วิธีดูแลสุขภาพแก่ชาวไทยมุสลิม ในเดือนรอมฎอน


2,636 ผู้ชม

วิธีดูแลสุขภาพให้ดีแก่ชาวไทยมุสลิม เพื่อให้สามารถปฏิบัติศาสนกิจได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ในเดือนรอมฎอน ...


วิธีดูแลสุขภาพแก่ชาวไทยมุสลิม ในเดือนรอมฎอน

วิธีดูแลสุขภาพให้ดีแก่ชาวไทยมุสลิม เพื่อให้สามารถปฏิบัติศาสนกิจได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ในเดือนรอมฎอน

นาย แพทย์ยอร์น จิระนคร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดปัตตานี กล่าวว่า ขณะนี้พี่น้องชาวไทยมุสลิมที่ปฏิบัติศาสนกิจถือศีลอดในเดือนรอมฎอน ซึ่งถือว่าเป็นเดือนแห่งความประเสริฐ ความดีงาม เดือนแห่งความอดทน แต่ช่วงดังกล่าวจะทำให้อวัยวะที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารได้พักผ่อน จึงแนะนำวิธีการดูแลสุขภาพในเดือนรอมฎอน ดังนี้

1. รับประทานอาหารสุกใหม่ ๆ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มจัด เพราะจะทำให้กระหายน้ำได้ระหว่างการถือศีลอดในตอนกลางวัน

2. สำหรับอาหารมื้อเย็นควรเริ่มด้วยอาหารเหลวย่อยง่าย เช่น อินทผลัม น้ำหวาน ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ย่อยยากเพราะจะทำให้กระเพราะอาหารทำงานหนักขึ้น

3. อาหารมื้อเย็น ควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารมากเกินไป เพราะในช่วงเวลาดังกล่าวกระเพาะอาหารจะมีน้ำย่อยออกมามาก การรับประทานอาหารอย่างรวดเร็วจะทำให้กระเพาะอาหารปรับตัวไม่ทัน น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับ ทำให้ระบบย่อยอาหารแปรปรวน เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ หากเกิดขึ้นบ่อย ๆ อาจทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารเรื้อรังต่อไปได้

4. หลี่กเลี่ยงการนอนทันทีหลังรับประทานอาหาร ต้องอย่างน้อย 2-4 ชั่วโมง เพราะการนอนหลังรับประทานอาหารทันที อาจทำให้น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับ ทำให้ระบบย่อยอาหารแปรปรวนเกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ

5. อาหารทุกมื้อควรสะอาด หลี่กเลี่ยงอาหารจำพวกกะทิ เพราะช่วงนี้อากาศร้อนมาก อาจทำให้อาหารบูดเสียได้ง่าย และก่อนรับประทานอาหารหรือปรุงอาหารควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง

6. สำหรับน้ำดื่มควร เป็นน้ำที่สะอาด เช่น น้ำต้มสุก หรือน้ำบรรจุขวดที่ได้มาตรฐาน แต่หากมีอาการถ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้ำ 3 ครั้ง ขึ้นไปภายใน 24 ชั่วโมง

ควรดื่มน้ำผสมน้ำตาลเกลือแร่ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นควรรีบพาไปพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโดยเร็ว เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป

ข้อควรปฏิบัติในการถือศีลอดที่ถูกต้อง

1. รับประทานอาหารซุโฮร์ให้ใกล้หมดเวลา และรีบแก้ศีลอดเมื่อเข้าเวลา
2. ไม่พูดนินทา ไม่คิดร้าย ทำใจให้สงบ อ่านกุรอาน
3. เคี้ยวอาหารช้าๆ ห้าสิบครั้งต่อคำ ทานอาหารไม่อิ่มแน่นมาก
4. ดื่มน้ำสะอาดมากๆ หลังรับประทานอาหาร
5. รับประทานอาหารเหมือนปกติ ไม่ควรเพิ่มอาหารมาก
6. เลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
7. ไปละหมาดตะรอเวียะฮฺทุกๆ วัน อย่างช้าๆ ไม่รีบ
8. แบ่งปันอาหารให้ผู้ที่ถือศีลอด
9. พยายามเลิกสิ่งเสพติดต่างๆ เช่น บุหรี่, ชา, กาแฟ ฯลฯ
10. ควรตรวจร่างกายก่อนเข้าเดือนรอมฎอน และหลังจากสิ้นเดือนรอมฎอน

วิธีการรับประทานอาหารซุโฮร์

1. เคี้ยวอาหารช้าๆ อย่างละเอียด
2. ห้ามพูดคุยกันระหว่างรับประทานอาหาร
3. รับประทานอาหารไม่ให้อิ่มแน่นมาก แต่ต้องให้อิ่ม
4. ดื่มน้ำหลังรับประทานอาหารพร้อมทั้งผลไม้
5. ไม่ควรดื่มชา กาแฟ หรือสูบบุหรี่
6. ควรรับประทานอาหารที่มีเส้นใยมากๆ เพื่อให้อิ่มได้นานๆ

วิธีการละศีลอดที่ถูกต้อง

1. ละศีลอดด้วยอินทผลัม สองผล กับน้ำเปล่าหนึ่งแก้ว
2. ไปละหมาดมักริบก่อนอย่างช้าๆ
3. กลับมารับประทานอาหารใหม่ตามต้องการ อย่างช้าๆ
4. ไม่ควรรับประทานเกินหนึ่งในสามของกระเพาะ
5. ไปละหมาดตะรอเวียะฮฺทุกครั้ง
6. หลังละหมาดให้นอนได้ ไม่ต้องรับประทานอาหารอีก

กินน้อยอายุยืนกว่ากินมาก

จงถือศีลอดแล้วท่านจะมีสุขภาพดี จากคำกล่าวนี้ จะเป็นคำกล่าวของท่านศาสดามุหัมมัด หรือ ไม่นั้น ในวงการศาสนายังไม่มีข้อสรุปชัด แต่ในนัยแห่งเนื้อหาที่สื่อสารออกไปนั้นช่างทรงพลัง จนทำให้บรรดาแพทย์และนักวิทยาศาสตร์สุขภาพทั่วโลกได้นำคำกล่าวนี้ไปถอดรหัส ใช้ในการศึกษาค้นคว้า

วิจัย จนเกิดองค์ความรู้อย่างมากมายในการนำมาใช้ในวงการแพทย์ ทั้งในการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันและการรักษาโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้มนุษยชาติมีอายุยืนยาวขึ้น และมีสุขภาพดี ไม่ใช่อายุยืนยาวที่อยู่กับโรคภัยไข้เจ็บหรืออยู่บนเตียงผู้ป่วยตลอดชีวิต

ดังนั้นจึงมีนักวิทยาศาสตร์จำนวนมาก ที่สนใจค้นคว้าวิจัยในการหายาอายุวัฒนะหรือการตัดแต่งทางพันธุกรรม ที่จะให้มียีนที่สามารถป้องกันโรคภัยบางโรคได้ เช่น การทดลองหาทางยืดอายุของหนูให้ยืนยาวขึ้นด้วยการตัดแต่งยีนโดยนักวิทยา ศาสตร์เชื้อสายอิตาลีในศูนย์มะเร็งสโลน-เค็ตเตอริงอนุสรณ์ ในนิวยอร์ก ผลการวิจัยปรากฏว่าหนูกลุ่มที่ได้รับการดัดแปลงยีน(p66) มีอายุยืนกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการดัดแปลงยีนถึงร้อยละ 30 แต่ การดัดแปลงยีนหรือการหายาอายุวัฒนะนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เห็นผลช้าและในที่สุดจะสามารถใช้กับมนุษย์ได้หรือไม่ ยังเป็นคำถามที่ต้องรอคำตอบ แต่มีการวิจัยจำนวนไม่น้อยที่บ่งชี้ว่าการที่จะมีอายุยืนได้โดยการกินให้ น้อยลง

การทดลองว่าการกินน้อยอายุยืนกว่ากินมากที่นักวิจัยจากตะวันตกค้นพบจากการทดลอง นั้นได้ทำกันมาตลอดตั้งแต่ ค.ศ.1935 เริ่มที่มหาวิทยาลัยคอร์เนลเป็นแห่งแรก ที่ทำการทดลองในหนู 2 กลุ่ม กลุ่มแรกให้กินตลอดเวลา กับอีกกลุ่มให้กินบ้างหิวบ้าง ปรากฏว่าหนูกลุ่มแรก(กินตลอดเวลา)ตายก่อน

จากนั้น การทดลองวิจัยที่สถาบันแห่งอื่นๆ ได้เกิดขึ้นตามมาจนถึงปี ค.ศ.2000 เป็นเวลานานร่วม 65 ปี แล้วผลการวิจัยก็ปรากฏว่าผลเหมือนเดิมว่ากินน้อยอายุยืนกว่ากินมาก ไม่ว่าจะเป็นการทดลองกับหนูหรือทดลองกับลิงก็ตาม ดังเช่น การวิจัยที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซินและสถาบันแห่งชาติว่าด้วยวัยชรา (The National Institute on Aging : NIA) ได้ใช้การทดลองกับลิงซึ่งต้องใช้เวลานานเป็นสิบๆ ปีกว่าจะเห็นผล เพราะลิงมีอายุขัยเฉลี่ยมากกว่าหนู (ปกติหนูมีอายุไม่เกิน 3 ปี) NIA ใช้งบประมาณปีละ 3 ล้านดอลลาร์เพื่อศึกษาว่าด้วยการจำกัดปริมาณแคลอรีด้วยการทดลองหนูกับลิง ดังเช่น Tomas Prolla และ Richard Weindruch นักวิจัยของมหาวิทยาลัยวิสคอนซินแห่งเมดิสันได้ทดลองกับหนูมาก่อนแล้วและสรุปผลนำลงวารสาร Science ใน เดือนกันยายน 2542 พวกเขาพบว่าหนูที่ถูกควบคุมอาหารด้วยการลดปริมาณแคลอรีลงร้อยละ 42 เมื่อ เปรียบเทียบกับหนูอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับอาหารอย่างอื่นที่มีทั้ง โปรตีน วิตามินและแร่ธาตุเหมือนกันและเท่ากันแล้ว ปรากฏว่าหนูที่ถูกลดแคลอรีมียีนที่กระชุ่มกระชวยมากกว่ากลุ่มที่ได้กิน มากกว่า การทดลองครั้งนี้ใช้เวลานาน 30 เดือน และเป็นการทดลองที่ลงลึกไปในการตรวจสอบยีนในระดับโมเลกุลมากกว่าที่ผ่านๆ มา ด้วยการตรวจสอบกล้ามเนื้อและยีนจำนวน 6,347 ยีนซึ่งผลลัพธ์ปรากฏว่าในระดับโมเลกุลแล้ว หนูที่กินน้อยจะมีการทำงานของยีนที่หนุ่มกว่ากลุ่มหนูที่ได้กินมาก

ส่วน การทดลองกับลิงนั้น เท่าที่พบกันคือลิงที่ถูกควบคุมแคลอรีจะมีความดันโลหิตต่ำและมีระดับคอเลสเต อรอลชนิดดีในปริมาณสูงซึ่งเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่ามีสุขภาพดี อันนำไปสู่การมีอายุที่ยืนยาว หนึ่งในนักวิจัยที่รณรงค์และสนับสนุนให้กินน้อยเพื่ออายุที่ยืนยาวกว่าคือนายแพทย์รอย วัลฟอร์ด (Roy Walford) ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ด้านพยาธิวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแองเจลิส (UCLA) อายุ 76 ปี ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชราภาพมานานกว่า 50 ปี

รอย วัลฟอร์ด เชื่อว่าผลการทดลองกับสัตว์ทำให้ประเมินได้ว่ามนุษย์เราสามารถที่จะมีอายุ ยืนกว่าเดิม คือ สามารถอยู่ได้ถึง 120 ปี เขาเคยทดลองทำวิจัยกับหนูมาแล้วในช่วงทศวรรษ 1960 เคยรับเงินทุนสนับสนุนการวิจัยจาก NIA ในเรื่องนี้ เขาเคยเขียนหนังสือแนะนำเกี่ยวกับการลดอาหารออกมาเมื่อปี ค.ศ.1986 เรื่อง "The 120-Year Diet" และนำมาปรับปรุงพิมพ์ใหม่ชื่อ "Beyond the 120-Year Diet"

ใน ทัศนะของรอย วัลฟอร์ด การทดลองจากหลายสถาบันวิจัยไม่เพียงแต่จะบอกว่าการกินน้อยจะทำให้อายุยืน กว่ากินมากเท่านั้น แต่ยังลดโรคภัยไข้เจ็บที่จะมาเบียดเบียนให้น้อยลง ไม่ว่าจะเป็นมะเร็ง โรคหัวใจ หรือโรคภูมิคุ้มกันต่อต้านเนื้อเยื่อตัวเอง

ส่วนเหตุผลที่ว่าทำไมกินน้อยอายุยืนกว่ากินมากนั้น ขณะนี้มีอยู่หลายความเห็น เช่น เหตุผลหนึ่งเชื่อว่า "การกินมากเท่ากับเป็นการเข้าไปเร่งให้กระบวนการแก่ชราทำงานเร็วขึ้น" อีกเหตุผลหนึ่งเชื่อว่า "การ ลดอาหารหรืออาหารไม่พอนั้นมันจะไปดึงเอาพลังงานจากส่วนร่างกายที่เติบโตแล้ว เอามาใช้ในการบำรุงรักษาและซ่อมแซม ซึ่งเท่ากับเป็นการกระตุ้นสร้างพลังงานใหม่ สร้างเซลล์ใหม่มาทดแทนเซลล์เก่า" และอีกเหตุผลหนึ่งเชื่อว่า "การกินน้อยจะไปลดตัวอนุมูลอิสระซึ่งเป็นตัวทำลายเซลล์ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยลดอินซูลินและป้องกันระบบภูมิคุ้มกันไม่ให้เสื่อม"

การกินจุเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่

ทีม ข่าวสุขภาพจากรอยเตอร์นิวยอร์ก ได้สรุปรายงานผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารระบาดวิทยาของประเทศสหรัฐอเมริกา ว่า เมื่อพิจารณาความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลำไส้ในคนเรานั้น พบว่าปริมาณอาหารที่เรารับประทานเข้าไปนั้นมีความสำคัญต่อการเกิดมะเร็งลำ ไส้มากกว่าชนิดหรือประเภทของอาหารที่เรารับประทานอาหารเข้าไปเสียอีก

คณะวิจัย ดร.เจสซี่ ซาเทีย-อบูต้า แห่งมหาวิทยาลัยนอร์ธแคโรไลนา ประเทศสหรัฐอเมริกา สรุป ผลที่ได้จากการติดตามเก็บข้อมูลคนผิวขาวจำนวน 933 คน และคนผิวดำจำนวน 676 คน พบว่าคนผิวดำที่รับประทานอาหารที่ปริมาณเส้นใยอาหารสูง สามารถลดความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้มากกว่าคนผิวขาว

เมื่อ ทำการศึกษาเพิ่มเติมโดยการทดสอบคนที่มีสีผิวต่างกันสองกลุ่มนี้ พบว่าการรับประทานอาหารแต่ละชนิดที่ให้ปริมาณแคลอรีสูงจะเพิ่มความเสี่ยงใน การเกิดมะเร็งในลำไส้ใหญ่เป็น 2-3 เท่า แต่ทว่าไม่พบความสัมพันธ์ในลักษณะนี้ถ้าผู้วิจัยทำการปรับจำนวนแคลอรีรวมที่ ร่างกายได้รับ

ดร. เจสซี่ ซาเทีย-อบูต้า กล่าวว่า ผลของการวิจัยแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การรับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูงและปริมาณสารอาหารต่างๆ ในปริมาณสูง เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมันมีผลในการเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ใหญ่ และสามารถสรุปได้ว่าจำนวนแคลอรีที่ได้รับทั้งหมดเป็นสาเหตุหลักที่มีความ สัมพันธ์กับความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่ปัจจัยที่ก่อให้เกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับชนิดของสารอาหารนั้น จะแปรผัน ขึ้นกับเชื้อชาติและพลังงานที่ได้รับ ดังนั้นการที่ร่างกายได้รับจำนวนแคลอรีที่เหมาะสม มีความสำคัญในการลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่

สำหรับในประเทศไทยนั้น นายแพทย์เฉก ธนะศิริ ผู้ก่อตั้งชมรมอยู่ร้อยปี–ชีวี เป็นสุข ซึ่งปัจจุบันอายุ 83 ปี ได้กล่าวเน้นย้ำในการบริโภคอาหารที่ได้มาจากธรรมชาติแทนอาหารที่ผ่านการปรุง แต่ง หรือผ่านกระบวนการทางอุตสาหกรรม คนไทยเสี่ยงภัยปนเปื้อนสารพิษ และสารเคมี ที่ได้รับตั้งแต่ทารกจนถึงวัยชรา ไม่ว่าจะเป็นอาหารหลัก อาหารเสริม อาหารว่าง ขนมขบเคี้ยว ล้วนแต่ไม่พ้นสารเคมี สารปรุงแต่ง ยาปฏิชีวนะ ฮอร์โมน ตลอดจนสารตัดแต่งพันธุกรรม เป็นแหล่งที่มาของสารพัดโรค เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน มะเร็ง ตับและไตวาย หรือโรคดื้อยา ฯลฯ

ปัจจุบันนักกีฬาที่เก่งๆ จะต้องกินอาหารต่ำกว่าที่นักโภชนาการกำหนดไว้ โดยให้กินเพียง 1,600-1,800 แคลอรี ต่อวัน อาหารแคลอรีต่ำๆ กลับทำให้สถิตินักกีฬาดีกว่ากินอาหารที่บริบูรณ์ไปด้วย หมู เห็ด เป็ด ไก่ และยังพบว่าการกินอาหารแคลอรีต่ำ ถัวเฉลี่ยประมาณ 1,000 แคลอรีต่อวัน ในกลุ่มชาวฮันซา บนเทือกเขาหิมาลัย ทำให้พวกเขาเป็นผู้ที่มีอายุยืนยาวเกินหนึ่งร้อยปี

ยัง มีอีกหลายๆ งานวิจัย เช่น ที่ทำโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอิสราเอล ที่ทำการเจาะเลือดชาวเบดูอินเพื่อดูค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ก่อนและหลังเดือนรอมฎอน ปรากฏว่าผลของเลือดไม่ว่าในเรื่องน้ำตาลหรือไขมันในเลือดดีขึ้นโดยรวม

ครั้ง หนึ่งหลายปีก่อน มีการค้นพบโดยบังเอิญที่สถานีอวกาศเมียร์ ที่เกิดเหตุขัดข้องกับวงจรไฟฟ้าโซลาเซลล์ที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์มาเป็น แหล่งพลังงานในสถานีฯ หลายเดือนจนทำให้นักบินอวกาศต้องลดลงการกินจากปกติลงถึง 30 เปอร์เซ็นต์ มีผลทำให้ค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ในเลือดดีขึ้นทุกตัว

จาก การวิจัยและการทดลองข้างต้น จึงพอสรุปได้ว่า การที่มนุษย์และสัตว์ได้ลดพลังงานที่ได้รับลง 1 ใน 3 ของที่ได้รับตามปกติ (วิธีง่ายๆ คือการศีลอดแบบมุสลิม เพราะต้องลดมื้อเที่ยงไป 1 มื้อ) จะทำให้อายุยืนมากกว่าการกินอาหารตามปกติ รวมทั้งลดโรคภัยไข้เจ็บที่จะมาเบียดเบียนให้น้อยลงด้วย จึงเป็นบทพิสูจน์ของคำกล่าวที่ว่า "จงถือศีลอดแล้วท่านจะมีสุขภาพดี" ตลอดเวลายาวนานกว่า 1,400 ปีที่ผ่านมาได้เป็นอย่างดี

อัพเดทล่าสุด