ปวดหัว ปวดศีรษะ เรื่องเล็กๆ ที่อาจส่งผลเสียต่อร่างกายไปได้ใหญ่โต !


1,631 ผู้ชม

เชื่อว่าใครหลายๆ คนต่างต้องเคยมีอาการนี้ แค่นั่งอยู่เฉยๆ ก็รู้สึกปวดหัว แค่หัวเราะก็ชักจะปวดหัว ยิ่งงานหนักยิ่งทำให้ปวดหัว หรือในบางครั้งเมื่อต้องเจอกับสภาวะที่ถูกกดดันมากๆ ก็ยิ่งปวดหัว ...


ปวดหัว ปวดศีรษะ เรื่องเล็กๆ ที่อาจส่งผลเสียต่อร่างกายไปได้ใหญ่โต !

เชื่อว่าใครหลายๆ คนต่างต้องเคยมีอาการนี้ แค่นั่งอยู่เฉยๆ ก็รู้สึกปวดหัว แค่หัวเราะก็ชักจะปวดหัว ยิ่งงานหนักยิ่งทำให้ปวดหัว หรือในบางครั้งเมื่อต้องเจอกับสภาวะที่ถูกกดดันมากๆ ก็ยิ่งปวดหัว ปวดตึ้บๆ ปวดหน่วงๆ เดี๋ยวปวด เดี๋ยวหาย ไม่สม่ำเสมอ แต่อย่าเพิ่งวิตกกันไปว่าอาการปวดหัวดังกล่าวจะนำมาซึ่งโรคที่ทำให้เราไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ต้องรีบบึ่งไปโรงหมอให้คุณหมอทำการตรวจวินิจัยกันอย่างเร็วรี่ ถ้าคุณได้ลองอ่านคำอธิบายเหล่านี้ เชื่อสิ ว่าความกังวลกับอาการที่เกิดขึ้นจะหายไป

ปวดหัว หรือปวดศีรษะ (Headache) นั้นเป็นอาการไม่ใช่โรค โดยเป็นอาการที่พบได้โดยมากทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งจาก 2 ใน 3 ของเด็กทั้งหมดและจาก 9 ใน 10 ของผู้ใหญ่ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เคยมีอาการปวดศีรษะกันมาทั้งนั้น ไม่ว่าจะเพศใด เป็นชายหรือเป็นหญิงก็มีโอกาสที่จะเกิดอาการนี้ได้อย่างเท่าๆ กัน ลองมาทำความเข้าใจข้อมูลตอนนี้กันดีกว่า

อาการปวดหัวเกิดขึ้นได้อย่างไร ?

อาการปวดหัว หรือปวดศีรษะ เกิดจากเส้นประสาทที่ได้รับความเจ็บปวดภายในบริเวณศีรษะและลำคอซึ่งถูกกระตุ้นจากสาเหตุต่างๆ จากนั้นจึงส่งความรู้สึกนั้นไปยังสมองส่วนกลาง ส่งผลให้สมองตอบสนองจนเกิดเป็นอาการปวดหัว หรือปวดศีรษะ

ประสาทรับความเจ็บปวดภายในศีรษะและลำคออาจถูกกระตุ้นได้จากหลายสาเหตุ อาทิ

- สาเหตุการปวดหัวที่เกิดขึ้นจากหลอดเลือดในส่วนศีรษะและลำคอถูกดึงรั้ง และ/หรือมีการขยายตัวของหลอดเลือด เช่น จากการเพิ่มของอุณหภูมิในร่างกายเมื่อมีไข้

- สาเหตุการปวดหัวที่เกิดขึ้นจากการอักเสบของประสาทส่วนที่รับความเจ็บปวดในส่วนศีรษะและลำคอถูกกด หรือถูกดึงรั้งจากการอักเสบ หรือการบวม

- สาเหตุการปวดหัวที่เกิดขึ้นจากการอักเสบ การดึงรั้ง และ/หรือการหดเกร็งของกล้ามเนื้อส่วนศีรษะและลำคอ เช่น ความเครียด หรืออุบัติเหตุ

- สาเหตุการปวดหัวที่เกิดจากการอักเสบ และ/หรือการระคายเคืองต่อเยื่อหุ้มสมอง และ/หรือก้านสมอง เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

แนวทางการรักษาอาการปวดศีรษะ

- เมื่อมีอาการปวดศีรษะที่อยู่ในกลุ่มปฐมภูมิ คือ เป็นอาการปวดหัวที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากโรค แนวทางการรักษา คือ การบรรเทาอาการปวดด้วยการรับประทานยาแก้ปวด เช่น ยาพาราเซตามอล (Paracetampl) และการรักษาเพื่อป้องกันอาการปวดที่จะเกิดขึ้น โดยมากมักมีวิธีการรักษาด้วยการรับประทานยา มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ทั้งนี้ การพิจารณาว่าผู้ป่วยควรจะทานยาชนิดใดนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของอาการและดุลยพินิจของแพทย์ เช่น การรักษาในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการปวดหัวที่เกิดโรคไมเกรน เป็นต้น

- เมื่อมีอาการปวดศีรษะที่อยู่ในกลุ่มทุติยภูมิ คือ เป็นอาการปวดที่มีสาเหตุมาจากโรคต่างๆ การรักษาก็สามารถทำได้หลากหลายวิธี เช่น การรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียด้วยยาปฏิชีวนะ , การรักษาโรคเนื้องอกสมองด้วยการผ่าตัด และ/หรือร่วมกับการทำรังสีรักษา , การรักษาอาการปวดหัวที่เกิดจากสายตาสั้น หรือสายตาเอียงด้วยการใส่แว่นตา รวมถึงการให้เลิกสุราเมื่อมีสาเหตุการปวดหัวมาจากการดื่มสุรา เป็นต้น

- เมื่อมีอาการปวดหัวที่เกิดจากเส้นประสาทและอื่นๆ เช่น การผ่าตัดเมื่อมีหลอดเลือดกดเส้นประสาทสมองเส้นที่ 5 เป็นต้น

- การรักษาอาการปวดหัวโดยประคับประคองไปตามอาการ คือ การให้ยาแก้ปวดขณะที่มีอาการปวดหัว ซึ่งจะมียาแก้ปวดอยู่หลายชนิด โดยยาที่ผู้ป่วยสามารถหาซื้อเพื่อรับประทานได้เองเป็นยาสามัญประจำบ้าน ได้แก่ ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) ส่วนยาแก้ปวดชนิดอื่นๆ ควรอยู่ในคำแนะนำของแพทย์ พยาบาล และเภสัชกร เพื่อให้เกิดอันตรายจากการใช้ยา

เราจะป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดหัวได้อย่างไร ?

สำหรับการป้องกันอาการปวดศีรษะที่จะเกิดขึ้นขอให้เริ่มต้นจากการป้องกันที่สามารถทำได้ง่ายๆ เช่น การป้องกันไข้หวัดที่เกิดจากการติดเชื้อด้วยการรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน รวมถึงต้องรักษาสุขภาพจิต และพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอาการปวดหัวจากความเครียด ที่สำคัญ อย่างลืมไปตรวจสุขภาพตาเป็นประจำทุกปี เพื่อป้องกันโรคและรักษาอาการที่จะเกิดทางสายตาไว้แต่เนิ่นๆ ก่อนที่จะส่งผลทำให้เกิดอาการปวดหัวแบบเรื้องรัง อีกทั้งไม่ควรดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มที่แอลกอฮอล์

เป็นอย่างไรกันบ้างกับข้อมูลที่นำมาฝาก เห็นรึเปล่าว่าแค่อาการปวดเล็กๆ ที่เกิดขึ้นก็สามารถบอกได้ว่าร่างกายของเรากำลังไม่สมบูรณ์ หรือกำลังจะเกิดโรคภัยโรคใดโรคหนึ่งอยู่ ทางที่ดีควรเริ่มดูแลตัวเองตั้งแต่วันนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของร่างกาย หรือเรื่องของสุขภาพจิตใจล้วนแล้วแต่มีความสำคัญ รับประทานอาการที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ ทำให้ตัวเองดูสดชื่นและมีความสุขอยู่เสมอ จะช่วยให้ห่างไกลกับอาการปวดหัวที่พูดถึงไปเมื่อตอนต้นได้อย่างไร้กังกล

อัพเดทล่าสุด