ไมโครเวฟ กับ เตาแก๊ส ... แบบไหนปลอดภัยกว่ากัน ?


2,397 ผู้ชม

อาหารไทยที่เรามักทานกันเป้นหมู่คณะ หุงข้าวไว้มากๆ ทำกับข้าวไว้เป็นหม้อๆ พอถึงเวลาทานอาจจะมีเหลือจนต้องเก็บเอาไว้ทานในวันอื่น ...


ไมโครเวฟ กับ เตาแก๊ส ... แบบไหนปลอดภัยกว่ากัน ?

อาหารไทยที่เรามักทานกันเป้นหมู่คณะ หุงข้าวไว้มากๆ ทำกับข้าวไว้เป็นหม้อๆ พอถึงเวลาทานอาจจะมีเหลือจนต้องเก็บเอาไว้ทานในวันอื่น วิธีเก็บที่สะดวก รวดเร็ว และได้ผลดี คือการแบ่งใส่ภาชนะ หรือแบ่งใส่ถุง แล้วนำเข้าตู้เย็น เมื่อไรที่เราจะทานจึงค่อยทำออกมาอุ่นให้ร้อน ซึ่งวิธีอุ่นก็มีอยู่ 2 แบบหลักๆ คือ อุ่นด้วยแก๊ส และอุ่นด้วยไมโครเวฟ

การอุ่นอาหาร ไม่เพียงแต่ทำให้รสชาติ เนื้อสัมผัสน่าทานเหมือนตอนปรุงใหม่ แต่ยังช่วยฆ่าเชื้อโรคบางชนิดที่อาจเริ่มก่อตัวขึ้นหลังจากอาหารถูกปรุงสำเร็จแล้ว จนมาถึงระยะเวลาหลังจากการจัดเก็บ ซึ่งหากจัดเก็บไว้ไม่ดีพอ หรือนานเกินไป การอุ่นอาหารที่ควรจะทำให้ปลอดภัยต่อร่างกายมากขึ้น ก็อาจจะไม่ช่วยอะไร

อุ่นอาหารด้วยไมโครเวฟ กับ เตาแก๊ส แบบไหนปลอดภัยกว่ากัน ?

คนเก่าคนแก่ที่ชอบวิธีแบบดั้งเดิม มักจะชอบอุ่นเตาแก๊ส โดยอ้างว่าร้อนเร็วกว่า ทั่วถึงกว่า หรือบางคนอาจจะเชื่อด้วยว่าปลอดภัยกว่า แต่จริงๆ แล้วการอุ่นอาหารด้วยเตาไมโครเวฟไม่ได้มีอันตรายมากหรือน้อยไปกว่าการอุ่นอาหารด้วยเตาแก๊สเลย จะบอกว่าใครชอบวิธีไหน สะดวกวิธีไหน ก็เลือกวิธีนั้นได้เลยค่ะ แต่วิธีการเก็บอาหารเข้าตู้เย็น และอุ่นอาหารจากทั้งเตาแก๊ส และเตาไมโครเวฟให้ปลอดภัยกับสุขภาพของเราเองนั้น มีเคล็ดลับอยู่เล็กน้อย

เก็บอาหารเข้าตู้เย็น

หลังจากทานอาหารเสร็จ ไม่ควรทิ้งอาหารที่ทานเหลือไว้ในอุณหภูมิห้องนานเกิน 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันไม่ให้มีเชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอมเข้าไปผสมปนเปในอาหารโดยที่เราอาจไม่ไดตั้งใจ จากนั้นก็นำใส่ภาชนะที่ปิดมิดชิด จะเป็นกล่องใส่อาหารที่มีฝาปิด หรือถุงกันร้อนมัดปากถุงให้แน่นก็ได้ (ควรจะเป็นถุงใหม่ที่ไม่ได้ผ่านการใช้งานมาก่อน)

แช่อาหารเอาไว้ในตู้เย็นที่อุณหภูมิต่ำกว่า 5 องศาเซลเซียส ไม่ควรเก็บเอาไว้นานเกิน 2-3 วัน (หากลืมประจำว่าเก็บเอาไว้นานเท่าไรแล้ว ให้เอาเทปกาวแปะไว้ที่ภาชนะ พร้อมเขียนระบุวันที่ที่เก็บเอาไว้ด้วย) ระหว่างนั้นสามารถตักแบ่งออกมาทานโดยอุ่นเฉพาะส่วนที่จะทาน ไม่ควรอุ่นซ้ำหลายๆ รอบ และระหว่างนั้นควรสังเกตสี เนื้อสัมผัส และรสชาติด้วยว่าเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่ หากไม่เหมือนเดิมควรหยุดทานทันที

อุ่นอาหารด้วยเตาแก๊ส/เตาไฟฟ้า

การอุ่นอาหารด้วยเตาแก๊สอาจจะยุ่งยากเล็กน้อยตรงที่ต้องเทใส่หม้อ หรือกระทะ ตั้งไฟ เทใส่ชามอีกครั้ง อาจไม่สะดวกสำหรับบางครอบครัว หรือบางบ้านที่ไม่มีครัว แต่สภาพอาหารที่ได้หลังจากการอุ่นหลายคนเห็นตรงกันว่าน่าทานกว่า

เมื่อเทอาหารลงในกระทะ หรือหม้อแล้ว ควรตั้งไฟให้ร้อนจัด อุณหภูมิอยู่ที่ 60-70 องศาเซลเซียส หรือจนเดือดเลยก็ได้ ระหว่างอุ่นต้องคน หรือคลุกเคล้าอาหารไปด้วย เพื่อให้ความร้อยกระจายได้อย่างทั่วถึง และใช้เวลาอุ่นนาน 15 นาที

อุ่นอาหารด้วยเตาไมโครเวฟ

การอุ่นอาหารด้วยเตาไมโครเวฟ แม้ว่าจะสะดวกรวดเร็ว ใช้เวลาไม่นาน เสร็จจบหมดในขั้นตอนเดียว ไม่ต้องใช้อุปกรณ์อะไรมาก (หลายคนชอบที่ไม่ต้องล้างหม้อเพิ่ม) แต่หากใช้ไม่ถูกต้อง นอกจากจะทำให้อาหารออกมาไม่น่ารับประทานแล้ว อาจจะฆ่เชื้อโรคได้หมดอย่างที่คิด ระหว่างอุ่นอาจจะคลุกเคล้าอาหารไปด้วยไม่ได้ เลยอาจจะทำให้ความร้อนกระจายได้ไม่ทั่วอาหาร และหากใช้ความร้อนไม่เหมาะสม ต่ำไปก็ไม่ร้อน สูงไปก็อาจจะไหม้ หรือเนื้อสัมผัสแข็ง และเหนียวได้

เคล็ดลับคือ เลือกใช้อุณหภูมิให้เหมาะสมกับประเภทของอาหาร ไมโครเวฟสมัยใหม่จะมีบอกว่าอุ่นอะไร ใช้ความร้อนเท่าไร หากไมโครเวฟที่บ้านไม่มีก็ไม่เป็นไร อาหารชิ้นใหญ่ๆ ให้วางเอาไว้ขอบๆ ภาชนะ หรือขอบฐานรองหมุน เพราะจะถูกคลื่นไความร้อนได้ดีกว่าตรงกลาง และควรกดพักเพื่อนำออกมาคนให้ทั่วเป็นระยะๆ ก่อนนำกลับเข้าเตาไปอุ่นต่อจนเสร็จ เพื่อเป็นการกระจายความร้อนให้ทั่วถึง และใช้ที่ครอบอาหารที่ใช้สำหรับในไมโครเวฟเท่านั้นด้วย นอกจากจะป้องกันอาหารกระเด็นแล้ว ยังช่วยกระจายความร้อนให้ได้ดียิ่งขึ้น

อุณหภูมิที่เหมาะสม เพื่อลดแบคทีเรีย และเชื้อโรคในอาหาร ควรตั้งอุณหภูมิที่106 องศาฟาเรนไฮน์สำหรับเนื้อ ปลา ไข่ และ170-180 องศาฟาเรนไฮน์ สำหรับไก่ กับเป็ด

ทั้งนี้ อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า ไม่ควรอุ่นอาหารทานซ้ำๆ เพราะนอกจากจะเสี่ยงเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรียแล้ว คุณค่าทางสารอาหารยังไม่ครบอีกด้วย ควรเลือกที่จะทานอาหารสดใหม่ ทำอาหาร หรือซื้ออาหารไม่มากจนเกินไปจนต้องเก็บมาทานต่อในวันต่อไปจะดีที่สุดค่ะ

อัพเดทล่าสุด