เดือนเราะมะฎอนเป็นเทศกาลแห่งการเพิ่มพูนความรู้และอีหม่าน มีการส่งเสริมให้ขยันทำ อะมัลความดี เพราะการทำความดีในเดือนนี้จะมีมรรคผลเท่าทวีคูณกว่าการกระทำ ความดีในเดือนอื่นๆอีกสิบเอ็ดเดือน ดังนั้น บรรดานักวิชาการ นักบรรยาย เคาะฏีบ ครู อาจารย์ทั้งหลายจึงมักจะหาทีเด็ดในการกระตุ้นผู้คนให้มี ความกระตือรือร้นในการทำความดี ...
30 หะดีษเฎาะอีฟและ เมาฎูอฺ เกี่ยวกับเราะมะฎอนและการถือศีลอด
الحمد لله والصلاة والسلام على رسول الله وعلى آله وصحبه وسلم ... أما بعد
เดือนเราะมะฎอนเป็นเทศกาลแห่งการเพิ่มพูนความรู้และอีหม่าน มีการส่งเสริมให้ขยันทำ อะมัลความดี เพราะการทำความดีในเดือนนี้จะมีมรรคผลเท่าทวีคูณกว่าการกระทำ ความดีในเดือนอื่นๆอีกสิบเอ็ดเดือน ดังนั้น บรรดานักวิชาการ นักบรรยาย เคาะฏีบ ครู อาจารย์ทั้งหลายจึงมักจะหาทีเด็ดในการกระตุ้นผู้คนให้มี ความกระตือรือร้นในการทำความดี จนบางครั้งเกิดชะล่าใจและลืมตรวจสอบว่าสิ่งที่ตัวเองนำ มานั้นมีความถูกต้องมากน้อยเพียงใด บ่อยครั้งที่มีการนำหะดีษเมาฎูอฺที่ไม่มีที่มา ทั้งสายรายงานและผู้ บันทึกหะดีษมาเล่าประกอบการบรรยาย ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่อันตรายมาก เพราะการแอบอ้างว่านั่น เป็นคำพูดของท่านนบีมุหัมมัด โดยที่ไม่มีหลักฐานที่หนักแน่นมายืนยันว่าท่านได้พูด เช่นนั้นจริง เท่ากับว่าเป็นการโกหกต่อท่าน
ท่านเราะสูลศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«مَنْ كَذَبَ عَلَيَّ مُتَعَمِّدًا فَلْيَتَبَوَّأْ مَقْعَدَهُ مِنَ النَّارِ»
ความว่า "บุคคลใดเจตนาโกหกต่อฉัน เขาจงเตรียมที่พำนักของ เขาในนรกเถิด" (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ)
หรืออาจเป็นหะดีษที่มี สายรายงานอ่อนมาก (เฎาะอีฟญิดดัน) ซึ่งไม่อนุญาตให้นำมายึด ปฎิบัติได้ หรือแม้แต่หะดีษที่มีสายรายงานอ่อน (เฎาะอีฟ) ก็ตาม เพราะถึงแม้ว่าจะมีนัก วิชาการกลุ่มหนึ่งกล่าวว่า สามารถนำหะดีษเฎาะอีฟมาเป็นหลักฐานประกอบในเรื่องคุณค่า การปฏิบัติคุณงามความดี (ฟะฎออิล อะอฺมาล) แต่ก็ต้องไม่ออกจากเงื่อนไขต่างๆ ดังนี้
1. ต้องไม่เป็นหะดีษที่อ่อนมาก (เฎาะอีฟญิดดัน) ซึ่งหากเป็นหะดีษที่เฎาะ อีฟมาก ก็จะไม่อนุญาตให้ นำมาเป็นหลักฐานอ้างอิงเพื่อยึดปฏิบัติ
2. หะดิษเฎาะอีฟที่นำมาอ้าง อิงในเรื่องของคุณงามความดีต้องอยู่ภายใต้พื้นฐานโดยรวมของหลักการศาสนา ดังนั้น จะไม่สามารถนำมาปฏิบัติ ได้กับหะดิษที่อยู่นอกเหนือสิ่งดังกล่าว
3. ในยามที่ปฏิบัติตามหะดี ษดังกล่าว ต้องไม่ปักใจเชื่อว่าสิ่งนั้นมาจากท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัล ลัม เพื่อที่จะไม่เป็น การพาดพิงไปยังท่านนะบียฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมในสิ่งที่ท่านไม่ได้กล่าวไว้
ส่วนการรายงานหรือกล่าวถึงหะดีษเฏาะอีฟ (ที่ไม่ใช่เฎาะอีฟญิดดัน หรือเมาฎูอฺ) ถึงแม้ว่ามีนักวิชาการ บางกลุ่มอนุญาตให้กล่าวถึงโดยไม่จำต้องอ้างสายรายงานหากเป็นเรื่องเกี่ยวกับ คุณค่าของการปฏิบัติคุณความดี แต่อย่างน้อยผู้ที่กล่าวถึงก็น่าจะทราบบ้างว่าเป็นหะดี ษเฎาะอีฟ เพราะเวลาจะกล่าวถึงควรใช้สำนวนที่ไม่ชัดเจน เช่น มีรายงานถึงท่านนะบียฺ หรือ มีหะดีษกล่าวว่า ไม่ใช่สำนวนชัดเจนเช่น ท่านนะบียฺกล่าวว่าอย่างนั้นอย่างนี้ เป็นต้น
ด้วยเหตุผลข้างต้น ผู้ขียนจึงพยายามรวบรวมหะดีษที่เข้าข่าย เมาฎูอฺ เฎาะอีฟญิดดัน หรือ เฎาะอีฟเพียงบางส่วน เพื่อเตือนจิตสำนึกท่าน ทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อผู้เขียนเอง
สุดท้ายนี้ผู้เขียนขออิสติฆฺฟารฺต่ออัลลอฮฺและขออภัยต่อ ท่านผู้อ่านทั้งหลายหากข้อผิดผลาดใดๆปรากฎบนเอกสารเล็กๆเล่มนี้และขอน้อมรับ ข้อติ และข้อแก้ไขจาก ท่านทุกคน
وصلى الله على نبينا محمد، وعلى آله وصحبه أجمعين،
وأن الحمد لله رب العالمين
ดานียาล เจ๊ะสนิ ผู้เขียน
หะดีษที่ 1
«اَللَّهُمَّ بَارِكْ لَنَا فِي رَجَبَ وَشَعْبَانَ وَبَلِّغْنَا رَمَضَانَ»
ความหมายของหะดีษ
"โอ้อัลลอฮฺ โปรด ประทานความสิริมงคลต่อพวกเราในเดือนเราะญับ ตลอดจนเดือน ชะอฺบาน และโปรดให้พวกเรามีชีวิตทัน (ได้รับความ สิริมงคลใน) เดือนเราะมะฎอนด้วยเถิด"
สถานะของหะดีษ
เป็นหะดีษที่มีสายรายงานอ่อน (เฎาะอีฟ)
แหล่งอ้างอิง เฎาะอีฟ อัลญามิอฺ : 4395
หะดีษที่ 2
«كَانَ يُعَلِّمُنَا هَؤُلاَءِ الْكَلِمَاتِ إِذَا جَاءَ رَمَضَانُ أَنْ يَقُوْلَ: أَحَدُنَا: اَللَّهُمَّ سَلِّمْنِي مِنْ رَمَضَانَ وَسَلِّمْ رَمَضَانَ لِي وَتُسَلِّمُهُ مَنِّي مُتَقَبَّلاً»
ความหมายของหะดีษ
"เมื่อย่างเข้าเดือนเราะมะฎอน ท่านนะบีได้สอนพวกเรา ด้วยคำต่างๆเหล่านี้ โดยให้คนหนึ่งในพวกเรากล่าวว่าโอ้อัลลอฮฺ ขอจงมอบสิ่งดีๆจากเราะมะ ฎอนให้แก่ฉัน และขอจงมอบเราะมะฎอนให้กับฉัน แล้วขอจงรับมอบเราะมะฎอน จากฉันในสภาพที่ถูกตอบรับอย่างสมบูรณ์"
สถานะของหะดีษ
เป็นหะดีษที่มีสายรายงานเดี่ยว (เฆาะรีบ)
แหล่งอ้างอิง สิยัรฺอะอฺลาม อันนุบะลาอ์ : 51/19
หะดีษที่ 3
«خَطَبَنَا رَسُوْلُ اللهِ × فِي آخِرِ يَوْمٍ مِنْ شَعْبَانَ، فَقَالَ: يَا أَيُّهَا النَّاسِ قَدْ أَظَلَّكُمْ شَهْرٌ عَظِيْمٌ مُبَارَكٌ، شَهْرٌ فِيْهِ لَيْلَةٌ خَيْرٌ مِنْ أَلْفِ شَهْرٍ، جَعَلَ اللهُ تَعَالَى صِيَامَهُ فَرِيْضَةً، وَقِيَامَ لَيْلِهِ تَطَوُّعاً، مَنْ تَقَرَّبَ فِيْهِ بِخَصْلَةٍ مِنَ الخَيْرِ كَانَ كَمَنْ أَدَّى فَرِيْضَةً فِيْمَا سِوَاهُ، وَمَنْ أَدَّى فَرِيْضَةً فِيْهِ كَانَ كَمَنْ أَدَّى سَبْعِيْنَ فَرِيْضَةً فِيْمَا سِوَاهُ... الخ»
ความหมายของหะดีษ
"ท่านเราะสูลุ ลลอฮฺได้บรรยายให้พวกเราฟังในวันสุดท้ายของเดือนชะอฺบานเดือนหนึ่ง ว่า โอ้ มนุษย์ ทั้งหลาย แท้จริงพวกท่านกำลังจะเข้าสู่ เดือนอันยิ่งใหญ่ เดือนที่เป็นสิริมงคล เดือน ที่มีคืนหนึ่งในนั้นซึ่งดีกว่าหนึ่งพันเดือน อัลลอฮฺได้ กำหนดให้การศีลอดในเดือนนี้เป็นข้อบังคับ และการละหมาด(กิ ยาม)ใน ช่วงคืนของเดือนนี้เป็นสิ่งส่งเสริม ผู้ใดที่ กระทำการบางอย่างด้วยสิ่งบ่งบอกว่าเป็นความดีในเดือนนี้ จะ ได้รับผลบุญเสมือนเป็นผู้ปฏิบัติตามข้อบังคับ(วา ญิบ)ใน เดือนอื่นๆ และผู้ใดที่ปฏิบัติตามข้อบังคับเดียวในเดือนนี้ จะ ได้รับผลบุญเสมือนเป็นผู้ปฏิบัติตามข้อบังคับเจ็ดสิบข้อบังคับในเดือนอื่นๆ..."
สถานะของหะดีษ
เป็นหะดีษที่มุงกัรฺ
แหล่งอ้างอิง อัลสิลสิละฮฺ อัฎเฎาะอีฟะฮฺ: 871/2
หะดีษที่ 4
«خَمْسٌ يُفَطِّرْنَ الصَّائِمَ، وَيَنْقُضْنَ الْوُضُوْءَ: الْكَذِبُ، وَالنَّمِيْمَةُ، وَالْغِيْبَةُ، وَالنَّظَرُ بِشَهْوَةٍ، وَالْيَمِيْنُ الْكَاذِبَةُ»
ความหมายของหะดีษ
"ห้าอย่างที่ทำให้การถือ ศีลอด และวุฎูอฺเป็นโมฆะ คือการพูดเท็จ การกล่าวว่าร้าย การนินทา การมองด้วยตัณหา และการสาบานในสิ่งที่รู้ ตัวว่าเป็นเท็จ"
สถานของหะดีษ
เป็นหะดีษที่มีสายรายงานอ่อน (เฎาะอีฟ)
แหล่งอ้างอิง เฎาะอีฟ อัลญามิอฺ: 6096
หะดีษที่ 5
«كَانَ إِذَا دَخَلَ رَمَضَانَ شَدَّ مِئْزَرَهُ ، ثُمَّ لَمْ يَأْتِ فِرَاشَهُ حَتَّى يَنْسَلِخَ»
ความหมายของหะดีษ
"เมื่อเข้าช่วงเดือนเราะ มะฎอน ท่านเราะสูลุ ลลอฮฺศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมจะสวมรัดผ้าช่วงล่างของท่านด้วยการปิดมัด อย่างแน่น บ่งบอกถึงการลดความถี่ของการนอนกับภรรยาและเตรียมพร้อมที่จะให้ ความจริงจังและความพยายามในการทำอิบาดะฮฺ หลังจากนั้นท่านจะไม่ลุก ไปสู่ที่นอนของท่านจนกว่าผ้าดังกล่าวจะเปิด"
สถานะของหะดีษ
เป็นหะดีษที่มีสายรายงานอ่อน (เฎาะอีฟ)
แหล่งอ้างอิง เฎาะอีฟ อัลญามิอฺ : 4398
หะดีษที่ 6
«لَوْ يَعْلَمُ الْعِبَادُ مَا فِي رَمَضَانَ لَتَمَنَّتْ أُمَّتِي أَنْ تَكُوْنَ السَّنَةُ كُلُّهَا رَمَضَانَ، إِنَّ الْجَنَّةَ لَتُزَيِّنُ لِرَمَضَانَ مِنْ رَأْسِ الـْحَوْلِ إِلَى الْـحَوْلِ ... » والحديث طويل
ความหมายของหะดีษ
"หากว่า บ่าวของอัลลอฮฺทั้งหลายได้รู้ในสิ่งต่างๆที่มีอยู่ในเดือนเราะมะฎอน แน่ นอนเหลือเกินว่าประชาชาติของฉันย่อมคาดหวังให้ปีทั้งปีเป็นเดือนเราะมะฎอน แท้ จริงสวนสวรรค์นั้นจะถูกประดับประดาเพื่อเตรียมรับเราะมะฎอนตั้งแต่ต้นปีจน ถึงปีถัดไป ..." จนจบหะดีษซึ่งมีความยาวมาก"
สถานะของหะดีษ
เป็นหะดีษที่ มุงกัรฺ
แหล่งอ้างอิง อัลสิลสิละฮฺ อัฎเฎาะอีฟะฮฺ : 1325/3
หะดีษที่ 7
«لاَ تَزَالُ أُمَّتِي بِخَيْرٍ مَا أَخَّرُوْا السَّحُوْرَ وَعَجَّلُوْا الْفِطْرَ»
ความหมายของหะดีษ
"ประชาชาติของฉันยังคง อยู่อย่างประเสริฐ ตราบใดที่ยังคงเริ่มเวลาการรับประทานอาหารก่อนถือศีลอด (สุหูรฺ) ไปในเวลาช่วงท้ายๆ และรีบรับประทานอาหารละศีลอด (ฟุฏูรฺ) ในเวลาช่วงแรก"
สถานะของหะดีษ
เป็นหะดีษที่มีสายรายงานอ่อน (เฎาะอีฟ)
แหล่งอ้างอิง เฎาะอีฟ อัลญามิอฺ: 6212
หะดีษที่ 8
«أَوَّلُ شَهْرِ رَمَضَانَ رَحْمَةٌ، وَأَوْسَطُهُ مَغْفِرَةٌ، وَآخِرُهُ عِتْقٌ مِنَ النَّارِ»
ความหมายของหะดีษ
"ช่วงแรกของเดือนเราะมะ ฎอนเป็นช่วงแห่งการรับความเมตตาปรานี ส่วนช่วงที่สองเป็นช่วงแห่งการรับการอภัยโทษ และช่วงที่สามเป็นช่วง แห่งการเป็นไทจากไฟนรก"
สถานะของหะดีษ
เป็นหะดีษที่มีสายรายงานอ่อน (เฎาะอีฟ)
แหล่งอ้างอิง เฎาะอีฟ อัลญามิอฺ : 2135
หะดีษที่ 9
«إِنَّ لِلصَّائِمِ عِنْدَ فِطْرِهِ دَعْوَةً لاَ تُرَدُّ»
ความหมายของหะดีษ
"แท้จริงสำหรับผู้ที่ถือ ศีลอด ในขณะที่เขากำลัง จะละศีลอดอยู่นั้น เป็นช่วงเวลาที่ดุอาของเขาจะไม่ถูกปฏิเสธจากอัลลอฮฺ"
สถานะของหะดีษ
เป็นหะดีษที่มีสายรายงานอ่อน (เฎาะอีฟ)
แหล่งอ้างอิง เฎาะอีฟ อัลญามิอฺ : 1965
หะดีษที่ 10
«كَانَ إِذَا أَفْطَرَ قَالَ: اَللَّهُمَّ لَكَ صُمْتُ وَعَلَى رِزْقِكَ أَفْطَرْتُ، فَتَقَبَّلْ مِنِّي، إِنَّكَ أَنْتَ السَّمِيْعُ الْعَلِيْمُ»
ความหมายของหะดีษ
"เมื่อท่านเราะสุลลุลลอฮฺ ละศีลอดท่านจะกล่าวว่า "โอ้อัลลอฮฺ แท้จริงฉันถือศีลอดเพื่อ พระองค์ และฉันละศีลอดด้วยปัจจัยจากพระองค์ ขอจงตอบรับอิบาดะฮฺจาก ฉัน แท้จริงพระองค์คือ ผู้ทรงได้ยินและรู้ยิ่ง"
สถานะของหะดีษ
เป็นหะดีษที่มีสายรายงานอ่อน(เฎาะอีฟ)
แหล่งอ้างอิง เฎาะอีฟ อัลญามิอฺ : 4350
หะดีษที่ 11
«إِنَّ اللهَ تَبَارَكَ وَتَعَالَى لَيْسَ بِتَارِكٍ أَحَداً مِنَ المُسْلِمِيْنَ صَبِيْحَةَ أَوَّلِ يَوْمٍ مِنْ شَهْرِ رَمَضَانَ إِلاَّ غَفَرَ لَهُ»
ความหมายของหะดีษ
"แท้จริงอัลลอฮฺ ตะบาเราะกะวะตะอาลา จะไม่ปล่อยให้คนใดคน หนึ่งในหมู่ชนมุสลิม ใช้ชีวิตผ่านไปจากช่วงเช้าของวันแรกในเดือนเราะมะฎอน นอกจากเขาจะได้รับการ อภัยโทษจากอัลลอฮฺ"
สถานภาพหะดีษ
เป็นหะดีษที่ถูกอุปโลกน์ขึ้นมา(เมาฎูอฺ)
แหล่งอ้างอิง อัลสิลสิละฮฺ อัฎเฎาะอีฟะฮฺ: 296/1
หะดีษที่ 12
«سئل النبي عليه الصلاة والسلام عن فضائل التراويح فى شهر رمضان فقال:يخرج المؤمن ذنبه في أول ليلة كيوم ولدته أمه، وفى الليلة الثانية يغفر له وللأبوية إن كانا مؤمنين، وفى الليلة الثالثة ينادى ملك من تحت العرش؛ استأنف العمل غفر الله ما تقدم من ذنبك، وفى الليلة الرابعة له من الأجر مثل قراءة التوراة والإنجيل والفرقان، وفى الليلة الخامسة أعطاه الله تعالى مثل من صلى في المسجد الحرام ومسجد المدينة والمسجد الأقصى، وفى الليلة السادسة أعطاه الله تعالى ثواب من طاف بالبيت المعمور ويستغفر له كل حجر ومدر، وفى الليلة السابعة فكأنما أدرك موسى عليه السلام ونصره على فرعون وهامان، وفى الليلة الثامنة أعطاه الله تعالى ما أعطى إبراهيم عليه السلام، وفى الليلة التاسعة فكأنما عبد الله تعالى عبادة النبي عليه الصلاة والسلام، وفى الليلة العاشرة يرزقه الله تعالى خير الدنيا والآخرة، وفى الليلة الحادية عشر يخرج من الدنيا كيوم ولد من بطن أمه، وفى الليلة الثانية عشر جاء يوم القيامة ووجهه كالقمر ليلة البدر، وفى الليلة الثالثة عشر جاء يوم القيامة آمنا من كل سوء، وفى الليلة الرابعة عشر جاءت الملائكة يشهدون له أنه قد صلى التراويح فلا يحاسبه الله يوم القيامة، وفى الليلة الخامسة عشر تصلى عليه الملائكة وحملة العرش والكرسي، وفى الليلة السادسة عشر كتب الله له براءة النجاة من النار وبراءة الدخول في الجنة، وفى الليلة السابعة عشر يعطى مثل ثواب الأنبياء، وفى الليلة الثامنة عشر نادى الملك يا عبد الله أن رضي عنك وعن والديك، وفى الليلة التاسعة عشر يرفع الله درجاته في الفردوس، وفى الليلة العشرين يعطى ثواب الشهداء والصالحين، وفى الليلة الحادية والعشرين بنى الله له بيتا في الجنة من النور، وفى الليلة الثانية والعشرين جاء يوم القيامة آمنا من كل غم وهم، وفى الليلة الثالثة والعشرين بنى الله له مدينة في الجنة، وفى الليلة الرابعة والعشرين كان له أربعة وعشرون دعوة مستجابة، وفى الليلة الخامسة والعشرين يرفع الله تعالى عنه عذاب القبر، وفى الليلة السادسة والعشرين يرفع الله له ثوابه أربعين عاما، وفى الليلة السابعة والعشرين جاز يوم القيامة على الصراط كالبرق الخاطف، وفى الليلة الثامنة والعشرين يرفع الله له ألف درجة في الجنة، وفى الليلة التاسعة والعشرين أعطاه الله ثواب ألف حجة مقبولة، وفى الليلة الثلاثين يقول الله: يا عبدي كل من ثمار الجنة واغتسل من مياه السلسبيل واشرب من الكوثر أنا ربك وأنت عبدي»
ความหมายของหะดีษ
"ได้ มีการถามท่านนะบียฺเกี่ยวกับความประเสริฐของการละหมาดตะรอวัยหฺในเดือน แล้ว ท่านนะบียฺก็กล่าวว่า
มุอฺมิน ผู้ ออกละหมาดตะรอวัยหฺในคืนแรกจะพ้นจากบาปของเขาทั้งปวงเสมือนกับวันที่เขาถูก คลอดจากท้องมารดาและในคืนที่สอง อัลลอฮฺจะให้ อภัยโทษแก่เขาและบิดาของเขาหากเขาทั้งสองเป็นผู้ที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ
และในคืนที่ สาม มลา อิกะฮฺจะประกาศต่อผู้อยู่ใต้อะรัชว่าเจ้าจงเริ่มทำความดีต่อไปเถิดเพราะความ ชั่วทั้งหลายถูกลบล้างออกไปหมดแล้ว และในคืนที่ สี่ เขาจะได้รับผลบุญเท่ากับคนที่อ่านคัมภีร์เตารอต อิน ญีล และ อัลกุรฺอานและในคืนที่ห้าได้รับผลบุญเท่ากับผู้ที่ได้ไปละหมาดทีมัสญิด หะรอม มัสญิดนะบะวีย์ มัส ญิดอัลอักศอและในคืน ที่หก ได้ รับผลบุญเท่ากับผู้ที่ไปทำเฏาะวาฟ ณ บัล ตุลมะอฺมูรฺ บรรดาหินและวัตถุทั้งหมดในโลกนี้จะขอ อภัยโทษให้แก่เขา และในคืนที่เจ็ด เขา จะได้ผลบุญเสมือนว่าเขาได้เกิดทันในสมัยที่ท่านนะบียฺมูสาและได้ช่วยเหลือ ท่านในการต่อสู้กับฟิรอูนและฮามานและในคืนที่แปด จะ ได้รับผลบุญเหมือนกับผลบุญที่อัลลอฮฺได้ประทานแก่นะบียฺอิบรอฮีมและในคืนที่ เก้า ผลบุญที่ได้รับจะเท่ากับผลบุญการอิบาดะฮฺของนะบียฺมุหัมมัด ศ็อลลัล ลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และในคืนที่สิบ อัล ลอฮฺจะบันดาลให้เขาพบแต่ความดีงามทั้งโลกนี้และโลกหน้า และ ในคืนที่ที่สิบเอ็ด หากพวกเขาสิ้นชีวิตในคืนนี้ เขา ก็เหมือนกับทารกที่ถูกคลอดใหม่ๆในคืนที่สิบสองเขาจะเกิดมาในวันกิยามะฮฺด้วย ใบหน้าที่ดุจดั่งดวงจันทร์เต็มดวง และในคืนที่ สิบสาม เขาจะปรากฏในวันกิยามะฮฺอย่างผู้บริสุทธิ์ ปลอด จากความชั่วร้ายทั้งปวง และในคืนที่สิบสี่ ใน วันกิยามะฮฺบรรดามลาอิกะฮฺจะร่วมกันยืนเคียงข้างเขาเป็นพยานว่าเขาได้ละหมาด ตะรอวัยหฺแล้ว แล้วเขาก็จะไม่ถูกสอบสวนอีกต่อ ไปในวันนั้น และในคืนที่สิบห้าบรรดามลาอิกะฮฺไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ทำหน้าที่แบกอะ รัชและกุรสียฺต่างจะอวยพรให้แก่เขาและในคืนที่สิบหก เขา จะถูกบันทึกว่าเป็นผู้ปลอดภัยจากนรกและในคืนที่สิบเจ็ด เขา จะได้ผลบุญเท่ากับผลบุญบรรดานบีรวมกันและในคืนที่สิบแปด มลา อิกะฮฺจะประกาศชื่อของเขาว่า แน่แท้พระ องค์อัลลอฮฺจะให้อภัยโทษในตัวเขาและบิดามารดาของเขา และ ในคืนที่สิบเก้า อัลลอฮฺจะยกฐานะของเขาอย่างสูง ส่งในชั้นฟิรเดาสฺ และในคืนที่ยี่สิบ เขา จะได้รับผลบุญเท่ากับผลบุญของบรรดาผู้ที่ตายชะฮีดและกัลยาณชน และ ในคืนที่ยี่สิบเอ็ด อัลลอฮฺจะสร้างบ้านหลังหนึ่ง ด้วยรัศมีให้แก่เขา และในคืนที่ยี่สิบสอง เขา จะปรากฏตัวในวันกิยามะฮฺโดยปราศจากความโสกเศร้าและความทุกข์ และ ในคืนที่ยี่สิบสาม อัลลอฮฺได้เตรียมเมืองไว้เมือง หนึ่งให้เขาครอบครอง และในคืนที่ยี่สิบสี่ อัล ลอฮฺจะเปิดโอกาส ให้แก่เขา โดย ตอบรับดุอาอฺจากเขายี่สิบสี่ประการ และในคืนที่ ยี่สิบห้า อัลลอฮฺจะยกโทษการโทรมานในกุบูรฺ ให้แก่เขา และ ในคืนที่ยี่สิบหก อัลลอฮฺจะเพิ่มพูนผลบุญให้แก่ เขาเท่ากับทำอิบาดะฮฺสี่สิบปี และในคืนที่ ยี่สิบเจ็ด เขาจะเดินผ่านสะพานศิรอฏ็อลมุสตะกีมดุจฟ้าแลบในพริบตา และ ในคืนที่ยี่สิบแปด อัลลอฮฺจะยกฐานะให้เขาหนึ่งพัน ชั้นในสวรรค์ และในคืนที่ยี่สิบเก้า อัลลอฮฺจะ ประทานผลบุญให้เท่ากับผลบุญการประกอบพิธีหัจญ์หนึ่งพันครั้ง และ ในคืนที่สามสิบ อัลลอฮฺจะกล่าวว่า "โอ้ บ่าวของฉันจงมารับประทานผลไม้ในสวรรค์และจงอาบน้ำสัลสะบีล จง ดื่มน้ำอัลเกาษัร ซึ่งเราเป็นเจ้าของเจ้า เจ้า เป็นบ่าวของเรา"
สถานะของหะดีษ
เป็นหะดีษที่ถูกอุปโลกน์ขึ้นมา (เมาฎูอฺ) ไม่มีสายรายงานมารับรอง
แหล่งอ้างอิง ฟัตวา อัลลัจญฺนะฮฺ อัดดาอิมะฮฺ : 10/151
หะดีษที่ 13
«صَائِمُ رَمَضَانَ فِي السَّفَرِ كَالمُفْطِرِ فِي الحَضَرِ»
ความหมายของหะดีษ
"สำหรับผู้ที่ถือศีลอดใน เดือนเราะมะฎอน ขณะที่อยู่ในช่วงเดินทางนั้น เปรียบเสมือนผู้ที่ไม่ ได้ถือศีลอดในช่วงที่อยู่กับบ้าน"
สถานะของหะดีษ
เป็นหะดีษที่มีสายรายงานอ่อน (เฎาะอีฟ)
แหล่งอ้างอิง เฎาะอีฟ อัลญามิอฺ : 3456
หะดีษที่ 14
«انْبَسِطُوْا فِي النَّفَقَةِ فِي شَهْرِ رَمَضَانَ، فَإِنَّ النَّفَقَةَ فِيْهِ كَالنَّفَقَةِ فِي سَبِيْلِ اللهِ»
ความหมายของหะดีษ
"ท่านทั้งหลายจงใจกว้างใน การจับจ่ายนะฟะเกาะฮฺในเดือนเราะมะฎอน เพราะการจับจ่ายนะฟะเกาะฮฺในเดือนนี้เท่ากับว่าการใช้ จ่ายในหนทางของอัลลอฮฺ"
สถานะของหะดีษ
เป็นหะดีษที่มีสายรายงานอ่อน (เฎาะอีฟ)
แหล่งอ้างอิง เฎาะอีฟ อัลญามิอฺ : 1324
หะดีษที่ 15
«نَوْمُ الصَّائِمِ عِبَادَةٌ، وَصَمْتُهُ تَسْبِيْحٌ، وَعَمَلُهُ مُضَاعَفٌ، وَدُعَاؤُهُ مُسْتَجَابٌ، وَذَنْبُهُ مَغْفُوْرٌ»
ความหมายของหะดีษ
"การ นอนหลับของผู้ที่ถือศีลอดอยู่นั้นถือเป็นการทำอิบาดะฮฺ การ เงียบของเขาจะเป็นการตัสบีหฺ การทำอิบาดะ ฮฺของเขาจะเป็นสิ่งทวีคูณ ดุอาของเขาจะ ได้รับการตอบรับ และบาปของเขาจะรับการอภัยโทษ"
สถานะของหะดีษ
เป็นหะดีษที่มีสายรายงานอ่อน(เฎาะอีฟ)
แหล่งอ้างอิง เฎาะอีฟ อัลญามิอฺ : 5972
หะดีษที่ 16
«مَنْ أَدْرَكَ رَمَضَانَ وَعَلَيْهِ مِنْ رَمَضَانَ شَيْءٌ لَمْ يَقْضِهِ، فَإِنَّهُ لاَ يُقْبَلُ مِنْهُ حَتَّى يَصُوْمَهُ»
ความหมายของหะดีษ
"ผู้ใดที่ทันมีชีวิตใน เดือนเราะมะฎอนเดือนใหม่ ทั้งๆที่เขายังมีศีลอดของเดือนเราะมะฎอนเก่าที่เขายัง ไม่ได้ชดอีก การถือศีลอดของในเดือนใหม่ของเขาจะไม่ถูกตอบรับจนกว่าเขาจะถือ ศีลอดชดของเก่าก่อน"
สถานะของหะดีษ
เป็นหะดีษที่มีสายรายงานอ่อน (เฎาะอีฟ)
แหล่งอ้างอิง เฎาะอีฟ อัลญามิอฺ : 5376
หะดีษที่ 17
«مَنْ أَفْطَرَ يَوْماً مِنْ رَمَضَانَ مِنْ غَيْرِ رُخْصَةٍ، وَلاَ مَرَضٍ، لَمْ يَقْضِ عَنْهُ صَوْمُ الدَّهْرِ كُلِّهُ وَإِنْ صَامَهُ»
ความหมายของหะดีษ
"ผู้ที่ไม่ถือศีลอดเพียง วันเดียวในเดือนเราะมะฎอน โดยไม่มีข้อผ่อนปรนใดๆและไม่ได้ป่วย ไม่สามารถที่จะชดวัน เดียวที่ขาดนั้นได้ด้วยการถือศีลอดตลอดทั้งปีหาก ถึงแม้ว่าเขาจะถือศีลอด ตลอดทั้งปีก็ตาม"
สถานะของหะดีษเป็นหะดีษที่มีสายรายงานอ่อน (เฎาะอีฟ)
แหล่งอ้างอิง เฎาะอีฟ อัลญามิอฺ : 5462
หะดีษที่ 18
«مَنْ اعْتَكَفَ عَشْرًا فِي رَمَضَانَ كَانَ كَحَجَّتَيْنِ وَعُمْرَتَيْنِ»
ความหมายของหะดีษ
"ผู้ใดที่อยู่ในมัสญิด(อิอฺติกาฟ)ได้สิบวันในเดือนเราะมะ ฎอนเปรียบเสมือนเขาได้ทำหัจญ์สองครั้งและทำอุมเราะฮฺสองครั้ง"
สถานะของหะดีษ
เป็นหะดีษที่ถูกอุปโลกน์ขึ้นมา (เมาฎูอฺ)
แหล่งอ้างอิง เฎาะอีฟ อัลญามิอฺ : 5451
หะดีษที่ 19
«كَانَ يُصَلِّي فِي شَهْرِ رَمَضَانَ فِي غَيْرِ جَمَاعَةٍ بِعِشْرِيْنَ رَكْعَةً وَالْوِتْرِ»
ความหมายของหะดีษ
"ท่านเราะสูลุลลอฮฺเคย ละหมาดในเดือนเราะมะฎอนยี่สิบร็อกอะฮฺและละหมาดวิติรฺ โดยไม่ได้ทำเป็นญะมาอะฮฺ"
สถานะของหะดีษ
เป็นหะดีษที่ถูกอุปโลกน์ขึ้นมา (เมาฎูอฺ)
แหล่งอ้างอิง อัลสิลสิละฮฺ อัฎเฎาะอีฟะฮฺ: 560
หะดีษที่ 20
«الصَّائِمُ بَعْدَ رَمَضَانَ كَالْكَارِّ بَعْدَ الْفَارِّ »
ความหมายของหะดีษ
"ผู้ที่ถือศีลอดหลังจาก เดือนเราะมะฎอน (มีผลบุญ) เสมือนกับผู้ที่ได้หวน กลับคืนสู่สมรภูมิสงครามหลังจากที่ได้พ่ายหนี"
สถานะของหะดีษ
เป็นหะดีษที่มีสายรายงานอ่อนมาก (เฎาะอีฟ ญิดดัน)
แหล่งอ้างอิง เฎาะอีฟ อัลญามิอฺ : 3527
หะดีษที่ 22
«شَهْرُ رَمَضَانَ مُعَلَّقٌ بَيْنَ السَّمَاءِ وَالأَرْضِ ، وَلاَ يُرْفَعُ إِلَى اللهِ إِلاَّ بِزَكَاةِ الْفِطْرِ»
ความหมายของหะดีษ
"ผลบุญของเดือนเราะมะฎอน จะถูกแขวนอยู่ระหว่างฟ้ากับดิน จะไม่ถูกเสนอขึ้นยังอัลลอฮฺ นอกจากจะถูกเสนอไปพร้อม ด้วยซะกาตฟิตเราะฮฺ"
สถานะของหะดีษ
เป็นหะดีษที่มีสายรายงานอ่อน (เฎาะอีฟ)
แหล่งอ้างอิง เฎาะอีฟ อัลญามิอฺ: 3413
หะดีษที่ 23
«فَضْلُ الجُمُعَةِ فِي رَمَضَانَ كَفَضْلِ رَمَضَانَ عَلَى الشُّهُوْرِ»
ความหมายของหะดีษ
"ความประเสริฐของวันศุกร์ ในเดือนเราะมะฎอนเหมือนความประเสริฐของเดือนเราะมะฎอนเหนือเดือนอื่นๆ"
สถานะของหะดีษ
เป็นหะดีษที่ถูกอุปโลกน์ขึ้นมา (เมาฎูอฺ)
แหล่งอ้างอิง เฎาะอีฟ อัลญามิอฺ : 3962
หะดีษที่ 24
«مَنْ قَامَ رَمَضَانَ إِيْمَاناً وَاحْتِسَاباً خَرَجَ مِنْ ذُنُوْبِهِ كَيَوْمِ وَلَدَتْهُ أُمُّهُ»
ความหมายของหะดีษ
"ผู้ใดที่ละหมาดกิยามใน เดือนเราะมะฎอน ด้วยใจที่อิมานและมุ่งหวังผลบุญจากอัลลอฮฺ เขาจะออกมาด้วยสภาพที่ ปราศจากบาปทั้งปวงเสมือนว่าเขาเพิ่งคลอดออกมาจากท้องแม่ของเขา"
สถานะของหะดีษ
เป็นหะดีษที่มุงกัรฺ
แหล่งอ้างอิง เฎาะอีฟ อัตตัรฺฆีบ : 602
หะดีษที่ 25
«مَنْ صَامَ رَمَضَانَ إِيْمَانًا وَاحْتِسَابًا غُفِرَ لَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ وَمَا تَأَخَّرَ»
ความหมายของหะดีษ
"ผู้ใดที่ละหมาดกิยามใน เดือนเราะมะฎอน ด้วยใจที่อิมานและมุ่งหวังผลบุญจากอัลลอฮฺ เขาจะได้รับการอภัยโทษ จากบาปของเขาทั้งที่ผ่านมาและที่จะมาถึง"
สถานะของหะดีษ
เป็นหะดีษที่แปลกแยก (ชาซฺ) หากมีเพิ่มคำว่า (وَمَا تَأَخَّرَ)
แหล่งอ้างอิง เศาะหีหฺ อัลญามิอฺ : 6325
หะดีษที่ 26
«لاَ تَقُوْلُوْا رَمَضَانَ، فَإِنَّ رَمَضَانَ اسْمٌ مِنْ أَسْمَاءِ اللهِ تَعَالَى، وَلَكِنْ قُوْلُوْا: شَهْرُ رَمَضَانَ»
ความหมายของหะดีษ
"ท่านทั้งหลายอย่าได้ กล่าวเรียกชื่อเดือนว่าเราะมะฎอนโดดๆ เพราะเราะมะฎอนเป็นชื่อหนึ่งของอัลลอฮฺ แต่ทว่า ท่านทั้งหลายจงกล่าวว่า เดือนเราะมะฎอน"
สถานะของหะดีษ
เป็นหะดีษที่ถูกอุปโลกน์ขึ้นมา (เมาฎูอฺ)
แหล่งอ้างอิง อัลเมาฎูอาต :1118
หะดีษที่ 27
«نَهَى عَنْ صَوْمِ عَرَفَةَ بِعَرَفَةَ»
ความหมายของหะดีษ
"ท่านนะบีได้ห้ามการถือ ศีลอดอะเราะฟะฮฺที่ทุ่งอะเราะฟะฮฺ"
สถานะของหะดีษ
เป็นหะดีษที่มีสายรายงานอ่อน (เฎาะอีฟ)
แหล่งอ้างอิง เฎาะอีฟ อัลญามิอฺ: 6069
หะดีษที่ 28
«يَوْمُ صَوْمِكُمْ يَوْمُ نَحْرِكُمْ»
ความหมายของหะดีษ
"วัน ที่พวกท่านเริ่มถือศีลอดนั่นหละคือวันที่พวกท่านจะทำกุรบาน"
สถานะของหะดีษ
เป็นหะดีษที่ไม่มีแหล่งที่มา (ลา อัศละ ละฮุ)
แหล่งอ้างอิง มะญัลละฮฺ อัลมุสลิมูน : 490-491/6
หะดีษที่ 29
«صُوْمُوْا تَصِحُّوْا»
ความหมายของหะดีษ
"ท่านทั้งหลายจงถือศีลอด เถิด แล้วท่านจะมี สุขภาพดี"
สถานะของหะดีษ
เป็นหะดีษที่มีสายรายงานอ่อน (เฎาะอีฟ)
แหล่งอ้างอิง เฎาะอีฟ อัลญามิอฺ : 3504
หะดีษที่ 30
«خِصَاءُ أُمَّتِي الصِّيَامُ وَالْقِيَامُ»
ความหมายของหะดีษ
"การทำหมันของประชาชาติ ฉันคือการถือศีลอดและการละหมาดกิยาม (กลางคืน)"
สถานะของหะดีษ
เป็นหะดีษที่ มีสายรายงานอ่อน(เฎาะอีฟ) หาก เพิ่มคำว่า (والقيام )
แหล่งอ้างอิง เฎาะอีฟ อัลญามิอฺ : 2827