ทำไมถึงตดเยอะ ทำอย่างไรดี! พร้อมวิธีตดแต่น้อย และไม่มีกลิ่


6,910 ผู้ชม

ทุกคนล้วนเคยตด การตดเมื่ออยู่คนเดียวดูจะเป็นเรื่องธรรมดาสามัญ แต่เมื่อตดต่อหน้าธารกำนัลจะกลายเป็นเรื่องที่ผิดกาลเทศะ คนส่วนใหญ่จึงมักอายที่จะตดอย่างเปิดเผย และไม่ต้องการให้เสียงหรือกลิ่นล่วงรู้ไปถึงบุคคลอื่น


ทุกคนล้วนเคยตด การตดเมื่ออยู่คนเดียวดูจะเป็นเรื่องธรรมดาสามัญ แต่เมื่อตดต่อหน้าธารกำนัลจะกลายเป็นเรื่องที่ผิดกาลเทศะ คนส่วนใหญ่จึงมักอายที่จะตดอย่างเปิดเผย และไม่ต้องการให้เสียงหรือกลิ่นล่วงรู้ไปถึงบุคคลอื่น มีนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง และให้คำแนะนำเราได้ว่าทำอย่างไรจึงจะตดให้น้อยและไม่เหม็น

การตดหรือการผายลมคืออะไร 
การผายลม คือการสร้างลมผาย ซึ่งเป็นแก๊สที่สร้างมาจากแบคทีเรียและยีสต์ที่อาศัยอยู่ในท่อทางเดินอาหารของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม แก๊สลมผายจะถูกปล่อยจากความดันผ่านทางทวารหนัก ซึ่งมักจะมีเสียงและกลิ่นออกมาด้วย การปล่อยแก๊สออกมาเราเรียกว่า การตด
คนเราจะปล่อยลมผาย เฉลี่ย 0.5-1.5 ลิตรต่อวันโดยผ่านการผายลม 12-25 ครั้ง องค์ประกอบของลมผายหลัก ๆ จะเป็นแก๊สที่ไม่มีกลิ่นคือ ไนโตรเจน (รับเข้ามา) คาร์บอนไดออกไซด์ (สร้างมาจากแบคทีเรียหรือรับเข้ามา) และไฮโดรเจน (สร้างมาจากจุลินทรีย์บางชนิดแล้วถูกกินโดยจุลินทรีย์อื่นๆ) กับออกซิเจน (รับเข้ามา) และแก๊สมีเธน (สร้างจากจุลินทรีย์พวก anaerobic) ในปริมาณที่น้อยกว่า กลิ่นที่เกิดขึ้นมาจากองค์ประกอบอื่น ๆ (ซึ่งมักจะเป็นสารประกอบกำมะถัน)
กลิ่นที่เกิดขึ้นจะทวีความรุนแรงขึ้นจากสัตว์กินพืชเป็นอาหาร (เช่น วัวควาย) จนถึงสัตว์ที่กินทั้งพืชและเนื้อสัตว์เป็นอาหารไปจนถึงสัตว์ที่กินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร (เช่น แมว) กลิ่นจากการผายลมยังสามารถเกิดขึ้นเมื่อมีแบคทีเรียหรืออุจจาระอยู่ในทวารหนักจำนวนหนึ่งขณะที่กำลังปล่อยออกได้เช่นกัน เศษของแข็งหรือเศษวัตถุในละอองลอย อาจจะถูกพ่นออกมาพร้อมกับการผายลมได้
รับประทานอะไรทำไมถึงตดเยอะ
การผายลมที่เกิดมาจากอาหารมักจะมีพอลิแซ็กคาไรด์ปริมาณสูง (โดยเฉพาะโอลิโกแซ็กคาไรด์เช่น อินูลิน (inulin)) และรวมถึงถั่วเม็ดแบน, ถั่วแขก, นม, หัวหอมใหญ่, มันเทศ, ชีส,เม็ดมะม่วงหิมพานต์ , บร็อคโคลี , กะหล่ำปลี, ข้าวโอ็ต, ยีสต์ในขนมปัง และอื่นๆ
ในถั่วนั้น แก๊สภายในหลอดอาหารมาจากโอลิโกแซ็กคาไรด์และคาร์โบไฮเดรตต่าง ๆ ที่ย่อยยาก อาหารเหล่านี้จะผ่านเข้าไปในลำไส้ตอนบนโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงและเมื่อพวกมันมาถึงลำไส้ตอนล่าง แบคทีเรียจะทำการย่อยสลายพวกมันและสร้างแก๊สในกระเพาะออกมามากมาย ในกรณีของอาหารที่มีแลคโตส เมื่อเราบริโภคนมหรืออาหารที่มีแลคโตสเป็นส่วนประกอบ แบคทีเรียในลำไส้ที่ย่อยสลายแลคโตสสามารถสร้างแก๊สปริมาณมากได้
ข้อแนะนำเพื่อให้ตดแต่น้อยและไม่มีกลิ่น 
- ควรเลือกกิน เพราะอาหารบางชนิดกินมากไปก็อาจทำให้ตดบ่อยได้ค่ะ เช่น ไข่ เนื้อ และผักตระกูลกะหล่ำ เช่น กะหล่ำปลี บร็อกโคลี่ เนื่องจากอาหารเหล่านี้มีกำมะถันเป็นส่วนประกอบ แบคทีเรียในลำไส้จะย่อยให้เป็นแก๊สที่มีกลิ่นเหม็น
- ถั่วและผักสดบางชนิดมีน้ำตาลที่ร่างกายย่อยไม่ได้ ซึ่งจะถูกส่งผ่านไปหมักอยู่ในลำไส้ใหญ่ แบคทีเรียในลำไส้จะย่อยน้ำตาลพวกนี้แทน และทำให้เกิดแก๊สขึ้น
- บางแหล่ง แนะนำให้รับประทานถั่วและผักที่ปรุงสุกแล้ว จะช่วยลดปัญหาผายลมจากการกินถั่วได้
- ลดอาหารไขมันสูง เพราะอาหารประเภทไขมันจะใช้เวลาย่อยนานกว่าอาหารประเภทอื่น จึงอาจอยู่ในกระเพาะได้นานถึง 2 ชั่วโมง แบคทีเรียมีเวลาเหลือเฟือในการสร้างแก๊สตด
- อาหารค้างคืนที่นำออกจากตู้เย็นมาอุ่น ก็สามารถกระตุ้นให้แบคทีเรียในอาหารผลิตแก๊สได้ การกินอาหารที่อุ่นซ้ำแล้วซ้ำอีก จึงมีส่วนทำให้ตดบ่อย
- อย่ากินอาหารหรือดื่มน้ำเร็วเกินไป เพราะระหว่างนั้นเราจะกลืนลมเข้าไปด้วย การกินช้าๆ เคี้ยวให้ละเอียด จะช่วยให้กลืนอากาศเข้าไปน้อยลง
- การอมลูกอม เคี้ยวหมากฝรั่ง หรือสูบบุหรี่ ก็เช่นเดียวกัน เวลาที่เรากลืนน้ำลายหรือสูบบุหรี่ ก็จะกลืนอากาศเข้าไปด้วย
- การพูดมาก ๆ ก็อาจทำให้กลืนลมเข้าไปมากเช่นกัน
- กินขิง อบเชย หรือเปปเปอร์มินท์ อาจช่วยลดแก๊สในกระเพาะได้
- กินมื้อเล็กๆ แต่บ่อยขึ้น วันละ 5-6 มื้อ แต่ละมื้อกินไม่ต้องมาก หรือแค่เกือบอิ่ม
- ดื่มน้ำให้มากขึ้น โดยดื่มคราวละน้อยๆ แต่ดื่มบ่อยๆ ตลอดวัน
สุดท้ายนี้ ฝากด้วยคำพูดจากแพทย์ชาวฝรั่งเศส กลับบอกว่า อย่าอั้นมันไว้ “คนเราควรจะผายลมเพื่อกำจัดแก๊สที่เกิดขึ้นในตัวให้หมดในแต่ละวัน เพราะมันเป็นไปตามขบวนการตามธรรมชาติ การกลั้นเอาไว้อาจเป็นอันตรายกับลำไส้ อย่าได้อายในการระบายกลิ่นอายของร่างกายออกไป เพราะจะเป็นการรักษาสุขภาพของตนเองให้อยู่ดี”


ขอขอบคุณข้อมูลจาก:  www.vcharkarn.com

อัพเดทล่าสุด