อย่าชะล่าใจ!! โรคฉี่หนู อันตรายแค่ไหนมาดูกัน! เมื่อเป็นแล้วอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้!?


1,028 ผู้ชม

โรคฉี่หนู (Leptospirosis) โรคฉี่หนู  เป็นโรคที่พบว่าระบาดมากที่สุดในช่วงฤดูฝน น้ำฝนจะชะล้างเอาเชื้อโรคต่างๆ จากสภาพแวดล้อมไหลมารวมกันอยู่ในบริเวณที่น้ำท่วมขัง ซึ่งโรคฉี่หนูเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในปัสสาวะของสัตว์ที่เป็นพาหะ  เช่น หนู สุกร โค กระบือ สุนัข และแรคคูน  โดยสัตว์ที่เป็นพาหะอาจไม่แสดงอาการแต่มีการติดเชื้อที่ท่อไตทำให้มีการปล่อยเชื้อออกมากับปัสสาวะ ซึ่งเชื้อจะแฝงอยู่ในจุดที่น้ำท่วมขังตามดิน โคลน แอ่งน้ำ ร่องน้ำ น้ำตก แม่น้ำ  ลำคลอง และสามารถมีชีวิตอยู่ได้นานเป็นเดือน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม


โรคฉี่หนู (Leptospirosis) โรคฉี่หนู  เป็นโรคที่พบว่าระบาดมากที่สุดในช่วงฤดูฝน น้ำฝนจะชะล้างเอาเชื้อโรคต่างๆ จากสภาพแวดล้อมไหลมารวมกันอยู่ในบริเวณที่น้ำท่วมขัง ซึ่งโรคฉี่หนูเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในปัสสาวะของสัตว์ที่เป็นพาหะ  เช่น หนู สุกร โค กระบือ สุนัข และแรคคูน  โดยสัตว์ที่เป็นพาหะอาจไม่แสดงอาการแต่มีการติดเชื้อที่ท่อไตทำให้มีการปล่อยเชื้อออกมากับปัสสาวะ ซึ่งเชื้อจะแฝงอยู่ในจุดที่น้ำท่วมขังตามดิน โคลน แอ่งน้ำ ร่องน้ำ น้ำตก แม่น้ำ  ลำคลอง และสามารถมีชีวิตอยู่ได้นานเป็นเดือน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม 
โรคฉี่หนู เป็นโรคติดต่อหรือไม่     
เชื้อโรคฉี่หนู สามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านทางผิวหนังที่มีแผล หรือรอยขีดข่วน หรือผิวหนังที่เปื่อย เนื่องจากแช่อยู่ในน้ำนานๆ และผ่านเข้าทางเยื่อบุที่อ่อนนุ่ม เช่น ตา จมูก ปาก มักจะพบเชื้อในน้ำ ซึ่งอาจติดโรคขณะว่ายน้ำ หรือขณะประกอบอาชีพ เช่น สัมผัสน้ำที่ปนเปื้อนปัสสาวะ เลือดของสัตว์ที่มีเชื้อโดยตรง โดยสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่มีการปนเปื้อนของเชื้อ แต่ไม่พบการติดต่อจากคนถึงคนโดยตรง ซึ่งเชื้อเลปโตสไปร่า (Leptospira) อาจถูกขับออกมาในปัสสาวะผู้ป่วยต่อเนื่องยาวนานถึง 1 เดือน โดยระยะฟักตัวของโรคจะใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ แต่อาจนานได้ถึง 3 สัปดาห์

     ใครมีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อโรคฉี่หนูบ้าง
- ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ประสบอุทกภัย ที่มีน้ำท่วมขัง
- ผู้ที่ต้องทำงานในภาคเกษตร (ชาวนา ชาวไร่ เลี้ยงสัตว์ เช่น คนงานบ่อปลา ฯลฯ)
- คนงานขุดลอกท่อระบายน้ำ
- คนงานเหมืองแร่ โรงฆ่าสัตว์ รวมถึงผู้ที่ชอบเดินป่า ท่องเที่ยวตามแม่น้ำ ทะเลสาบ น้ำตก

อาการแสดงภายหลังการติดเชื้อ
     ผู้ที่ได้รับเชื้อนี้จำนวนหนึ่งอาจไม่มีอาการ ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการ อาจแบ่งเป็น 2 ระยะดังนี้
- ระยะแรก (Leptospiremic phase) 4 - 7 วันแรกของการดำเนินโรค จะมีอาการไข้สูงแบบทันทีทันใด ปวดศีรษะ สับสน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมาก โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหลัง น่อง และ ต้นคอ  คลื่นไส้อาเจียน  มีอาการตาแดง มักพบใน 3 วันแรกของโรค และเป็นอยู่ได้นานถึง 1 สัปดาห์, ตาเหลือง ตัวเหลือง, มีอาการคอแข็ง ความดันโลหิตต่ำ ได้ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง, ผื่นแดง ต่อมน้ำเหลืองโต ตับ ม้ามโต (อาจพบได้แต่ไม่บ่อย)
- ระยะที่สอง (Immune phase) ผู้ป่วยจะเริ่มสร้างโปรตีนที่เฉพาะต่อเชื้อโรคฉี่หนู โดยพบหลังจากเริ่มมีอาการไข้ประมาณ 1 สัปดาห์ โดยจะมีช่วงที่ไข้ลงประมาณ 1 - 2 วันแล้วกลับมีไข้ขึ้นอีก ในระยะนี้ผู้ป่วยมักมีอาการ ปวดศีรษะ ไข้ต่ำ ๆ คลื่นไส้อาเจียน (อาการมักรุนแรงน้อยกว่าอาการในช่วงแรก) อาจพบอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ม่านตาอักเสบ,หน้าที่ของตับและไตผิดปกติ ระยะนี้อาจกินเวลาได้นาน ถึง 30 วัน แต่อาการนี้ไม่ได้เกิดในผู้ป่วยทุกราย ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่มีตาเหลือง และกลุ่มที่ไม่มีตาเหลือง

      การป้องกันการติดเชื้อ
     ป้องกันการเกิดโรคด้วยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำ หรือสิ่งแวดล้อมที่อาจปนเปื้อนปัสสาวะสัตว์ที่อาจมีเชื้อโรคฉี่หนู เช่น การเดินลุยน้ำ ย่ำโคลน หรือการแช่น้ำนาน ๆ ถ้ามีบาดแผลตามร่างกาย หรือแค่รอยถลอก รอยขีดข่วน ควรงดลงน้ำ หากจำเป็นต้องเดินลุยน้ำ ควรให้สวมรองเท้าบู๊ตเพื่อป้องกันน้ำไม่ให้น้ำถูกแผล และระวังอย่าให้มีน้ำขังในรองเท้าบู๊ตที่ใส่  กำจัดขยะไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของหนู กำจัดหนูตามแหล่งที่อยู่อาศัย หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำ ในแหล่งน้ำที่อาจมีเชื้อโรคฉี่หนูปนเปื้อนอยู่ ผู้ที่ทำงานเสี่ยงต่อโรค ควรใช้ถุงมือยาง รองเท้าบู๊ต หลีกเลี่ยงการทำงานในน้ำ หรือต้องลุยน้ำเป็นเวลานาน หากจำเป็นต้องทำงานในสภาวะดังกล่าวควรสวมใส่เครื่องป้องกัน รีบอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายโดยเร็วหากไปแช่ หรือย่ำน้ำ ที่อาจมีเชื้อโรคฉี่หนูปนเปื้อนอยู่ เช็ดตัวให้แห้ง

***ในบางพื้นที่มีน้ำท่วมขัง ท่านใดที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการลุยน้ำได้ เมื่อผ่านการลุยน้ำมาควรรีบอาบน้ำ ล้างขาและเท้าให้สะอาด น้ำควรผสมน้ำยาฆ่าเชื้อโรคด้วย ส่วนท่านใดที่ต้องตากฝน หรือโดนฝน เมื่อกลับถึงบ้านก็ควรรีบอาบน้ำสระผม เช่นกัน  เมื่อใครมีอาการเป็นไข้เป็นหวัด ปวดเนื้อตัวควรรีบไปหาหมอทันที
ที่มา            www.tnews.co.th 

อัพเดทล่าสุด