวก้อนมะเร็ง และมักจะมีเลือดปน หรือมีน้ำออกจากหูเป็นๆ หายๆ หรือไม่หายสนิท”
ฉะนั้นใครที่รู้สึกว่าขี้หูผิดปกติ เช่น มีกลิ่นเหม็น มีหนอง มีเลือดออกมาร่วมด้วย มีอาการคันหู การได้ยินลดลง หน้าเบี้ยว หรือมีปวด บวม แดง ร้อน มีไข้ ควรรีบพบแพทย์ เพราะอาจไม่ใช่แค่ภาวะขี้หูเปียกปกติ อาจเป็นได้หลายโรค เช่น ภาวะขี้หูอุดตัน หูชั้นนอกอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ และมะเร็ง ทั้งนี้ต้องอาศัยทั้งประวัติ ปัจจัยเสี่ยง การตรวจร่างกาย และยังอาจต้องส่งตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมในบางกรณี

แต่ถ้าวินิจฉัยแล้วพบว่าเป็น
“มะเร็งในช่องหู” หลักการรักษามี 3 ส่วนใหญ่ๆ คือผ่าตัด ฉายรังสี และให้เคมีบำบัด ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ขนาดของก้อนเนื้อร้ายว่าระยะไหน ประวัติของคนไข้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วถ้าเป็นระยะแรกๆ จะรักษาด้วยการผ่าตัด แต่ถ้าเป็นระยะหลังๆ แล้วอาจใช้ร่วมกันทั้งผ่าตัด ฉายรังสี และเคมีบำบัดเพราะการรักษาแต่ละอย่างจะมีภาวะแทรกซ้อนทั้งหมด จึงต้องเลือกที่เหมาะสมกับคนไข้
สุดท้ายหากมีอาการคันหูอย่าแคะเอง หรือใช้คอตตอนบัดปั่นหูเอง เพราะนอกจากอาจจะไม่หายแล้ว ยังอาจทำให้เกิด “ภาวะขี้หูอุดตัน” จากการที่ปั่นแล้วขี้หูถูกอัดติดเข้าไปลึกมากขึ้น และถ้าไปโดนแก้วหูยังทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดด้วย และถ้าขี้หูตันยังทำให้เกิดการได้ยินลดลง และการแคะปั่นยังอาจเกิดอันตรายต่อเยื่อบุผิวผนังช่องหูถลอกเป็นแผล และถ้าเป็นแผลอักเสบเรื้อรังอาจไปกระตุ้นให้เกิด “มะเร็งในช่องหู” ได้!!
ฉะนั้นวิธีดูแลหูที่ถูกต้องทั่วไป ในรูหูไม่ต้องแคะ ไม่ต้องปั่น แค่เช็ดปกติ เพราะ “ขี้หู” หลุดลอกออกมาเองได้ โดยเฉพาะเวลาที่เราขยับปากหรือเคี้ยวอาหาร แต่ถ้าบังเอิญอาบน้ำและน้ำเข้าหูอาจะใช้ผ้าสะอาดปิดตรงปลายรูหูและเอียงให้น้ำออกไม่ต้องใช้ไม้ปั่นเข้าไปข้างใน ในส่วนของใบหูใช้ผ้าสะอาดเช็ด หรือใช้สบู่อ่อนๆ แค่นี้ก็เพียงพอแล้ว.
ที่มา                 siam.thaidooonline.com 

อัพเดทล่าสุด