ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันให้ละศิลอด แต่ต้องถือศิลอดชดใช้


1,637 ผู้ชม

ผู้ที่ศาสนาได้ผ่อนผันไม่ต้องถือศิลอดในเดือนรอมฎอน แต่จำเป็น(วาญิบ) ที่เขาจะต้องถือศิลอดชดใช้แทนในวันอื่นๆ ...


ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันให้ละศิลอด แต่ต้องถือศิลอดชดใช้

ผู้ที่ศาสนาได้ผ่อนผันไม่ต้องถือศิลอดในเดือนรอมฎอน แต่จำเป็น(วาญิบ) ที่เขาจะต้องถือศิลอดชดใช้แทนในวันอื่นๆ พระองค์อัลลอฮฺทรงตรัสว่า

وَمَن كَانَ مَرِيضاً أَوْ عَلَى سَفَرٍ فَعِدَّةٌ مِّنْ أَيَّامٍ أُخَرَ يُرِيدُ اللّهُ بِكُمُ الْيُسْرَ وَلاَ يُرِيدُ بِكُمُ الْعُسْرَ

ความว่า "และผู้ใดป่วยหรืออยู่ในระหว่างเดินทาง ก็ให้เขาถือศีลอดใช้ในวันอื่น อัลลอฮฺทรงประสงค์ความสะดวกแก่พวกเจ้า และพระองค์ไม่ประสงค์ความลำบากแก่พวกเจ้า" (อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัล-บากอเราะฮฺ 2:185)

จากอัลกุรอาน ศาสนาได้ผ่อนผันบุคคลต่อไปนี้ไม่จำต้องถือศิลอด หากไม่มีความสามารถ แต่ต้องไปชดใช้แทนในวันอื่น กล่าวคือ

(1) ผู้ที่กำลังเดินทางไกล ศาสนาเปิดโอกาสให้ผู้เดินทางเลือกระหว่างการถือศีลอด หรือจะไม่ถือศีลอด แล้วไปชดใช้ในวันอื่นที่สามารถถือศิลอดได้แทน

นั้นหมายความว่า ผู้ใดอยู่ขณะเดินทางไกลในเดือนรอมฎอน ผู้นั้นชอบที่จะศิลอด หรือไม่ก็ได้ ซึ่งผู้ที่ถือศิลอดขณะเดินทาง หรือไม่ถือศิลอดขณะเดินทาง มิได้ถูกตำหนิแต่อย่างใด แต่มีเงื่อนไขว่าผู้ที่ไม่ได้ถือศิลอดในเดือนรอมฎอน ขณะเดินทาง ต้องถือสิลอดชดใช้ในภายหลัง และหากผูใดมีความอ่อนแอ หากละศิลอดจะเป็นการดี

จากหลักฐานหะดิษ

عن أنس قال : كنا نسافر مع النبي صلى الله عليه وسلم فلم يعب الصائم على المفطر وا المفطر على الصائم .

รายงานจากอะนัสอิบนมาลิก แจ้งว่า "ฉันได้เดินทางพร้อมกับท่านร่อซูลุลลอฮฺในเดือนรอมฎอน ผู้ถือศีลอดมิได้ตำหนิผู้ละศีลอด และผู้ละศีลอดมิได้ตำหนิผู้ถือศีลอด" ( บันทึกโดย : อัลบุคอรียฺ และมุสลิม)

จากหลักฐานหะดิษ

ฮัมซะฮฺ อิบนฺอัมร อัลอัสละมีย์ ได้ถามท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่า

"ฉันจะถือศีลอดในขณะเดินทางหรือไม่ ? เพราะเขาเป็นคนชอบถือศีลอดมาก ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ตอบแก่เขาว่า "จงถือศีลอดหากท่านประสงค์ และจงละศีลอดหากท่านประสงค์"(บันทึกโดย : อันบุคอรียฺและมุสลิม)

ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
إن الله يحب أن تؤتى رخصه كما يكره أن تؤتى معصيتة

ความว่า "แท้จริงอัลลอฮฺทรงชอบที่จะให้สิ่งที่เป็นที่อนุมัติถือปฏิบัติกัน เสมือนกับที่พระองค์ทรงชอบที่จะให้ความตั้งใจมั่นเป็นที่ปฏิบัติกัน" (บันทึกโดย : อิบนฺฮิบบาน และอัลบัซซาร)

รายงานจากอะบีสะอี๊ด อัลคุดรีย์ แจ้งว่า

"บรรดาศ่อฮาบะฮฺมีความเห็นว่า ผู้ใดพบว่าเขามีความแข็งแรงแล้วถือศีลอดก็เป็นการดี และผู้ใดพบว่าเขามีความอ่อนแอแล้วการละศีลอดก็เป็นการดี" (บันทึกโดย : อัตติรมีซีย์ และอัลบ่ะฆอวีย์)

รายงานญาบิรเล่าว่า ท่านนะบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

لَيْسَ مِنَ البِّرِّ الصِّيَامُ فِيْ السَّفَرَ ) أخرجه البخاري ومسلم عن جابر

ความว่า "ไม่เป็นความดีเลยที่จะถือศีลอดในขณะเดินทาง"(บันทึกโดย : อัลบุคอรียฺและมุสลิม)

พระองค์อัลลอฮฺทรงตรัสว่า

أُخَرَ يُرِيدُ اللّهُ بِكُمُ الْيُسْرَ وَلاَ يُرِيدُ بِكُمُ الْعُسْرَ

ความว่า "อัลลอฮฺทรงประสงค์ความสะดวกง่ายดายแก่พวกเจ้า และไม่ทรงประสงค์ความยากลำบากแก่พวกเจ้า" (อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัล-บากอเราะฮฺ 2:185)

(2) ผู้ป่วยที่มีหวังหาย อัลลอฮฺทรงอนุญาตให้คนป่วยละศีลอดได้ เป็นความเมตตาและเป็นการผ่อนผันให้แก่เขา คนป่วยที่อนุญาตให้ละศีลอดได้นั้น คือผู้ป่วยเมื่อถือศีลอดอาจทำให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต หรือทำให้การเจ็บป่วยเพิ่มขึ้น หรือกลัวว่าการฟื้นจากการป่วยจะล่าช้าไป

สำหรับผู้ที่มิได้ป่วย แต่กลัวว่าหากถือสิลอดจะทำให้ป่วย ก็ให้ละศิลอดได้ เหมือนเช่นเดียวกับกับคนป่วย อย่างผู้ที่หิวหรือกระหายจัด กลัวว่าจะเป็นอันตรายแก่ร่างกาย

อัพเดทล่าสุด