เฉาก๊วย แก้ร้อนใน ขับเสมหะ ช่วยลดความดัน สรรพคุณดีดีนอกเหนือจากความเหนียวหนุบหนับ


1,987 ผู้ชม

เมื่อพูดถึงเฉาก๊วย ก็เป็นอีกหนึ่งเมนูที่หลายๆคนชื่นชอบกันนะคะ เนื่องจากหาทานง่าย และราคาถูก แต่รู้ไหมว่านอกจากความอร่อยที่ได้จากเฉาก๊วยแล้ว เฉาก๊วยยังมีประโยชน์และสรรพคุณอีกมากมายที่หลายคนยังไม่รู้ วันนี้จะพาไปรู้จักกับเฉาก๊วยให้มากขึ้นค่ะ ไปกันเลยค่ะ


เมื่อพูดถึงเฉาก๊วย ก็เป็นอีกหนึ่งเมนูที่หลายๆคนชื่นชอบกันนะคะ เนื่องจากหาทานง่าย และราคาถูก แต่รู้ไหมว่านอกจากความอร่อยที่ได้จากเฉาก๊วยแล้ว เฉาก๊วยยังมีประโยชน์และสรรพคุณอีกมากมายที่หลายคนยังไม่รู้ วันนี้จะพาไปรู้จักกับเฉาก๊วยให้มากขึ้นค่ะ ไปกันเลยค่ะ
• วงศ์ : Labiatae วงศ์เดียวกับสะระแหน่/โหระพา/แมงลัก
• วิทยาศาสตร์ :– Mesona chinensis Bentham– Mesona elegans Hayata– Mesona procumbens Hemsley
•ชื่อท้องถิ่นไทย : เฉาก๊วย
• ชื่อท้องถิ่นจีน: เหรียนฝ่นฉ่าว, เซียนฉ่าว, เซียนหยั้นตุ้ง
• ถิ่นกำเนิด : ประเทศจีนตอนใต้ แถบมณฑลกวางตุ้ง กวางสี และยูนาน ในธรรมชาติชอบขึ้นแซมกับกอหญ้าบริเวณที่ชื้นตามเชิงเขาหรือลำห้วยลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น
เฉาก๊วย เป็นไม้ล้มลุก มีลำต้นหรือเถาเป็นแบบกึ่งเลื้อย ลำต้นมีขนาดเล็ก เป็นเหลี่ยม คล้ายต้นสะระแหน่ ลำต้นเปราะหักง่าย ต้นอ่อนมีสีเขียว ต้นแก่มีสีน้ำตาล กิ่งแตกแขนงออกตามข้อของลำต้น ช่วงห่างระหว่างข้อ 3-5 เซนติเมตร ลำต้น และกิ่งทอดยาวคลุมตามดินได้ 50 – 120 เซนติเมตร
ใบ
ใบเฉาก๊วยแทงออกเป็นใบเดี่ยว แตกออกเป็นคู่ๆตรงกันข้ามบนกิ่ง คือ มี 2 ใบ /ข้อ มีก้านใบมีสีขาว ยาวประมาณ 1 – 1.5 เซนติเมตร ใบรูปใบหอก คล้ายใบสะระแหน่ ปลายใบแหลมโคนใบสอบ ขอบใบหยักเป็นฟันเลื้อย แผ่นใบเป็นร่องตามเส้นใบ ขนาดใบยาว 2-5 เซนติเมตร กว้าง 0.8-3 เซนติเมตร ใบมีสีเขียวสดถึงเขียวเข้ม และมีขนขนาดเล็กปกคลุม เมื่อจับแผ่นใบจะรู้สึกสากมือ และหากขยี้ใบจะมีลักษณะเป็นเมือกลื่น
ดอก
 ดอกเฉาก๊วยแทงออกเป็นช่อ คล้ายกับดอกแมงลักหรือโหระพา มีช่อดอกยาว 5-10 เซนติเมตร แต่ละช่อมีดอกจำนวนมาก แต่ละดอกมีก้านดอกยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร กลีบดอกมีสีขาวอมม่วงอ่อน ยาวประมาณ 2.5 มิลลิเมตร ถัดมาด้านในเป็นเกสรตัวผู้ 1 อัน และเกสรตัวเมีย 1 อัน ส่วนเมล็ดมีขนาดเล็กสีดำอมน้ำตาล มีลักษณะรูปไข่
ผล
 และเมล็ดเมล็ดเฉาก๊วยมีขนาดเล็กสีดำอมน้ำตาล มีลักษณะรูปไข่
ขั้นตอนการทำเฉาก๊วย
 
– นำต้นเฉาก๊วยแห้งมาล้างทำความสะอาด
– นำต้นเฉาก๊วยลงต้มในน้ำ อัตราส่วนเฉาก๊วยกับน้ำที่ 1:25-50
– ต้มเคี่ยวน้ำเฉาก๊วยนาน 3-5 ชั่วโมง จนน้ำเฉาก๊วยมีลักษณะข้นเป็นเมือก และมีสีดำใส
– ทำตักต้นเฉาก๊วยขึ้นมา แล้วใช้มือขยำหรือนวดต้นเฉาก๊วย เพื่อให้เมือกหลุดออกลงหม้อต้ม
– แยกกากต้นเฉาก๊วยออกจากน้ำต้ม และตั้งทิ้งไว้สักพักเพื่อให้ตะกอน และดินตกลงด้านล่างหม้อ
– ทำการกรองน้ำต้มเฉาก๊วยด้วยผ้าขาวบาง 1-2 ครั้ง โดยค่อยๆเทเบาๆ เพื่อไม่ให้ตะกอนด้านล่างฟุ้งขึ้นมา
– นำน้ำต้มเฉาก๊วยที่มีลักษณะเหนียวข้นตั้งทิ้งไว้ให้เย็นจนได้เฉาก๊วยที่มีลักษณะก้อนอ่อนนุ่ม
– หากต้องการความเหนียว และแข็งที่มากขึ้น ให้เติมโซเดียมไบคาร์บอเนตก่อนนำไปต้มอีกครั้งหรือใส่ในขณะที่น้ำเฉาก๊วยยังร้อน
– หากต้องการเพิ่มความแข็ง และเหนียวขึ้นมาอีกให้นำแป้งท้าวยายหม่อมหรือแป้งอ่อน เช่น แป้งมันสำปะหลังลงต้มผสม โดยนำน้ำต้มที่กรองเสร็จแล้วลงต้มผสมกับแป้งนาน 15 นาที พร้อมกับกวนอย่างต่อเนื่อง จนได้เมือกเหนียวดำ และเป็นมันเงา ก่อนเทใส่แม่พิมพ์หรือตั้งให้จับตัวเป็นก้อนในหม้อการทำน้ำเฉาก๊วย
 

การทำน้ำเฉาก๊วย
ใส่น้ำลงไปในหม้อต้มต้นเฉาก๊วยแห้งให้มากขึ้นกว่าเดิมประมาณ 1-2 เท่า และต้มแค่พอให้ได้น้ำเฉาก๊วยสีดำใส ๆ ไม่ต้องเคี่ยวจนน้ำต้มข้นเป็นเมือกเหมือนตอนทำเนื้อเฉาก๊วย เมื่อได้น้ำเฉาก๊วยแล้วก็กรอแยกกาก เอาแต่น้ำสีดำมาต้มกับน้ำตาลทรายตามระดับความหวานที่ต้องการ
สรรพคุณของเฉาก๊วย
– ลดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ
– ช่วยลดอาการเบาหวาน
– น้ำต้มเฉาก๊วย และเฉาก๊วยมีรสเย็น ช่วยทำให้ชุ่มคอ ลดอาการคอแห้ง
– แก้คลื่นไส้
– บรรเทาอาการเบื่ออาหาร
– ช่วยลดไข้
– ช่วยลดความดันเลือด ป้องกันโรคหลอดเลือดในสมองตีบหรือแตก
– แก้ร้อนใน
– ช่วยป้องกันโรคตับอักเสบ
– แก้ปวดท้อง มวนท้อง
– ช่วยขับเสมหะ
– ช่วยแก้อาการข้ออักเสบ

ประโยชน์
– ทำเป็นขนมหวานหรือน้ำสมุนไพรดื่มแก้กระหาย
– ใช้ปลูกเป็นพืชคลุมดิน ช่วยป้องกันการกัดเซาะหน้าดิน
คุณค่าทางโภชนาการใบเฉาก๊วย ( 100 กรัมแห้ง)
– ความชื้น 8.99%
– คาร์โบไฮเดรต 44.95%
– โปรตีน 8.33%
– ไขมัน 0.39%
– เถ้า 37.34%
– เส้นใย 24.06%

เฉาก๊วยที่เราทานกันบ่อยนั้น มีประโยชน์และสรรพคุณอย่างมาก แถมยังเป็นที่ถูกอกถูกใจหลายๆคน แต่ถ้าจะให้ดีเวลากินเฉาก๊วยก็อย่าเติมน้ำเชื่อมหรือน้ำตาลเยอะเกินไปนะคะ เดี่ยวน้ำหนักจะพุ่งเอา แล้วจะมาบ่นทีหลังไม่ได้นะคะ 

อัพเดทล่าสุด