สิ่งใดเป็นเรื่องที่ศาสนาห้ามนั้น ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ต้องนำสิ่งที่ห้ามนั้นบอกกล่าวแก่ศอหะบะฮฺ หรือบัญญัติเป็นศาสนา ...
สิ่งที่ไม่ทำให้เสียการถือศิลอด
สิ่งใดเป็นเรื่องที่ศาสนาห้ามนั้น ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ต้องนำสิ่งที่ห้ามนั้นบอกกล่าวแก่ศอหะบะฮฺ หรือบัญญัติเป็นศาสนา แต่ถ้าท่านรสูลมิได้บอกไว้ ก็แสดงว่าสิ่งดังกล่าวเป็นที่อนุญาตให้กระทำในขณะถือศิลอด โดยไม่ทำให้การเสียศิลอดเป็นโมฆะแต่ประการใดทั้งสิ้น
พระองค์อัลลอฮฺทรงตรัสว่า...
وَما يَنبَغى لِلرَّحمٰنِ أَن يَتَّخِذَ وَلَدًا
"และเรา (ญิบรีล) มิได้ลงมา เว้นแต่ด้วยพระบัญชาของพระเจ้าของท่าน สำหรับพระองค์นั้น สิ่งที่อยู่ระหว่างเบื้องหน้าของเราและสิ่งที่อยู่เบื้องหลังของเรา และสิ่งที่อยู่ระหว่างทั้งสองและพระเจ้าของท่านนั้นมิทรงหลงลืมสิ่งใดเลย"(อัลกุรอาน สูเราะฮฺ มัรยัม 19:64
การหยอกล้อและจุมพิต(จูบ)ภรรยาขณะถือศิลอด
จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮา ได้เล่าว่า:
كَانَ النَّبِيُ صَلَّى اللهُ عَلَيهِ وَسَلَّم يُـقَبِّلُ وَيُبَاشِرُ وَهُوَ صَائِمٌ وَكَانَ أَمْلَكَكُمْ لإرْبِـهِ
ความว่า: "ท่านนะบี ได้จูบและเล้าโลมในขณะที่ท่านถือศีลอด และท่านเป็นผู้ที่สามารถควบคุมอารมณ์ความใคร่ของท่านได้ดีที่สุดในหมู่พวกท่าน"
(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 1927 และมุสลิม หมายเลข 1106 สำนวนหะดีษเป็นของอัล-บุคอรีย์)
รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮา ความว่า
أَنَّهُ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ رَخَّصَ فِي الْقُبْلَةِ لِلشَّيْخِ وَهُوَ صَائِمٌ وَنَهَى عَنْهَا الشَّابَّ وَقَالَ : الشَّيْخُ يَمْلِكُ إرْبَهُ وَالشَّابُّ يُفْسِدُ صَوْمَهُ
"ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ผ่อนปรนการจูบสำหรับคนชราในขณะที่ถือศีลอด และท่านได้ห้ามการจูบสำหรับชายหนุ่ม และท่านกล่าวว่า คนชรานั้นสามารถควบคุมอารมณ์ของเขาได้ ส่วนชายหนุ่มจะทำให้การถือศีลของเขาเสีย"(บันทึกหะดิษโดยอัลบัยฮะกีย์ ด้วยรายงานหะดีษที่เศาะเฮียะฮฺ)
การที่ผู้ชายจูบภรรยาของเขา ลูบคลำ และเล้าโลมผ่านเสื้อผ้าในขณะที่เขาถือศีลอดถือว่าเป็นที่อนุญาต ถึงแม้ว่าจะเกิดอารมณ์ใคร่ก็ตามเมื่อเขามั่นใจว่าสามารถควบคุมอารมณ์ความใคร่ของตนเองได้ และถ้าหากเกรงว่าอาจจะพลั้งตกอยู่ในสิ่งที่อัลลอฮฺทรงห้ามเช่นการหลั่งน้ำอสุจิ เช่นนี้ถือว่าเป็นที่ต้องห้ามสำหรับเขา
ท่านอิมาม อันนะวาวีย์ กล่าวว่า
وَتُكْرَهُ الْقُبْلَةُ لِمَنْ حُرِّكَتْ شَهْوَتُهُ وَالْأَوْلَى لِغَيْرِهِ قُلْت : هِيَ كَرَاهَةُ تَحْرِيمٍ فِي الْأَصَحِّ ، اللَّهُ أَعْلَمُ
"มักโระฮ์ทำการจูบสำหรับผู้(ถือศีลอด)ที่อารมณ์ความใคร่ถูกขับเคลื่อน และที่ดียิ่งสำหรับผู้ที่อารมณ์ไม่ถูกขับเคลื่อน(เช่น คนชรา) แต่ฉัน(คืออิมามอันนะวาวีย์)ขอกล่าวว่า การจูบ(สำหรับผู้กำลังถือศีลอด)นั้นเป็นมักโระฮ์แบบฮะรอมตามทัศนะที่ชัดเจนยิ่งกว่า วัลลอฮุอะลัม" มินฮาญุฏฏอลิบีน หน้า 31.
ท่านอิมาม อัลค่อฏีบ อัชชัรบีนีย์ กล่าวอธิบายว่า
"การจูบ , การกอด , การสัมผัส , และอื่น ๆ โดยไม่มีสิ่งใดมากั้น ในช่วงกลางวันของเดือนร่อมะฎอนนั้น ไม่ทำให้เสียศีลอดแต่เป็นการกระทำสิ่งที่ฮะรอม เพราะอาจจะเป็นการทำให้เสียอิบาดะฮ์ศีลอดโดยทางอ้อม เนื่องจากบุคอรีและมุสลิมได้รายงานหะดิษความว่า
مَنْ حَامَ حَوْلَ الْحِمَي يُوْشِكُ أَنْ يَقَعَ فِيْهِ
"ผู้ใดที่ล้ำเข้าไปในเขตหวงห้ามเขาย่อมเกือบจะตกลงไปในมัน"
ท่านอัลบัยฮะกีย์ได้รายงานหะดีษที่ซอฮิห์จากท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮา ความว่า
أَنَّهُ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ رَخَّصَ فِي الْقُبْلَةِ لِلشَّيْخِ وَهُوَ صَائِمٌ وَنَهَى عَنْهَا الشَّابَّ وَقَالَ : الشَّيْخُ يَمْلِكُ إرْبَهُ وَالشَّابُّ يُفْسِدُ صَوْمَهُ
"ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ผ่อนปรนการจูบสำหรับคนชราในขณะที่ถือศีลอด และท่านได้ห้ามการจูบสำหรับชายหนุ่ม และท่านกล่าวว่า คนชรานั้นสามารถควบคุมอารมณ์ของเขาได้ ส่วนชายหนุ่มจะทำให้การถือศีลของเขาเสีย"
แต่หากเขาได้จูบ , กอด , สัมผัสภรรยาโดยไม่มีสิ่งกั้นขวาง แล้วจากนั้นอสุจิหลั่งออกมา ย่อมทำให้เสียศีลอด" มุฆนีอัลมั๊วะห์ตาจญ์ เล่ม 2 หน้า 171.
การอาบน้ำ การใช้น้ำรดศีรษะขณะถือศิลอด
รายงานจากอาบูบัก บิน อับดุลเราะห์มาน จากซอฮาบัตท่านหนึ่งของท่านศาสดา(ซ.ล)ว่า
"ฉันเห็นท่านศาสดา(ซ.ล)รดน้ำลงบนศีรษะของท่านเนื่องจากความกระหายหรือความร้อนโดยที่ท่านนั้นถือศีลอด"(หะดิษเศาะเฮียะฮ์ บันทึกโดยอบูดาวูด หะดิษเลขที่ 2361)
คนที่ถือศีลอดนั้นสามารถที่จะอาบน้ำได้ทั้งในตอนเช้า สาย เเละตอนบ่าย เนื่องจากกระหายหรือความร้อนนอกจากนี้เขายังสามารถเเช่ตัวอยู่ในน้ำได้ เนื่องจากอากาศร้อนหรือเพื่อป้องกันจากอันตรายอื่นๆได้อีกด้วย อนึ่งมีนักวิชาการบางท่านให้ทัศนะว่าคนถือศีลอดที่เเช่ตัวในน้ำหรือล้างตัวของเขาด้วยกับน้ำเพื่อดับความร้อนนั้น เขาได้กระทำสิ่งที่น่าตำหนิ
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้เคยใช้น้ำราดศีรษะเนื่องจากอากาศร้อน หรือกระหายขณะที่ท่านศีลอด ท่านอิบนุ อุมัรฺ ก็เคยทำให้ผ้าของท่านเปียกชุ่มขณะถือศีลอดเพื่อลดความร้อนหรือความกระหาย การที่เสื้อหรือตัวเปียกน้ำไม่มีผลต่อการถือศีลอด เนื่องจากน้ำไม่ได้เข้าไปในร่างกาย
การบ้วนปาก สูดน้ำเข้าจมูกและการแปรงฟันขณะถือศิลอด
อาซิม บิน ล่ากีฏ บิน ซ่อบิเราะฮ์ รายงานจากบิดาของเขา ได้กล่าวว่า
قُلْتُ يَا رَسُولَ اللَّهِ أَخْبِرْنِي عَنْ الْوُضُوءِ قَالَ أَسْبِغْ الْوُضُوءَ وَخَلِّلْ بَيْنَ الْأَصَابِعِ وَبَالِغْ فِي الِاسْتِنْشَاقِ إِلَّا أَنْ تَكُونَ صَائِمًا
"ฉันกล่าวว่า โอ้ ท่านร่อซูลุลลอฮ์ จงโปรดจงบอกฉันจากเรื่องการอาบน้ำละหมาดด้วยเถิด ท่านร่อซูลุลลอฮ์กล่าวว่า ท่านจงอาบน้ำละหมาดให้ทั่วถึงสมบูรณ์ และจงสรางระหว่างนิ้ว(มือและเท้า) และจงสูดน้ำเข้าจมูกลึก ๆ นอกจากเสียว่าท่านเป็นผู้ถือศีลอด" (บันทึกหะดิษโดยติรมีซีย์ หะดิษเลขที่ 718 ท่านอิตติรมีซีย์กล่าวว่า ฮะดิษนี้ฮะซันเศาะเฮียะฮฺ)
ท่านรสูลเคยใช้น้ำกลั้วปากแล้วบ้วนทิ้งและสูดน้ำเข้าจมูกแล้วสั่งออกด้วยมือซ้ายในขณะที่ท่านถือศีลอด แต่ท่านห้ามมิให้ผู้ถือศีลอดกระทำมากเกินไป
ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ได้กล่าวว่าความว่า
ความว่า "หากไม่เป็นการยากลำบากแก่ประชาชาติของฉันแล้ว ฉันจะใช้ให้พวกเขาแปรงฟันในเวลาอาบน้ำละหมาดทุกครั้ง"(บันทึกโดย : อัลบุคอรีย์ และมุสลิม)
ท่านร่อซูลมิได้เจาะจงให้แปรงฟันเฉพาะผู้ถือศีลอดเท่านั้น ในการนี้เป็นการบ่งชี้ให้แปรงฟันสำหรับผู้ถือศีลอด และผู้ที่ไม่ได้ถือศีลอดด้วยในขณะเวลาอาบน้ำละหมาดทุกครั้งและทุกเวลาละหมาด โดยที่ต้องระมัดระวังมิให้กลืนมันลงไป
การกรอกเลือด และการฉีดยาขณะถือศิลอด
รายงานจากอิบนุ อับบาส เล่าว่า
(اِحْتَجَمَ النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَهُوَ مُحْرِمٌ وَاحْتَجَمَ وَهُوَ صَائِمٌ)
ความว่า "ท่านนะบี ศ็อลลัลลอหุอะลัยหิวะซัลลัม ได้กรอกเลือดขณะที่ท่านครองเอี๊ยะฮ์รอม และท่านได้กรอกเลือด ขณะที่ท่านถือศีลอด" ( หนังสือศ่อฮีฮ์ อัลบุคอรีย์ )
รายงานจากษาบิต อัลบุนานีย์ เล่าว่า ความจริงเขาได้กล่าวแก่อะนัส อิบนุ มาลิก ว่า
(أَكُنْتُمْ تَكْرَهُوْنَ الْحِجَامَةَ لِلصَّائِمِ عَلىَ عَهْدِ النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ؟ قَالَ : لاَ إِلاَّ مِنْ اَجْلِ الضَّعْفِ)
ความว่า "พวกท่านไม่ชอบการกรอกเลือดสำหรับผู้ถือศีลอดในสมัยของท่านนะบี ศ็อลลัลลอหุอะลัยหิวะซัลลัม ใช่ไหม ? เขาตอบว่า ไม่หรอกยกเว้นอันเนื่องจากความอ่อนแอเท่านั้น" (บันทึกหะดิษโดยบุคอรี)
รายงานจากอะฏ๊ออ์ อิบนุ ยะซ๊าร เล่าว่า
(ثَلاَثٌ لاَيُفْطِرْنَ الصَّائِمَ: اَلْحِجَامَةُ وَالْقَيْءُ وَالاِحْتِلاَمُ)
ความว่า "สามประการที่ไม่ทำให้ผู้ถือศีลอดเสียศีลอด คือการกรอกเลือด การอาเจียร และการฝัน (ทางเพศ)" (บันทึกหะดิษโดยอิบนุ อะบีซัยบะ)
ฮะดีษทั้งหมดที่กล่าวมานั้น และอื่น ๆ อีกมากมายเป็นหลักฐานอย่างชัดเจนถึงการบัญญัติเกี่ยวกับการกรอกเลือด สำหรับผู้ถือศีลอด และการฉีดยาทุกประเภท ไม่ว่าจะฉีดยาด้วยสาเหตุใดก้ตาม จะฉีดกล้ามเนื้อ หรือฉีดเส้นเลือด ถือว่าอนุญาตให้กระทำได้ เพราะการฉีดยาเข้าสู่ร่างกายไม่ใช่เป็นการเข้าภายในแบบปกติ
การทาตา การหยอดตา หู จมูก และการใช้ยาพ่นขณะถือศิลอด
รายงานจาก ท่านอนัส เล่าว่า "ปรากฏว่าเขาเคยทายาตา ในขณะที่เขาถือศิลอด" (หะดิษหะซัน...บันทึกโดยอบูดาวูด หะดิษเลขที่ 2380)
การใช้สิ่งเหล่านี้ทา หยอดตา และดมยา ไม่เป็นการเสียศีลอดถึงแม้จะมีรสชาดของมันในลำคอหรือไม่มีก็ตาม นี่คือแนวคามคิดที่ชัยคุลอิสลามให้น้ำหนักมากกว่าในบทความเรื่อง "ข้อเท็จจริงของการถือศีลอด" และลูกศิษย์ของเขาคืออิบนุก็อยยิม ในหนังสือของเขา "ซาดุลมะอ๊าด" และอิหม่ามอัลบุคอรียฺในหนังสือ "ศ่อฮี้ฮฺ" ของเขา ได้กล่าวว่าอะนัส อิบนมาลิก และอัลหะซัน อัลบัศรีย์ และอิบรอฮีมอันนัคอีย์ มีความเห็นว่าการใช้สิ่งเหล่านี้ทาและหยอดตาสำหรับผู้ถือศีลอดไม่เป็นไร คือไม่เป็นการเสียศีลอด และในทำนองเดียวกัน การพ่นยารักษาโรคหอบหืดทางปาก ทัศนะของอุละมาอฺส่วนมากในปัจจุบันเห็นว่าไม่ทำให้เสียศีลอด
ชิมอาหารขณะถือศิลอด
รายงานจากอิบนฺอับบาส กล่าวว่า
"ไม่เป็นความผิดหรือไม่เป็นไรที่จะชิมรสชาติของน้ำส้มหรืออาหาร ตราบใดที่ไม่เข้าสู่ลำคอ(บ้วนทิ้ง)ในขณะถือศีลอด" (บันทึกโดย อิบนฺอะบีชัยบะฮฺ และอัลบัยฮะกีย์)
สำนวนของท่านบุคอรีย์ ท่านอิบนุ อับบาสกล่าวว่า "ไม่เป็นไรจะชิมอาหาร และ (หรือชิม) สิ่งหนึ่งเพื่อที่เขาต้องการจะซื้อ (จากนั้นก็บ้วนทิ้ง)" (หะดิษเศาะเฮียะฮฺ ..บุคอรีย์ เลขที่ 617)
ท่านอิบนุ ตัยมิยะฮฺกล่าวว่า
"การดมกลิ่นหอม หรือสูดกลิ่นหอมเข้าไป ไม่เป็นไรสำหรับผู้ถือศิลอด" ( ดูหนังหนือ "ฟิกฮุสสุนนะฮฺ" เล่ม 1 หน้า 342)
ทั้งนี้ โดยมีขอบเขตมิให้อาหารเข้าสู่ลำคอ เมื่อชิมเสร็จก็บ้วนทิ้ง และศาสนาถือว่าไม่เป็นไรสำหรับผู้ถือศิลอดเมื่อประสบกับสิ่งที่หลี่ยงไม่ได้ หรือหลีกเลี่ยงลำบาก ไม่ทำให้เสียศิลอด เช่น การกลืนน้ำลาย กลืนเสมหะเข้าไป หรือหรือการสูดดมควันอาหาร เป็นต้น
กรณีอื่นที่ไม่ทำให้เสียศิลอด
- การที่เลือดออกตามร่างกายไม่ทำให้เสียศีลอด ยกเว้นเลือดประจำเดือนเท่านั้นที่ทำให้เสียศีลอดดังนั้นสามารถถือศีลอดต่อไปได้
- การบีบสิว
- การตัดเล็บ , ตัดผม เป็นต้น