รู้ไว้! นิ่วในไต ใครๆ ก็อาจเป็นได้


2,073 ผู้ชม

ด้วยเพราะวิถีชีวิตของคนเราที่เปลี่ยนไป ทำให้โรคร้ายคุกคามเราได้มากขึ้น ทั้งจากการบริโภค และการดำเนินชีวิต ขอแนะนำให้รู้จักกับ โรคนิ่วในไต ที่ใครหลายคนอาจไม่เคยได้ยิน ...


รู้ไว้! นิ่วในไต ใครๆ ก็อาจเป็นได้

ด้วยเพราะวิถีชีวิตของคนเราที่เปลี่ยนไป ทำให้โรคร้ายคุกคามเราได้มากขึ้น ทั้งจากการบริโภค และการดำเนินชีวิต ขอแนะนำให้รู้จักกับ "โรคนิ่วในไต" ที่ใครหลายคนอาจไม่เคยได้ยิน ไม่คุ้นหูมาก่อน แต่ขอบอกเลยว่าโรคนี้ใครๆ ก็เป็นได้ ไม่ว่าจะเพศไหน หรืออายุเท่าไรค่ะ

โรคนิ่วในไต คืออะไร?


นิ่วในไต เกิดจากการที่เรามีปัสสาวะที่เข้มข้นมา จากการตกตะกอนจนเป็นนิ่ว มักเกิดที่บริเวณกรวยไต และสุดท้ายหากก้อนนิ่วหลุดลงมาที่ท่อไต ก็อาจเกิดอาการปวดท้องเฉียบพลัน เหมือนคนจะคลอดลูกได้

ทำไมถึงมีการตกตะกอนในปัสสาวะ?

ปกติในปัสสาวะจะมีสารเคมีบางชนิดที่ป้องกันการตกตะกอน แต่อาจเกิดอาการผิดปกติอะไรบางอย่าง จึงทำให้เกิดการตกตะกอนขึ้น หากตะกอนมีขนาดเล็ก อาจถูกขับออกจากไตทางปัสสาวะได้ แต่หากตะกอนมีขนาดใหญ่ อาจอุดทางเดินของปัสสาวะ และเกิดอาการของนิ่วขึ้นได้

อาการของโรคนิ่วในไต

ปวดเจ็บบริเวณที่นิ่วเข้าไปอุดอยู่ เช่น
- ปวดที่หลังและชายโครงหากนิ่วหลุดไปอุดตันที่ทางเดินปัสสาวะ
- ปวดเอวหรือร้าวไปถึงขาหนีบ เพราะนิ่วหลุดไปอุดตันที่ท่อไต หรือกรวยไต
- ระคายเคืองเมื่อปัสสาวะ เพราะนิ่วอุดที่ท่อไตที่ต่อกับกระเพาะปัสสาวะ
- บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ร่วมด้วย

สาเหตุของโรคนิ่วในไต
ยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าโรคนิ่วในไตเกิดขึ้นจากสาเหตุอะไร แต่สามารถระบุกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคนิ่วในไตได้ ดังนี้
- ครอบครัวเคยมีประวัติเป็นโรคนิ่วในไตมาก่อน
- มีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
- เป็นโรคไตอยู่แล้ว
- ขาดน้ำ ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
- ร่างกายผลิตเกลือขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะมากเกินไป (มาจากพันธุกรรม)
- ร่างกายขับกรดยูริกในปัสสาวะมาก เช่นผู้ป่วยที่เป็น โรคเกาท์
- การทานยาบางชนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาแก้โรคกระเพาะที่มีเกลือแคลเซียม


การป้องกันจากโรคนิ่วในไต
1. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอในแต่ละวัน 6-8 แก้ว
2. ดื่มน้ำมะนาววันละแก้ว จะเพิ่มระดับ citrate ซึ่งป้องกันนิ่วที่เกิดจาก เกลือแคลเซียม
3. ลดการดื่มน้ำอัดลม เพราะจะเข้าไปลดระดับ citrate ในร่างกาย
4. ลดอาหารเค็ม เนื่องจากโซเดียมไปเพิ่มการขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะ
5. ทานอาหารที่มีกากใยมากขึ้น เช่น ผักผลไม้ หรือธัญพืช
6. เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์และหลากหลาย อย่าทานอาหารซ้ำเดิมติดต่อกันเป็นเวลานาน เพื่อลดการรับสิ่งใดสิ่งหนึ่งซ้ำๆ เป็นระยะเวลานานๆ

อัพเดทล่าสุด