เสี่ยงโรคมะเร็งช่องปากแน่นอน!! ถ้าหากไม่กระทำ 8 สิ่งนี้เป็นประจำ


47,617 ผู้ชม

อวัยวะในช่องปากอาจเกิดโรคมะเร็งได้ในทุกตำแหน่ง ได้แก่ ลิ้น กระพุ้งแก้ม ริมฝีปาก เหงือก เพดานปาก พื้นปากใต้ลิ้น ลิ้นไก่ ต่อมทอนซิล และส่วนบนของลำคอ


อวัยวะในช่องปากอาจเกิดโรคมะเร็งได้ในทุกตำแหน่ง ได้แก่ ลิ้น กระพุ้งแก้ม ริมฝีปาก เหงือก เพดานปาก พื้นปากใต้ลิ้น ลิ้นไก่ ต่อมทอนซิล และส่วนบนของลำคอ
มะเร็งในช่องปาก ส่วนใหญ่มักพบในคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป และพบน้อยลงหลังจากอายุ 60 ปีไปแล้ว และมักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง

กลุ่มที่มีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งช่องปาก

– พบว่าประมาณ 90% ของผู้ป่วยมะเร็งช่องปากเป็นผู้ที่สูบบุหรี่และดื่มสุรา จะมีโอกาสเป็นมะเร็งมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่และดื่มสุราถึง 15 เท่า
– การรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่ร้อนจัดเกินไป เนื่องจากความร้อนที่มาจากอาหาร ควันบุหรี่ และแอลกอฮอล์ จะทำให้เกิดการระคายเคือง และอาจทำให้กลายเป็นเซลล์มะเร็งได้
– หมากพลู พบว่าในหมากพลูนี้จะมีสารก่อมะเร็ง ซึ่งผู้ที่กินหมากและอมหมากไว้ที่กระพุ้งแก้มเป็นประจำจะเกิดการระคายเคืองจากความแข็งของหมากที่เคี้ยว ก็อาจทำให้เซลล์ของเนื้อเยื่อกระพุ้งแก้มเกิดการเปลี่ยนแปลงได้
– สุขภาพในช่องปากไม่ดี เช่น ฟันผุเรื้อรัง รวมถึงการระคายเคืองจากฟันที่แหลมคมผู้ที่มีฟันแตก ฟันบิ่น ขอบฟันที่คมจะบาดเนื้อเยื่อในช่องปาก ทำให้เป็นแผลเรื้อรังอยู่นาน ๆ แผลนั้นอาจกลายเป็นมะเร็งได้
– แสงแดด ทำให้เกิดมะเร็งที่บริเวณริมฝีปาก
– โรคติดเชื้อเรื้อรัง เช่น ซิฟิลิส วัณโรค
– การระคายเคืองเรื้อรัง เช่น แผลจากฟันปลอม
– เคยได้รับรังสีเอกซเรย์

มะเร็งในช่องปาก มีการแพร่กระจายได้ 3 ทาง คือ

1. การลุกลามแพร่กระจายไปยังอวัยวะข้างเคียง
2. เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลืองที่คอ (Lymphatic spread) พบได้บ่อย
3. เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปตามกระแสเลือด ซึ่งพบไม่บ่อย

การป้องกันและข้อควรปฏิบัติ

1. ควรแปรงฟันให้ถูกวิธีอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 3 – 5 นาที 

 2. ควรบ้วนปากหลังรับประทานอาหารทันทีและทุกครั้ง 

3. ควรล้างฟันปลอมชนิดถอดได้หลังรับประทานอาหารทุกครั้ง และควรถอดออกเวลากลางคืน

4. ควรใช้ฟันทุกซี่เคี้ยวอาหาร ไม่ควรถนัดเคี้ยวข้างเดียว เพื่อให้เหงือกและฟันแข็งแรง

5. ควรไปพบทันตแพทย์ทุก

6 เดือน เพื่อตรวจหาสิ่งผิดปกติถึงแม้จะไม่มีอาการเจ็บปวดก็ตาม

6. ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

7. ควรใช้ยาตามทันตแพทย์และแพทย์สั่ง เพื่อผลการรักษาที่ดีและป้องกันการดื้อยา

8. หมั่นตรวจช่องปากอย่างง่าย ๆ ด้วยตนเอง

ที่มา - ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง
ถาพ Dental Bliss Bangkok  /  Khám phụ khoa

อัพเดทล่าสุด