อันตรายจาก 12 สารเคมีใกล้ตัว ที่เราควรหลีกเลี่ยง


959 ผู้ชม

ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เราใช้อยู่ในครัวเรือนนั้น มีส่วนผสมของสารเคมี ซึ่งก่อให้เกิดผลร้ายต่อสุขภาพ ขัดขวางการทำงานของต่อมไร้ท่อ และฮอร์โมนในร่างกาย องค์การอนามัยโลกบอกว่า สารเคมีเหล่านี้ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้คน ส่งผลต่อการเจริญพันธุ์ และยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคเรื้อรังต่าง ๆ ที่เกิดกับคนในโลก


ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เราใช้อยู่ในครัวเรือนนั้น มีส่วนผสมของสารเคมี ซึ่งก่อให้เกิดผลร้ายต่อสุขภาพ ขัดขวางการทำงานของต่อมไร้ท่อ และฮอร์โมนในร่างกาย องค์การอนามัยโลกบอกว่า สารเคมีเหล่านี้ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้คน ส่งผลต่อการเจริญพันธุ์ และยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคเรื้อรังต่าง ๆ ที่เกิดกับคนในโลก
Thomas Zoeller ผู้เชี่ยวชาญด้านชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยแห่งแมซซาชูเสท บอกว่า แม้เราจะยังไม่สามารถพิสูจน์ได้อย่างชัดเจนว่า สารเคมีต่าง ๆ ที่เราใช้ในชีวิตประจำวันไปขัดขวางการทำงานของต่อมไร้ท่อ แต่เราก็ไม่สามารถปฏิเสธว่าสารเคมีส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกาย
มีรายงานด้วยว่า ทุกวันนี้มีสารเคมีราว ๆ 80,000 ชนิด ที่ถูกนำมาใช้กับผลิตภัณฑ์ที่เราใช้กับอยู่ในชีวิตประจำวัน และสารเคมีประมาณ 1,300 ชนิด ก็ถูกพิจารณาว่าขัดขวางการทำงานของต่อมไร้ท่อ และสารเคมี 12 ชนิดต่อไปนี้ นับว่าเลวร้ายมากที่สุด ซึ่งเราควรจะต้องหลีกเลี่ยง
1.Bisphenol A หรือ BPAเป็นสารที่พบในบรรจุภัณฑ์พลาสติก ในปี 1930 มีการใช้เพื่อสังเคราะห์เอสโตรเจนให้กับผู้หญิง ดังนั้นแน่นอนว่า สารเคมีดังกล่าวมีผลต่อฮอร์โมน มีการศึกษาพบว่า มันทำหน้าที่เหมือนเอสโตรเจน ทำให้การผลิตเสปิร์มของผู้ชายลดลง ทำให้เด็กหญิงแตกวัยสาวเร็วกว่ากำหนด และยังส่งผลกระทบต่อภาวะการเจริญภัณฑ์ของทั้งชายและหญิง ในสัตว์ก็มีการศึกษาพบว่า สารเคมีดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับการแท้งลูก นอกจากนั้น สาร BPA นี้ ยังรบกวนระบบการเผาผลาญอาหารและมีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ โรคอ้วน และโรคเบาหวาน เราพบสาร BPA ในอาหารกระป๋อง ผลิตภัณฑ์พลาสติก สารเคลือบใบเสร็จ ซึ่งเราสามารถหลีกเลี่ยงได้ด้วยการลดการรับประทานอาหารกระป๋อง เลือกหาอาหารสดมาทำรับประทานเอง หลีกเลี่ยงการใช้ขวดหรือภาชนะพลาสติก และหากไม่จำเป็นก็ไม่ต้องรับใบเสร็จ เมื่อเวลาช้อปปิ้ง
2.Dioxins หรือไดอ๊อกซิน เป็นสารประกอบทางเคมีที่เป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง และยังเป็นสารเคมี ที่มีผลกระทบต่อฮอร์โมน ลดภาวะการเจริญพันธุ์ ทำให้เกิดโรคเบาหวาน โรคเยื่อบุโพรงมดลูก มีปัญหาระบบภูมิคุ้มกัน ลดระดับฮอร์โมนเทสทอสเทอร์โรน ก่อให้เกิดการแท้ง ลดปริมาณและคุณภาพของฮอร์โมน สารเคมีนี้เกิดจากการเผาขยะในปริมาณมาก และปนเข้าไปอยู่ในกระดาษ เยื่อไม้ อากาศ และน้ำ จากนั้นก็ไปก่อตัวอยู่นำไขมันของสัตว์ ซึ่งเป็นอาหารของเรา การที่จะลดปริมาณการรับสารพิษนี้ก็คือ การเลือกรับประทานอาหารที่มีไขมัน และนมเนยให้น้อยลง

3.Atrazine หรืออาทราซิน สารชนิดนี้ เคยมีการวิจัยพบว่ามีผลกระทบต่อฮอร์โมนของปลาและกบ โดยทำให้ปลา และกบเพศผู้ มีความเป็นเพศเมีย ส่วนการวิจัยในมนุษย์พบว่าสารดังกล่าว ไปเพิ่มการทำงานของยีนที่เกี่ยวกับการเจริญพันธุ์ สารชนิดนี้นำมาใช้กันมากในการกำจัดศัตรูพืช โดยมากจะนำมาใช้กับข้าวโพด วิธีการหลีกเลี่ยงสารพวกนี้ก็คือ การเลือกบริโภคผัก ผลไม้ จากฟาร์มออร์แกนิค และลดปริมาณการรับประทานเนื้อ เพราะสารดังกล่าวปนเปื้อนอยู่ในข้าวโพด และข้าวโพดก็เป็นอาหารหลัก ๆ ที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์
4.Phthalates หรือพาทาเล็ท สารนี้เคยมีการนำมาศึกษา และพบว่า เด็กชายที่เกิดจากมารดาที่มีระดับสารพาทาเล็ทมาก มีความผิดปกติที่อวัยวะเพศ สารเคมีดังกล่าวไปรบกวนฮอร์โมนเทสทอสเทอโรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้มีการพัฒนาของหน้าอก นอกจากนี้ ยังพบอีกว่าผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านม ก็มีระดับสารชนิดนี้สูงกว่าหญิงที่ไม่เป็นมะเร็ง สารพาทาเล็ท เป็นสารที่เราพบได้มากมายในผลิตภัณฑ์ที่เราใช้ ทั้งพื้นบ้าน ม่านห้องน้ำ หนังสังเคราะห์ และผลิตภัณฑ์พวก PVC ไวนิล สารพาทาเล็ท ทำให้พลาสติกมีความยืดหยุ่น นอกจากนั้น ยังเป็นสารที่นำไปใช้ในผลิตภัณฑ์จำพวกสี เช่น ยาทาเล็บ สี น้ำยาเคลือบเฟอร์นิเจอร์ รวมทั้งยังพบสารพวกนี้ ในบรรจุภัณฑ์อาหารเป็นจำนวนมากด้วย วิธีการหลีกเลี่ยงก็คือการไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ไวนิล และเก็บอาหารไว้ในภาชนะแก้ว หรือสแตนเลสสตีล
5.Perchlorate หรือพอร์เชอเรต เป็นสารที่รบกวนการทำงานของไทรอยด์ ส่งผลต่อฮอร์โมน และการเผาผลาญอาหารของร่างกาย สารเคมีชนิดนี้ เป็นส่วนประกอบของเชื้อเพลิงจรวด ขีปนาวุธ ดอกไม้ไฟ รวมทั้งแบตเตอรี่ สารชนิดนี้ จะปนเปื้อนอยู่ในดิน และน้ำใต้ดิน และไม่มีใครทราบว่า เมื่อไหร่ที่สารเคมีนี้จะสลายตัวไป สารนี้สามารถปนเปื้อนในอาหาร เช่นไข่ นมเนย ผลไม้ และผัก การหลีกเลี่ยงก็คือ การเลือกหาอาหารจากแหล่งที่ปลอดภัยมารับประทาน
6.Flame retardants หรือสารหน่วงการติดไฟ เป็นสารเคมีที่ส่งผลกระทบต่อไทรอยด์ และการเจริญพันธุ์ของเพศหญิง และเนื่องจากไทรอยด์นั้น มีผลต่อสมอง ดังนั้น สารชนิดนี้ จึงมีผลกระทบต่อระดับไอคิวของเด็กด้วย สารชนิดนี้ พบได้ในเฟอร์นิเจอร์ พรม รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่นำมาใช้กับเด็ก เช่นหมอนให้นม ดังนั้นอาจจะกล่าวได้ว่า ผลิตภัณฑ์หลาย ๆ อย่างในบ้าน ที่ทำงาน และในรถ มีสารชนิดนี้เป็นส่วนประกอบ อีกทั้งยังพบว่า สารดังกล่าวนี้มีอยู่ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ อย่างคอมพิวเตอร์ ทีวี โทรศัพท์มือถือ และเครื่องเล่นวีดีโอเกม วิธีการหลีกเลี่ยงก็คือ ดูดฝุ่น ทำความสะอาดบ่อย ๆ จริง ๆ แล้วเราแทบไม่สามารถหลีกเลี่ยงสารนี้ได้ จึงควรพยายามลดการแพร่กระจายของมัน เพราะสารนี้ จะออกมาจากฝุ่นในเฟอร์นิเจอร์ พรมปูพื้นรถ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีการชำรุด

7.Lead หรือสารตะกั่ว เป็นเวลานานแล้วที่สารตะกั่วนั้นส่งผลต่อสุขภาพของเรา และทุกวันนี้ ก็มีการวิจัยพบว่าอันตรายจากสารตะกั่วนั้นเพิ่มมากขึ้น และส่งผลกระทบต่อฮอร์โมน และความเครียดของคนเราด้วย สารตะกั่วนั้นเป็นโลหะพิษที่ปนเปื้อนอยู่ทั้งในน้ำดื่มที่ไหลผ่านท่อน้ำเก่า และน้ำในแทงก์น้ำ แม้จะผ่านการกรองแล้วก็ตาม การหลีกเลี่ยงนั้น ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าควรเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่า ซึ่งดูดซับสารตะกั่วไว้ในปริมาณน้อย และบ้านเรือนที่อยู่อาศัยนั้น หากเป็นบ้านเก่า ก็ควรได้รับการปรับปรุงอุปกรณ์เครื่องใช้ เพื่อการอุปโภคและบริโภค
8.Arsenic หรือสารหนู เป็นที่ทราบกันดีว่า เป็นสารก่อมะเร็ง ทำให้เป็นมะเร็งผิวหนัง มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งปอด และก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้อีกหลายอย่าง รวมทั้งทำให้เกิดปัญหากับต่อมไร้ท่อ รบกวนการทำงานของเอสโตรเจร โปรเจสเตอโรน รวมทั้งฮอร์โมนเกี่ยวกับระบบการเผาผลาญอาหาร และระบบภูมิคุ้มกันโรค สารหนูนี้ มีอยู่ทั้งในน้ำและอาหาร ทั้งเนื้อสัตว์ และผลไม้อย่างแอปเปิล และองุ่น ที่อยู่ในฟาร์มซึ่งไม่มีคุณภาพ ดังนั้น แนวทางในการหลีกเลี่ยงก็คือ กรองน้ำผ่านระบบการกรองที่ได้มาตราฐาน เลือกรับประทานอาหารจากแหล่งผลิตที่มีคุณภาพ หรืออาหารออแกนนิค
9.Mercury หรือสารปรอท เป็นสารพิษที่ส่งผลกระทบต่อไอคิวของเด็กเช่นกัน อีกทั้งยังส่งผลต่อฮอร์โมน และวงจรการมีประจำเดือนและการตกไข่ของผู้หญิง สารปรอทนี้ ยังทำลายเซลล์ที่ผลิตอินซูลิน ซึ่งมีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดด้วย สารปรอทนี้พบในอาหารทะเล เพราะสามารถปนเปื้อนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่อยู่ใกล้กับแหล่งอุตสาหกรรม โดยเฉพาะพวกโรงงานถ่านหิน เราสามารถหลีกเลี่ยงสารปรอทได้ด้วยการเลือกรับประทานอาหารทะเล ที่มีปริมาณสารปรอทต่ำเช่นปลาแซลมอนอลาสก้า ปลาเทราท์ ปลาซาดีน และแอนโชวี่ ซึ่งโดยทั่ว ๆ ไปแล้วปลาเล็ก ๆ จะมีการปนเปื้อนน้อย
10.Perfluorinated chemicals สารเปอร์ฟลูออโรเนท หรือ PFCs สารนี้มีการศึกษาพบว่ามีผลกระทบต่อการทำงานของไทรอยด์ และมีความเกี่ยวข้องกับการเป็นไฮเปอร์ไทรอยด์ อีกทั้งยังมีผลต่อภาวะการเจริญพันธุ์ของทั้งชายและหญิง รวมทั้งการผลิตไข่ของเพศหญิง เราพบสารชนิดนี้ในหม้อ กระทะ ที่มีการเคลือบสารกันการเกาะติด รวมทั้งยังมีอยู่ในเสื้อผ้าพวก ผ้าหุ้มเบาะ พรม กระเป๋าเป้ และพวกผลิตภัณฑ์ป้องกันน้ำ ป้องกันคราบสกปรกต่าง ๆ รวมทั้งยังพบในกล่องพิซซ่า ห่ออาหาร ถุงป๊อบคอร์นแบบไมโครเวฟ รวมทั้งถุงอาหารสัตว์ด้วย เราสามารถหลีกเลี่ยงสารดังกล่าวได้ด้วยการไม่ใช้ผลิตภัณฑ์พวก กอร์เท็ค ป้องกันคราบ และเทฟล่อน เพราะสิ่งเหล่านี้ มีการผสมสาร PFCs เข้าไปในการผลิต
11.Organophosphate pesticides หรือยากำจัดแมลงพวกฟอสเฟต สารพวกนี้ทำให้ระดับเทสทอสเทอโรน และฮอร์โมนเพศต่ำลง หากได้รับสารนี้ระหว่างการตั้งครรภ์ ก็มีความเสี่ยงต่อการแท้งลูก และมีผลต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ เราพบว่ามีสารพวกนี้ในยาฆ่าแมลง ดังนั้นการหลีกเลี่ยงก็คือ การเลือกอาหารจากฟาร์มออร์แกนิค
12.Glycol ethers หรือไกลคอล อีเทอร์ มีผลกระทบต่อฮอร์โมน ทำให้สเปิร์มของเพศชายด้อยคุณภาพ เคลื่อนตัวช้าสารพวกนี้ใช้กันมากมายในวงการอุตสาหกรรม รวมทั้งพวกบริการซักแห้ง และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด วิธีการหลีกเลี่ยงก็คือ ผ้าที่มีความบอบบาง ให้ซักด้วยมือแทนการซักแห้ง และทำผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่เป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อมใช้เองที่บ้าน
ที่มา          www.sanook.com 

อัพเดทล่าสุด