เตือน! 5 เครื่องดื่ม ที่ไม่ควรกินคู่กับยา อันตรายมากๆ! เสี่ยงตับวายเฉียบพลัน


6,951 ผู้ชม

เนื่องจากคิดว่า การรับประทานยาพร้อมเครื่องดื่มทุกชนิด ไม่น่าจะมีผลต่อการออกฤทธิ์ของยาแต่อย่างใด เคยสงสัยไหมว่าเพราะเหตุใดจึงมีข้อแนะนำดังกล่าวข้างต้น และข้อมูลด้านล่างนี้คือเหตุผลของ 5 เครื่องดื่มต้องห้าม ที่ไม่ควรทานกับยา


เนื่องจากคิดว่า การรับประทานยาพร้อมเครื่องดื่มทุกชนิด ไม่น่าจะมีผลต่อการออกฤทธิ์ของยาแต่อย่างใด เคยสงสัยไหมว่าเพราะเหตุใดจึงมีข้อแนะนำดังกล่าวข้างต้น และข้อมูลด้านล่างนี้คือเหตุผลของ 5 เครื่องดื่มต้องห้าม ที่ไม่ควรทานกับยา


1. ชา กาแฟ   
มักมีสารกระตุ้นประสาทที่รู้จักกันดีคือ  คาเฟอีน  ที่ทำให้รู้สึกสดชื่น  แต่หากได้รับมากเกินไปจะทำให้กระวนกระวาย  ใจสั่น  นอนไม่หลับและรับประทานร่วมกับยาที่กระตุ้นระบบประสาท  เช่น  pesudoephedrine  ซึ่งพบได้ในยาสูตรผสมแก้หวัดที่หาซื้อได้ทั่วไป  ก็อาจทำให้เกินอาการเหล่านั้นมากขึ้นหรือนานขึ้น  ยาบางอย่างทำให้คาเฟอีนอยู่ในร่างกายได้นานขึ้นได้แก่  ciprofloxacin  cimetidine  เมื่อต้องรับประทานยาเหล่านี้ควรงดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนชั่วคราว

2. นม 
เพราะแคลเซียมที่มีอยู่ในนม จะยับยั้งการดูดซึมปฏิชีวนะซึ่งอาจจะเป็นตัวยาที่คุณทานเข้าไป

3. น้ำผลไม้ (รสเปรี้ยว)  
เช่น น้ำส้ม น้ำมะนาว เพราะเป็นตัวการยับยั้งเอ็นไซม์ ที่ช่วยเปลี่ยนแปลงยาบางชนิด ให้ร่างกายนำไปใช้ ทำให้ยามีประสิทธิภาพน้อยลง แต่ออกฤทธิ์ข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ มากขึ้น

4.น้ำอัดลม
แน่นอนว่า แก๊สในน้ำอัดลมจะไปกัดกระเพาะและขัดขวางให้ตัวยาดูดซึมไม่ดี

5. แอลกอฮอล์  
เป็นที่ทราบกันดีว่าแอลกอฮอล์มีฤทธิ์กดประสาท  ทำให้สติสัมปชัญญะของเราลดลง  หากรับประทานร่วมกับยาที่มีฤทธิ์กดประสาท  เช่น  ยาแก้แพ้  ยาคลายกังวล  ยาต้านซึมเศร้า  อาจทำให้ง่วงซึม  ขาดสมาธิ  ได้มากกว่าปกติถ้ารุนแรงอาจถึงขั้นหมดสติ  และหยุดหายใจไปเลยก็ได้  แอลกอฮอล์ยังมีพิษต่อตับหากรับประทานร่วมกันกับยา  พาราเซตามอล  หรือยาอื่นที่มีผลต่อตับก็มีโอกาสทำให้เกิดตับวายเฉียบพลันได้  ยาต้าน เชื้อ  Metronidazole  เมื่อรับประทานร่วมกันกับแอลกอฮอล์จะทำให้เกิดอาการผิวหนังแดงจากการขยายตัว ของหลอดเลือด  โดยเฉพาะที่ใบหน้า  ร่วมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน  หัวใจเต้นเร็ว  เนื่องจากแอลกอฮอล์เป็นตัวทำละลายที่ดี  อาจเปลี่ยนแปลงการดูดซึมยาหลายชนิด  โดยเฉพาะทำให้ยาบางชนิดดูดซึมได้มากขึ้น  ส่งผลให้เกิดผลข้างเคียง  จากการได้รับยาเกินขนาดได้

ดังนั้น ขอย้ำอีกทีว่าน้ำเปล่ากับยาดีที่สุด นอกจากจะไม่มีผลกับยาที่รับประทานแล้วหากดื่มในปริมาณที่เพียงพอยังช่วย ละลายยา เพิ่มการดูดซึมและลดผลข้างเคียงบางอย่างที่เกิดขึ้นกับยา โดยเฉพาะยาที่ทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร

ขอบคุณที่มาจาก https://www.deedaily.comและ  ch3.sanook.com

อัพเดทล่าสุด