7 เคล็ดลับ จับใจลูก ช่วงรอมฎอน


1,799 ผู้ชม

สิ่งที่พ่อแม่พึงฉกฉวยโอกาสอันทรงคุณค่าเพื่อสั่งสอนเด็กๆ ในช่วงเดือนรอมฎอนนี้ เช่น การถือศีลอด การละหมาด การมีคุณธรรมจริยธรรม ...


7 เคล็ดลับ จับใจลูก ช่วงรอมฎอน

ท่านรอซูลกล่าวความว่า "หามีพ่อคนใดที่จะให้ของขวัญอันล้ำค่าแก่ลูกๆ ยิ่งไปกว่าการอบรมบ่มนิสัย" (ติรมีซีย์)

สิ่งที่พ่อแม่พึงฉกฉวยโอกาสอันทรงคุณค่าเพื่อสั่งสอนเด็กๆ ในช่วงเดือนรอมฎอนนี้ เช่น การถือศีลอด การละหมาด การมีคุณธรรมจริยธรรม การบริจาคทาน การอ่านกุรอาน การปฏิบัติต่อครอบครัว ไม่ว่าเด็กๆ จะเป็นลูกของคุณ หรือเป็นเด็กที่คุณต้องอบรมสั่งสอน การศึกษา หรือการอบรมบ่มนิสัย มิใช่เป็นกระบวนการ ที่จะเกิดขึ้นเอง หรือง่ายดายนัก สมองเด็กมิใช่จะว่างเปล่า และเด็กมิได้รับข้อมูลทั้งหมดที่เราบอกกล่าว การอบรมบ่มนิสัยต้องใช้ความพยายามอุตสาหะ มานะ และวิธีการบางประการ

บทความนี้นำเสนอเคล็ดลับและวิธีการอบรมพัฒนาการทางความจำและสมองของเด็กๆ ในช่วงรอมฎอนนี้

1. ให้เขาเลอะซะบ้าง จะได้มากประสบการณ์

"เป้าหมายของการศึกษาหาใช่เพื่อรู้แต่เพื่อปฏิบัติ" (เฮอเบิร์ท สเปนเซอร์)

เด็กๆ จะเรียนรู้ผ่านการกระทำ โดยเฉลี่ยแล้วนักเรียนที่สามารถปฏิบัติงาน ร้อยละ ๗๕ เรียนรู้ผ่านกิจกรรม ในขณะที่ ร้อยละ ๕ ผ่านการฟังการบรรยายและร้อยละ ๑๐ ผ่านการอ่านตำรา (บรูนเมอร์ เจโรม)

ตัวอย่าง หากคุณต้องการจะสอนเด็กในเรื่องซากาต คุณควรให้เด็กๆ มีส่วนช่วยคุณในการคำนวณอัตราซากาต ปล่อยให้เขาลองตัดสินใจว่าจะจ่ายให้ใคร อย่างไร การฝึกปฏิบัติจริงสามารถกระทำได้ในช่วงที่เรียนรู้อยู่ไม่จำเป็นว่าต้องทำใน ภายหลัง

เมื่อเด็กๆ ได้รับประสบการณ์โดยตรงจะทำให้พวกเขาเข้าใจมโนทัศน์นั้นๆ อย่างแท้จริงและง่ายกว่าที่จะอ่านเสียด้วยซ้ำไป เด็กๆ จะจำถึงวิธีการในปีต่อๆ ไป เมื่อคุณลองให้เขาถ่ายทอดสิ่งที่พวกเขาได้รับประสบการณ์มา พวกเขาจะบอกว่า "อ้อ ฉันเคยคำนวณซากาต เมื่อครั้งที่ฉันเล็กๆ"

2. เอาใจลูกมาใส่ใจเรา

เมื่อเด็กๆ ต้องการที่จะทำกิจกรรมใด แน่นอนพวกเขาไม่อยากจะเลิกในกิจนั้น เกมในวีดิทัศน์ และรายการทีวีเป็นสิ่งตอบสนองความต้องการของเด็กได้ ฉะนั้นเราในฐานะพ่อแม่ นักการศึกษาลองบูรณาการสิ่งเหล่านั้นมาใช้ในการอบรมเด็กๆ

เรื่องราว เพลง หนังตลก และเกม เป็นสิ่งล่อตาล่อใจเด็กได้เป็นอย่างดี สิ่งใดที่เด็กสนใจ ตื่นเต้น พวกเขาก็จะใจจดใจจ่อจนกว่าสิ่งนั้นจะจบและยุติลงถึงจะรับคำสั่งที่คุณต้อง การให้เขาทำ เราจะจำถึงเหตุการณ์ที่เกี่ยวพันกับอารมณ์เกิดขึ้นกับชีวิตเรา ได้เป็นอย่างดี ดังนั้น เด็กจะเรียนรู้ได้อย่างดีผ่านกิจกรรมที่สนุก เฮฮา ตื่นเต้นหรือแตกต่าง

อย่ารีรอที่จะบูรณาการเรื่องราวที่สนุกสนานในการอบรมเด็กๆ เนื้อหาสาระครบถ้วน ลองเขียนเพลงเกี่ยวกับวันอีด ลองทำกล่องสมบัติหะดีษ ลองหาเวลาสักนิดในช่วงรอมฎอนเพื่อจัดกิจกรรมกลางคืน หรืออ่านเรื่องราวเกี่ยวกันรอมฎอนในมะดีนะฮฺ ถ้าเด็กสนุกสนานกับกิจกรรมเหล่านั้น พวกเขาจะย้อนกลับมาทำอีก

3. ปล่อยให้เด็กๆ ระบายซะบ้าง

เรามักจะได้ยินเด็กๆ บ่นฮุบฮิบฮุมฮำว่า "ทำไมเราต้องมาทำงานนี้ด้วยนะ" หรือ "การบ้านวิชาคณิตศาสตร์นี้ไร้สาระจริงๆ" น่าอนาถ ที่เรามักได้ยินคำตอบว่า "อ้อ ก็เพราะฉันให้เธอทำไงล่ะ" หรือ "เพราะเธอต้องทำน่ะ" บางคนอาจเลวร้ายไปกว่านั้นโดยตอบว่า "หากเธอทำการบ้านเสร็จ เดี่ยวจะซื้อเกมแผ่นเสียงให้อันนึง"

เด็กก็เหมือนกับเรานั้นแหละ เพราะการที่เด็กๆ ไม่รู้ถึงเป้าหมายหรือความสำคัญของกิจกรรมนั้นๆ พวกเขาก็จะไม่มีสิ่งที่มากระตุ้น เพื่อหลีกเลี่ยงที่จะรับคำคอมเมนท์ (วิจารณ์) จากเด็กในเรื่องซ้ำซากเช่นเรื่องละหมาดหรือการถือศีลอด จงแน่ใจว่าพวกเขาเข้าใจเป้าหมายในกิจนั้นๆ ก่อนที่คุณจะเริ่มบทเรียน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวของซอฮาบะฮฺ หรือเรื่องราววันอีด จงอธิบายให้พวกเขาทราบว่าทำไมเราต้องทำสิ่งนี้สิ่งนั้น และมันมีประโยชน์อย่างไร

พึงเตือนสติเด็กๆ ว่าพวกเขาต้องทำอิบาดะฮฺเพื่อแสวงหาความพึงพอพระทัยต่ออัลลอฮฺไม่ใช่เพื่อ ตัวคุณ พึงชี้แจงว่าเหตุใดที่เราต้องแสวงหาความพึงพอพระทัย ต่ออัลลอฮฺในทุกๆ เรื่อง ซึ่งจะช่วยให้เราประสบผลสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็น ล้างจาน ทำการบ้านวิชาคณิต หากเด็กๆ ละหมาดเพื่อให้คุณพอใจ เมื่อคุณไม่อยู่ พวกเขาก็จะไม่มีสิ่งใดเป็นตัวกระตุ้นให้พวกเขาทำละหมาด

หากเด็กๆ ได้รับแรงกระตุ้นให้ถือศีลอดหรืออ่านกุรอานลงเครื่องเครื่องบันทึกเสียง พวกเขาไม่อาจที่จะแสวงหาความพึงพอพระทัยจากอัลลอฮฺ หรือความต้องการทางอารมณ์ ในการปฏิบัติกิจนั้นๆ หากพวกเขามีแรงตระตุ้นจูงใจในการทำกิจใดๆ เพื่อหวังรางวัลวัตถุ แน่นอนที่เดี่ยวเมื่อไม่มีรางวัล พวกเขาก็จะไม่ปฏิบัติ

4. สารัตถะขั้นต้นนั้นสำคัญ

การศึกษา หมายถึง สิ่งที่ยังคงหลงเหลือหลังจากที่เราได้ลืมทุกอย่างที่เราเรียนรู้ในห้องเรียน (อัลเบิร์ท ไอส์ไตน์)

พึงถามตัวเองเถิดว่า เราเองจำสูตรสมการหรือสูตรโครงสร้างกี่ตัวจากหนังสือวิชาคณิตศาสตร์ของชั้น ประถมศึกษา ๖ เราอาจจำแค่ ๕ หรือ ๒ สูตรแค่นั้นเอง หรือไม่จะเลย ด้วยสัจจริงแล้วเรานั้นมีความรู้ที่จำกัด

เด็กๆ จะไม่เอารู้เอาชี้ต่อหลักการทางฟิกฮฺของซากาต การอาบน้ำละหมาดหรือการละหมาด และพวกเขาก็ไม่ต้องการที่จะอินังขังขอบในเรื่องดังกล่าว จงแน่ใจว่าอย่างน้อยๆ แล้วเด็กๆ ได้รับรู้เข้าใจสิ่งที่คุณต้องการให้พวกเขาจดจำ เน้นสารัตถะ เช่นให้รู้ว่าอัลลอฮฺทรงทอดทอดพระเนตรเราอยู่ การละหมาดเป็นวิธีหนึ่งในการขัดเกลาจิตใจเรา เป็นต้น หมั่นท่องซ้ำๆ ทุกวัน แล้วเด็กๆ จะซึบซับหลักการเหล่านี้ทีละเล็กละน้อยสู่สมองในเร็ววัน และแนะนำวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเองเมื่อเขาพร้อม

พึงช่วยให้เด็กๆ ได้รู้วิธีการเรียนรู้ สอนให้รู้ถึงแหล่งที่จะเรียนรู้วิชาฟิกฮฺ หรือศึกษาข้อมูลหัวข้อหรือสอบถามผู้เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นๆ ที่ตนสนใจ เป็นการเตรียมตัวที่ดีกว่าไหมหากเขาเขารู้เรื่องราวพื้นฐานมาบ้างแล้วและรู้ วิธีไขว่คว้าในเชิงลึกต่อไป การต้องจำทุกหลักการเป็นการสิ้นเปลืองเวลาและตัวเอง

5. ให้เขาได้เป็นผู้นำบ้างก็ดีน่ะ

เด็กๆ มักจะมีความรับผิดชอบมากกว่าผู้ใหญ่ ท่านรอซูลแต่งตั้งท่านอุซามะฮฺ อิบนุ ซัยด์ ตอนนั้น เขายังหนุ่มอยู่เป็นผู้บัญชาการกองทัพมุสลิมแม้ว่าซอฮาบะฮฺชั้น อาวุโสมากประสบการจะอยู่ในขณะนั้น ท่านรอซูลเชื่อมั่นว่าเขามีความสามารถในตำแหน่งนี้

ลองมอบหมายให้เด็กๆ รับผิดชอบภารกิจที่สำคัญและเรียนรู้ไปทีละขั้น ลองแต่งตั้งให้เด็กๆ ทำหน้าที่ปลุกพี่น้องให้ตื่นมาละหมาดซุบฮฺ และมอบหมายเด็กอีกคน ให้ดูแลรับผิดชอบเรื่องอาหาร เพื่อละศีลอด ลองปล่อยอิสระให้พวกเขาวางแผน งบประมาณ และซื้อของขวัญให้ญาติพี่น้องในวันอีด ปล่อยให้เขาเลือกรับผิดชอบตำแหน่งที่พวกเขาสนใจ

หมั่นสอนให้เด็กมีความรับผิดชอบในการเรียนรู้ด้วยตนเอง หากเด็กถามว่า "ถ้าผมจะแปรงฟัน ผมจะเสียศีลอดไหมครับ" อาจตอบง่ายๆ ว่า ใช่ หรือไม่ใช่ แต่การตอบอย่างนั้น ไม่ได้เป็นการเพิมพูนปัญญาเขาเลย เราควรถามเขาว่า "เธอคิดว่า เธอน่าจะหาคำตอบจากที่ไหนดีเอ๋ย" ลองค้นคว้าดูไหม

เริ่มต้นรอมฎอนนี้ลองให้เด็กๆ ทำโครงการค้นคว้ากี่ยวกับสิ่งทีทำให้เสียศีลอด หากเขาค้นคว้าข้อมูลเอง พวกเขารู้สึกว่ามันจะมีค่าและจดจำแหล่งข้อมูลหากปีถัดไปมีโครงการอย่างนี้อีก

6. ต้องตื่นเต้น เพิ่มความจำ

การศึกษามิใช่การเก็บรวมรวมแต่มันคือแสงประทีป (ดับบลิว ยีท)

เด็กๆ จะอุ้มชูแรงศรัทธาในตัวคุณ จงแสดงให้เขาเห็นว่า สิ่งที่คุณจะสอนเขาเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นและอารมณ์ ร่วมต่อเรื่องนั้นๆ แสดงให้เขาเห็นว่าคุณรอเดือนรอมฎอน ที่จะมาไม่ไหวแล้ว กระปี้กระเปร่ากับการละหมาด จงตกแต่งบ้านเพื่อต้อนรับวันอีด

ท่านรอซูลแสดงตัวอย่างให้เห็นเพื่อกระตุ้นให้ผู้คนรักและเอาอย่างท่าน จงเป็นตัวอย่างให้แก่เด็กๆ ของคุณ จะให้เด็กๆ รักในกิจกรรมใดๆ คุณต้องแสดงให้เขาเห็นว่าคุณก็รักกิจกรรมนั่นๆ เช่นกัน

7. รักที่จะเรียนรู้ ถึงจะเจ๋ง

ท่านรอซูลทักทายเด็กๆ อย่างอบอุ่นด้วยการกอด จูบและอุ้มพวกเขา

ท่านอบู ฮุรัยเราะฮฺ รายงานว่า อัลอักรอบ ฮาบิส เห็นท่านรอซูลจูบท่านฮาซัน ท่าน (อบูฮุรัยเราะฮฺ) กล่าวว่าฉันมีลูกๆ ถึง ๑๐ คน ฉันไม่เคยจูบพวกเขาเลย ทันใดนั้น ท่านรอซูลกล่าวว่า ผู้ที่ไม่แสดงความเมตตาต่อลูกๆ เขาผู้นั้นอย่าหวังว่าจะได้รับเมตตาตอบกลับมา (มุสลิม)

พึงแสดงให้ลูกๆ เห็นว่าคุณรักพวกเขา ไม่ว่าพวกเขาจะทำอะไร ปล่อยให้เขาก้าวด้วยตัวเอง การกล่าวว่า ดูอย่าง อมีนะฮฺ ซิ อ่านกุรอานได้ ๑๕ ยุซ แล้ว การพูดอย่างนี้ทำให้ลูกของคุณท้อและไม่มั่นใจในตัวเองต่อสิ่งที่เคยทำมา

การแข่งขันและการเปรียบเทียบอย่างสม่ำเสมอ อาจส่งผลต่อแรงกระตุ้นจูงใจเด็กในการเรียนรู้ ด้วยวิธีที่แตกต่าง หรือพัฒนาการที่ล้าช้า ปล่อยให้เด็กตัดสินใจ และเปรียบเทียบด้วยตนเองก่อนและหลังเรียนรู้ อย่าได้เปรียบเทียบกับคนอื่น

พึงฉกฉวยโอกาสในเดือนรอมฎอนนี้ เพื่อเป็นประสบการณ์เรียนรู้ระยะยาวสำหรับตัวคุณและลูกๆ

ที่มา https://en.islamstory.com

อัพเดทล่าสุด