มาดูวิธีป้องกันและรักษาส้นเท้าแตกแบบง่ายๆกัน


7,532 ผู้ชม

ส้นเท้าแตกทำไง ปัญหาสุดเซ็งสำหรับใครหลายคน โดยเฉพาะคุณสาว ๆ ที่มีปัญหาส้นเท้าแตกแห้งเป็นลายแทงทั้งหลาย รีบมารักษากันดีกว่าค่ะ อย่าปล่อยไว้จนลุกลาม เพราะจะทำให้คุณเสียบุคลิกอย่างมาก


วิธีป้องกันและรักษาส้นเท้าแตก
ส้นเท้าแตก ทำไง ปัญหาสุดเซ็งสำหรับใครหลายคน โดยเฉพาะคุณสาว ๆ ที่มีปัญหาส้นเท้าแตกแห้งเป็นลายแทงทั้งหลาย รีบมารักษากันดีกว่าค่ะ อย่าปล่อยไว้จนลุกลาม เพราะจะทำให้คุณเสียบุคลิกอย่างมาก

ส้นเท้า คือ บริเวณด้านล่างของเท้า ประกอบด้วยเส้นเลือด เส้นประสาท และผิวหนังหลายชั้น ซึ่งบริเวณนี้จะมีความหนาค่อนข้างมาก มีหน้าที่ในการรองรับน้ำหนักของร่างกาย เมื่อใช้งานเท้าบ่อยๆ จากการเสียดสีกับพื้นรองเท้า พื้นไม้ พื้นปูนซีเมนต์ หรือสัมผัสกับอากาศหนาวเย็นมากเกินไป จะทำให้เท้าขาดความชุ่มชื้น แห้งกร้าน และแตกเป็นร่องลึก เหมือนรอยร้าว เวลาเดินอาจรู้สึกเจ็บปวด และกลายเป็นที่สะสมของคราบสกปรกมากมาย ซึ่งการแตกของเท้าขึ้นอยู่กับสภาพผิวของแต่ละคนด้วย ส่วนผู้ที่ใช้เท้าสัมผัสกับพื้นโดยตรง บริเวณส้นเท้าจะสัมผัสกับพื้นมาก ทำให้ผิวเริ่มด้านและขาดความยืดหยุ่น หนา แข็ง จนแห้งและแตกในที่สุด
ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นส้นเท้าแตก
คนที่มีรูปเท้าผิดปกติ (เท้าแบน หรือมีส่วนโค้งของฝ่าเท้าที่มากกว่าปกติจะมีความเสี่ยงในการเกิดการอักเสบของพังผืดฝ่าเท้า เพราะรับน้ำหนักไม่เหมาะสม), การสวมรองเท้าส้นสูง ยืนหรือเดินเป็นเวลานาน หรือ ขนาดของรองเท้าไม่พอดีกับเท้า เช่น คับเกินไป หรือหลวมเกินไป, ผู้ที่อ้วนหรือเริ่มอ้วน หรือน้ำหนักตัวเพิ่มจากการตั้งครรภ์ มีโอกาสเกิดอาการส้นเท้าแตกได้, คนที่จำเป็นต้องยืน เดินเป็นเวลานาน หรือคนที่เล่นกีฬา จะมีการกระแทกส้นเท้าหลายครั้ง เช่น นักวิ่ง นักเต้นรำ เป็นต้น, โรคข้ออักเสบเรื้อรัง ซึ่งมักมีอาการข้ออักเสบที่อื่นร่วมด้วย เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือโรคข้อสันหลังอักเสบยึดติด, โรคเบาหวาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่คุมระดับน้ำตาลไม่ดี จะส่งผลให้ความยืดหยุ่นของเส้นเอ็นและพังผืดฝ่าเท้าลดลง เกิดการบาดเจ็บง่าย
การป้องกันอาการส้นเท้าแตก
เลือกรองเท้าให้ขนาดพอดีกับเท้า, ใส่ถุงเท้าตอนนอนเพื่อรักษาความชุ่มชื้นของเท้า หากบางคนชอบแช่เท้าไม่ควรแช่นานจนเกินไป เพราะจะทำให้เท้าสูญเสียความชุ่มชื้น หรืออาจจะใช้ครีมที่มี “ยูเรีย” ที่จะทำหน้าที่ดูดความชื้นจากอากาศเข้าสู่ผิว ทำให้เท้าไม่แห้ง ทาบริเวณเท้า ซึ่งวิธีทาครีมที่มียูเรียไม่เพียงแต่ใช้ป้องกันเท่านั้น แต่ยังใช้ในการรักษาอาการส้นเท้าแตกได้อีกด้วย
การรักษาอาการส้นเท้าแตก
แช่เท้าในน้ำสบู่ประมาณ 15 นาที ล้างสบู่ออกเช็ดให้แห้ง แล้วใช้วาสลีนประมาณ 1 ช้อนชา ผสมกับน้ำมะนาว 1 ลูก ถูบริเวณที่แตก หรือที่กระด้าง ควรทำเป็นประจำทุกวันจนกว่าจะหาย, ใช้ด้านในของเปลือกกล้วยสุก ทาบริเวณส้นเท้าวันละ 4-5 ครั้ง ทำติดต่อกันประมาณ 4-5 วัน เท้าที่แห้งแตกก็จะชุ่มชื้นขึ้น, นำน้ำมะนาวกับดินสอพองมาผสมกันทาบริเวณที่แตกก่อนนอนทุกคืน

ข้อมูลดีๆจาก Maeban

healthfood.muslimthaipost.com

อัพเดทล่าสุด