คน ไอคิวสูง จะอายุยืนยาวจริงหรือ ?


1,191 ผู้ชม

งานวิจัยชิ้นล่าสุดซึ่งตีพิมพ์บนนิตยสารบีเอ็มเจ เผยข้อมูลว่า คนที่ฉลาดกว่ามีแนวโน้มที่จะมีชีวิตได้ยาวนานกว่าคนที่ฉลาดน้อยกว่า ...


คน ไอคิวสูง จะอายุยืนยาวจริงหรือ ?

งานวิจัยชิ้นล่าสุดซึ่งตีพิมพ์บนนิตยสารบีเอ็มเจ เผยข้อมูลว่า คนที่ฉลาดกว่ามีแนวโน้มที่จะมีชีวิตได้ยาวนานกว่าคนที่ฉลาดน้อยกว่า โดยพบความสัมพันธ์ระหว่างไอคิว ความยืนยาวของอายุ ซึ่งวิเคราะห์แนวโน้มสาเหตุการตายตั้งแต่อาการบาดเจ็บ โรควิกลจริตและโรคหัวใจ

จากการวิจัยโดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวนกว่าพันคน พบว่า 10% ของเด็กที่ฉลาดสุด จำนวน 2 ใน 3 มีแนวโน้มตายจากโรคก่อนอายุ 79 ปี น้อยกว่า 10 % สุดท้ายของกลุ่มที่ฉลาดน้อยที่สุด ซึ่งครึ่งหนึ่งนั้นตายจากโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดอุดตัน โรคมะเร็งที่เกิดจากการสูบบุหรี่ โรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร และอาการบาดเจ็บภายนอก

"ผลวิจัยชี้ถึงการอายุยืนที่มากขึ้นมีผลเกี่ยวเนื่องมาจากระดับไอคิวที่สูงขึ้น ซึ่งสรุปได้ว่าคนที่ฉลาดมากๆ มีอายุยืนยาวกว่าคนที่ฉลาดในระดับทั่วไป"เอียน เดียรี่ นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเอดินเบอระระบุ

นอกจากนี้ นักวิจัยยังพบความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดของเด็กและอัตราเสี่ยงที่ลดลงของการตายที่มาจากภาวะทางสมองเสื่อมและวิกลจริต รวมทั้งการฆ่าตัวตาย ซึ่งมีผลลัพธ์ใกล้เคียงกันทั้งเพศชายและเพศหญิง ยกเว้นเพียงเรื่องการฆ่าตัวตาย ซึ่งเพศชายที่ยิ่งฉลาดจะมีอัตราการฆ่าตัวตายน้อยกว่าเพศหญิง

"มันน่าสนใจมากที่ผลลัพธ์ที่แตกต่างสามารถทำนายหรือคาดการณ์ใดๆ ได้ เรากำลังพูดถึงความตายและโรคหลากหลาย มันเหมือนกับว่าเป็นเรื่องทั่วๆ ไปที่สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอยู่แล้ว" แซคคารี่ แฮมบริก นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยมิชิแกนกล่าว

เมื่อเทียบกับงานวิจัยชิ้นก่อนๆ ซึ่งเคยพบความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดและอายุขัย แต่งานเหล่านั้นกลับมีข้อจำกัดอยู่มาก บางเคสเป็นเพียงเคสเดียว บางเคสเป็นเฉพาะอาชีพทหาร หรือบางเคสเป็นเฉพาะกลุ่มคนฐานะปานกลาง แต่งานวิจัยชิ้นล่าสุดนี้โดดเด่นออกไป เนื่องจากสามารถอธิบายได้ทั้งเพศชายและเพศหญิงมากกว่า 65,000 คน และใช้ข้อมูลการตาย 68 ปี

การศึกษาวิเคราะห์จากข้อมูลการทดสอบความฉลาดเด็กสก๊อตแลนด์ซึ่งเกิดเมื่อปี 1936 มีอายุ 11 ปี เพศชายจำนวน 33,000 คนและเพศหญิง 32,000 คน ซึ่งนักวิจัยศึกษาว่าใครยังมีชีวิตถึงปี 2015 และใครบ้างที่ตายไปก่อนหน้านั้นด้วยเพราะโรคอะไร

หลังจากที่นักวิจัยเชื่อมโยงระหว่างความฉลาดและอายุขัยเข้าด้วยกันและพบหลักฐานที่น่าสนใจจึงย้อนมองถึงต้นตอความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกัน โดยหนึ่งในนั้นเป็นเรื่องของวิถีชีวิต ซึ่งคนฉลาดกว่ามักสูบบุหรีในอัตราที่ต่ำ ดูแลรักษาสุขภาพเป็นประจำ และหลีกเลี่ยงการทำงานที่เสี่ยงต่อร่างกาย

ทั้งนี้ สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมก็มีผลเช่นเดียวกัน เนื่องจากการเข้าถึงการศึกษาและการได้รับการดูแลที่ดีส่งผลให้มีไอคิวที่สูงกว่ามาตรฐาน แต่ในผลวิจัยชิ้นนี้นักวิจัยไม่พบผลลัพธ์อันเนื่องมาจากสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม จึงสรุปได้ว่าสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมอาจมีผลมากต่อวัยผู้ใหญ่ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยด้านพันธุกรรม ซึ่งนักวิจัยพบว่าเป็นแรงเสริมที่ส่งผลระหว่างความสัมพันธ์ของยีนส์และอายุขัย

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยตั้งข้องสังเกตว่าจะเป็นไปได้หรือที่พันธุกรรมจะมีผลเป็นอย่างมากต่ออายุขัยของคน และเตรียมศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

อัพเดทล่าสุด