เพื่อให้เข้าใจถึงความทุกข์ยาก ลำบากกายใจ เพื่อจะได้ฝึกความอดทน อดกลั้นต่อกิเลสยั่วยุ ทั้งหลายทั้งปวง และจะยอมตนทำตามคำสั่งของอัลลอฮฺ ...
ศีลอดเราะมะฎอน Fasting Ramadan
เพื่อให้เข้าใจถึงความทุกข์ยาก ลำบากกายใจ เพื่อจะได้ฝึกความอดทน อดกลั้นต่อกิเลสยั่วยุ ทั้งหลายทั้งปวง และจะยอมตนทำตามคำสั่งของอัลลอฮฺ
بِـــسْــــــمِاللَّهِ الرَّحْمَانِ الرَّحِــيْــمِ
พิธีการและข้อกำหนดในการถือศีลอดเราะมะฎอน และถือศีลอดอาสานอกเดือนเราะมะฎอน
اَلصَّوْمُ الْرَمَضَانُ Ramadan (Fasting month)
เดือนเราะมะฎอนในความเชื่อของศาสนาอิสลาม เป็นเดือนที่พี่น้องชาวมุสลิมทุกคนต้องถือศีลอด
صَوْمُ الْرَمضَانُ อ่านว่า เซา มุ้น เราะ มะ ดอน เพื่อให้เข้าใจถึงความทุกข์ยาก ลำบากกายใจ เพื่อจะได้ฝึกความอดทน อดกลั้นต่อกิเลสยั่วยุ ทั้งหลายทั้งปวง และจะยอมตนทำตามคำสั่งของอัลลอฮฺ ให้รำลึกถึงความทุกข์ยาก รำลึกถึงความศรัทธาที่มีต่อพระองค์ ให้หมั่นตอบแทนบุญคุณต่อพระองค์
طَاعَةُ (Obedience) รำลึกถึงว่ามีเงินทองมากมายก็ใช้ซื้ออะไรกินไม่ได้ในตอนกลางวัน ที่ถือศีลอดอยู่ สอนให้อดเพราะเชื่อในคำสั่งอัลลอฮฺ ให้อดสิ่งต่างที่เคยเป็นสิ่งอนุมัติกลับต้องเป็นหะรอม حَرَامُ(taboo) ต้องงดในตอนกลางวัน พิธีการ คือ ต้องบริโภคอาหาร น้ำ และอื่น ๆ ที่อนุญาตให้บริโภคก่อนเวลาแสงทองของตะวันจะจับขอบเส้นฟ้า โดยประมาณ ตี 3.30 – 04.30 นาฬิกา
ซุนนะต์นบี "ให้กินแต่พอดี แบ่งกระเพาะเป็นสามส่วน อาหาร / น้ำ / อากาศ อย่างละส่วน"
ข้อกำหนดในการถือศีลอดในตอนกลางวัน มีข้อปฏิบัติ ดังนี้
1. ห้ามกิน ดื่ม เสพสิ่งต่างเข้าร่างกาย หรือ จิตใจ เช่น ห้ามเสพบุหรี่ ยาดม ยานัตถุ์
2. ห้ามดูหนัง ฟังเพลง, ห้ามร้องรำทำเพลง
3. ห้ามเคล้าคลอเคลีย กอด จูบ ลูบไล้ ร่วมสังวาส (รวมทุกกรณีที่ทำให้เกิดเป็นสุขขึ้นมา) กันกับคู่สมรส
4. ห้ามโมโหโกรธา ฉุนเฉียว ถ้าจะมีเรื่องมีราว ให้รีบผละหนีไปเสียก่อน หรือปล่อยมันผ่านเลยไป ไม่ใช่เรื่องที่เราจะต้องเอามาทำให้ตบะ*[1] แตก
5. ห้ามพูดจาเพ้อเจ้อ พร่ำเพ้อ รำพึงรำพันถึงคนนั้นคนนี้ สิ่งนั้นสิ่งนี้ ส่อเสียด ยุยง ใส่ความ กลับกลอก
6. ห้ามหลบแอบนอนทั้งวัน ให้ทำงานปกติ ถ้าปากแห้งมากๆ ให้บ้วนน้ำล้างปากได้
7. ห้ามละศีลอดกลางคันขณะที่ยังไม่ถึงเวลา ยกเว้นสตรีมีระดู (حَيْضَ Menstruation) น้ำคาวปลา คลอดบุตร มีเลือดเสียอื่นๆ (ชายที่หลับฝันกลางวันแล้วน้ำอสุจิออก ไม่เสียศีลอด ให้รีบอาบน้ำญะนาบะห์)
8. ห้ามไม่ให้ถือศีลอดโดยไม่บริโภคอาหาร "ซะฮู้รسَحُوْرِ คือ อาหารมื้อก่อนรุ่งอรุณ ตั้งแต่เที่ยงคืนจนถึงแสงขาวจับริมขอบฟ้า (อะซาน)" เมื่อถึงเวลามักริบ (ตะวันลับขอบฟ้าแล้ว) ให้รีบละศีลอดโดยเร็ว ห้ามถ่วงเวลาเอาไว้ ดื่มน้ำสักแก้ว กินอินทผาลัมสัก 2 - 3 เม็ด แล้วไปละหมาดมักริบเสียก่อน ละหมาดแล้วรีบกลับมากินอาหารหลัก อิ่มดีแล้ว
กลับไปละหมาดสุนัตหลังมักริบ 2 เราะกะอัต
9. ห้ามกินยาเม็ด ยาฉีด ยาพ่นคอ (หอบหืด) ควรไปหาหมอตอนค่ำหลังแก้บวชแล้ว
10. ผู้ที่ยังไม่มีน้ำละหมาด และยังไม่ได้อาบน้ำญะนาบะห์ ก็กินอาหาร "ซะฮูร" ได้ แต่ให้รีบอาบก่อนละหมาดซุบฮิ (รุ่งอรุณ)
ผู้ที่ขาด การถือศีลอดทุกคน ผู้ป่วยเรื้อรัง คนชรา กรรมกรแบกหาม หรือผู้ใช้แรงงานหนัก ผู้ที่ทำหน้าที่หรือดูแลควบคุมเครื่องจักรกล มีข้อยกเว้นให้ ไม่ต้องถือศีลอด และไม่ต้องถือศีลอดชดใช้ แต่ต้องจ่าย ฟิดยะห์ (فِدّيَةُ ค่าไถ่, สินไหม) คนละ 1 ซออ์ (หรือปริมาณ สามลิตร) ข้าวสารหนักประมาณ 2.5 กิโลกรัม หรือใช้เป็นเงินทดแทน (เพื่อทางเลือกผู้ที่มีสิทธิ์รับซะกาต ในการเลือกซื้ออาหารตามใจชอบ) จ่ายฟิดยะห์คนละ อย่างน้อยสุด 50 บาท (ใครทำบุญมากก็ได้ผลบุญกลับคืนมามากเป็นเงาตามตัว
ส่วนผู้เดินทาง ผู้ป่วยเฉพาะวัน หญิงมีระดู ขาดศีลกี่วันต้องถือศีลชดใช้ และต้องจ่ายสินไหม (กัฟฟาเราะห์ كَفَارَةُ) เป็นอาหารหนึ่งมื้อ หรือข้าวสารอาหารแห้ง 2 มุด (مُدُ หนึ่งมุด=0.75ลิตร, 2มุด=1.50ลิตร / 4 มุดเป็นหนึ่ง ซออ์ หนึ่งซออ์มี 3 ลิตร) ในแต่ละวัน
ซะกาตุ้ลฟิตรี, กัฟฟาเราะห์, ฟิดยะห์ คือ ข้าวสาร อาหารแห้ง ที่ใช้จ่ายเป็นซะกาตหรือค่าชดเชยหรือค่าสินไหม ให้แก่บุคคลทั้ง8 ประเภท จะเป็น เนื้อแห้ง, ข้าวบาเร่ ข้าวสาลี ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว อินทผาลัม ลูกเกด นมเปรี้ยว(ละบัน) ลูกมะกอกดองเค็ม(ใช้กินกับเนยเปรี้ยว (جِبْنَةُ) ชีส (جِبْنَةُ)
บุคคล 8 ประเภทที่มีสิทธิ์รับซะกาต*[2] และค่าสินไหม (กัฟฟาเราะห์)
1. คนอนาถา (ฟะกีร) ได้แก่บุคคลไม่สามารถหาเลี้ยงชีพได้ เนื่องจากขาดสมรรถภาพบางประการในร่างกาย จำเป็นต้องได้รับการอนุเคราะห์
2. คนขัดสน (มีสกีน) ได้แก่ผู้ที่มีความสามารถจะเลี้ยงชีพได้แต่ขาดแคลน เนื่องจากความยากจน เช่น แม่หม้ายที่สามีตายต้องเลี้ยงลูกกำพร้าตามลำพังโดยที่ไม่มีทรัพย์สมบัติ
3. ผู้รวบรวมและจ่ายซะกาต ได้แก่เจ้าหน้าที่ที่ถูกแต่งตั้งขึ้นให้รวบรวมเก็บซะกาตไปแจกจ่ายแก่บุคคล หรือองค์การที่พึงได้รับ ซึ่งแสดงว่าการรวบรวมและการแบ่งทรัพย์นี้ต้องอาศัยองค์การกลาง ซึ่งเรียกว่า บัยตุลมาล คือคลังเก็บสิ่งที่ได้จากการรับซะกาต (คลังซะกาต)
4. ผู้ที่ควรแก่การปลอบใจ ได้แก่ผู้ที่จะมาหรือได้รับนับถือศาสนาอิสลาม เมื่อเข้ามาใหม่ ๆ ก็อาจจะอัตคัตขาดแคลนด้วยถูกตัดญาติจากพ่อแม่พี่น้อง จึงสมควรได้รับการอุปการะ หากเป็นผู้มั่งคั่งก็ไม่ต้อง
5. เชลยหรือทาส ซึ่งไม่สามารถไถ่ตนเองได้ แสดงถึงการที่อิสลามช่วยในการเลิกทาส
6. ผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ซึ่งเป็นหนี้ที่เกิดจากการประกอบสัมมาอาชีวะ แต่หากเป็นหนี้จากการเสียพนัน การใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย ฯลฯ ไม่จัดอยู่ในประเด็นที่จะนำซะกาตไปไถ่ถอน
7. ผู้เดินทาง ที่มีความจำเป็นต้องรับการช่วยเหลือ เช่น ขาดปัจจัยในการเดินทางกลับมาตุภูมิของตน
8. การบริจาคในแนวทางของอัลเลาะห์ (พี สบีลิลลาฮ์) ในประเด็นนี้กว้างมาก นั่นคือในกิจการกุศลทั่วไป เช่น นำไปสร้างโรงเรียน โรงพยาบาล สาธารณสถานต่าง ๆ ปกป้องประเทศขจัดความไม่รู้หนังสือ ฯลฯ ใครมีความจำเป็นต้องเดินทางไกล อนุญาตให้ไม่ต้องถือศีลอดได้ แต่ ต้องมาถือศีลอดชดใช้หนี้ในวันหลัง หลังจากเดือนเราะมะฎอนผ่านพ้นไปแล้ว หรือใครจะถือศีลอดได้ก็ทำไปตามแต่อัตภาพ ในยามค่ำคืน หลังละหมาดอิชาอ์แล้ว จะมีการละหมาด "ตะเราะวี้หะ" 8 เราะกะอัต + วิติรอีก 3 ในยามค่ำคืนใช้ชีวิตได้ตามปกติ จะทำอะไรได้ทุกอย่างที่ฮะล้าล
อ้างอิง:
*[1] ความเพียร,เครื่องเผาผลาญกิเลส,การข่มกิเลส
*[2] ซะกาต คือภาษีชนิดหนึ่งในอิสลาม ซึ่งจะเรียกเก็บจากผู้ที่มีเงินตราเก็บออมครบจำนวนหนึ่งแสนบาท ครบรอบปีจันทรคติ (254-355 วัน) ผู้ที่ออมได้ไม่ครบแสนไม่บังคับนำจ่าย แต่ถ้าใครอาสาสมัครจ่ายเ่ท่าที่มีในมือ ก็ย่อมได้ผลบุญที่เพิ่มทวี นอกจาก เงินตราแล้ว ยังสามารถเก็บจาก เครื่องประดับเงิน ทอง ที่เกินน้ำหนัก 5บาท ปศุสัตว์ ผลผลิตการเกษตร สินค้าคงคลัง ได้อีกด้วย