30 พืชผักสวนครัว เป็นยาชั้นดี ต้านสารพัดโรค!!


3,179 ผู้ชม

สุดยอด 30 พืชผักสวนครัว เป็นยาชั้นดี ต้านสารพัดโรค!! ที่หลายคนยังไม่รู้ มีอะไรบ้างมาดูกันเลย.....


1. กระถิน
สรรพคุณ ยอดและฝักใช้กินเป็นผักชนิดหนึ่ง แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ช่วยให้เจริญอาหาร บำรุงหัวใจ // เมล็ดแก่ แก้ขับลม ขับระดูในสตรี บำรุงไตและตับ แก้อาการนอนไม่หลับ เป็นยาอายุวัฒนะ ฯ
2. กะเพรา
สรรพคุณ ดอก ใบ กิ่ง ใช้ปรุงเป็นยาบำรุงธาตุ แก้ปวดท้อง ท้องขึ้น เฟ้อ เรอ เหม็นเปรี้ยว แก้ลมตาล ลมทรางในเด็ก แก้ลมตีป่วนในท้อง ช่วยขับลม ใช้ผายลมและเรอออกมา แก้ลมจุกเสียด ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ใช้ปรุงผสมกับสมุนไพรอื่นๆ เป็นยาเขียว ยาลม ยาธาตุ และยาแก้กษัย // ราก ใช้ฝนใส่ฝาหม้อดินผสมกับสุราขาว หยอดใส่ปากเด็กโตอายุ 3-5 ขวบขึ้นไป ช่วยให้ลมในกระเพาะลำไส้ เด็กเล็กกว่านี้ใช้เป็นยาแก้ถ่ายขี้เทา ช่วยให้ผายลมในกรร๊เด็ดท้องอืด ท้องเฟ้อ มักจะเรอน้ำนม ฯ
3. กระเทียม
สรรพคุณ กระเทียม มีชื่อเรียกแตกต่างกันตามสภาพท้องถิ่น มักลิ่นเผ็ดร้อน ทางเหนือเรียก หอมเทียม ภาคอีสานเรียก หอมขาว ปักษ์ใต้เรียก หัวเทียม ใช้หัวสดตำทาแก้โรคผิวหนัง เช่น เกลื้อน กลาก เรื้อนกวาง ตลอดจนผดผื่นคันตามตัวทั่วไป ปรุงผสม สมุนไพรอื่น แก้ริดสีดวงทวาร ริดสีดวงลำไส้ แก้ขับลมปัสสาวะ แก้กษัยบำรุงไต แก้ขับระดูในสตรีพิการ มีกลิ่นคาว เหม็นเน่า แก้อาการโรคประสาทอ่อนๆ อาการนอนไม่หลับ อาหารเหม่อลอย สะดุ้งผวาตกใจง่าย แก้ขับเนื้อร้ายภายใน สมานแผลในกระเพาะและแผลในลำไส้ แก้โรคหืด อัมพาต ลมตีขึ้นทำให้หน้ามืดตาลาย ลมตีลงทำให้ปั่นป่วนในท้อง และลำไส้ เกิดอาการคลื่นเหียน อาเจียน อาการปวดตามบั้นเอว สันหลังและชายดครงทั้งสองข้าง ใช้ทุบโขลกสระผม แก้โรคผิวหนัง ขจัดรังแคบนศรีษะ ป้องกันผมหงอกก่อนวัย เป็นยาอายุวัฒนะ
4. กระชาย
สรรพคุณ ตำรับยาใช้หัวปรุง แก้อาการปากเปื่อย ปากเป็นแผล ปากแตกแห้ง ร้อนในกระหายน้ำ แก้ใจคอหวาดหวิวผวา แก้ปวดท้อง ลงท้อง จุกเสียด แก้บิด มูกเลือด บำรุงกำลัง บำรุงน้ำดี ฯ
5. กระเจี๊ยบ
สรรพคุณ ใบ ใช้เป็นยากัดเสมหะ แก้ไอคันคอ ขับไขมัน และเมือกในลำไส้ให้ออกทางทวารหนัก // เมล็ด ใช้ปรุงยาแก้ดีพิการ บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ บำรุงไต ฝักหรือผล กำลังดิบๆ ไม่แก่เกินไป ต้มกินบำรุงธาตุ บำรุงไต ขับปัสสาวะ ทำให้คอชุ่มเย็นๆ
6. กล้วยน้ำหว้า
สรรพคุณ กล้วยชนิดอื่นๆ ที่กินไม่ได้ มักจะปลูกไว้ทำยากล้วยน้ำหว้า ใช้กินผลสุกวันละ 2-3 ลูก ช่วยให้บำรุงกำลังเจริญอาหาร ช่วยระบบขับถ่าย แก้ท้องผูก แก้โรคกระเพาะ ลำไส้เป็นแผล และเป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงธาตุ ทำให้กระเพาะและลำไส้ไม่ค้างกากอาหารเก่าๆ
7. ขมิ้น
สรรพคุณ ใช้ขับระดูสำหรับสตรี ที่มีกลิ่นเหม็น และเลือดจับกันเป็นก้อนดำ จะช่วยละลายให้แตกเป็นลิ่มๆ ออกมา แก้บิดเป็นมูกเลือด แก้น้ำดีพิการ ขับลมให้ผายออกมาทางทวารหนัก หรือให้เรอออกมาทางปาก แก้น้ำดีพิการ ขับลมให้ผายออกมาทางทวารหนัก หรือให้เรอออกมาทางปาก ฝนหยอดตา แก้อาหารตาแดง ตาเปียกแฉะมีขี้ตาเป็นประจำในฤดูแล้ง ยังแก้ธาตุพิการ ท้องร่วง ใช้ดมแก้หวัด ขับเสมหะในลำคอ ผสมสมุนไพรอย่างอื่นๆ เป็นยาคุมธาตุยังแก้ฟกช้ำ ดำเขียวตามร่างกาย ด้วยการเอาหัวสดๆ มาตำพอกบรรเทาอาการอักเสบและเคล็ดยอกได้ด้วยๆ
8. ข่า
สรรพคุณ แก้ท้องเสีย ไล่ลมในท้อง หรือมีอาการปวดมวนหรือแน่น จุกที่หน้าอก ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ เวลากินอาหารมากๆ จะไม่ท้องเสียหรือปวดท้อง ช่วยขับลมในลำไส้และลมในกระเพาะ ใบใช้ตำพอกหรือทาโรคผิวหนัง หิด กลาก เกลื้อน ถ้าหญิงคลอดลูกใหม่ๆ เลือดขัดใช้หัวข่าสดมาบด ผสมน้ำมะขามเปียกและเกลือแกง บับคั้นเอาแต่น้ำๆ ประมาณชามแกงย่อมๆ ให้ดื่มเข้าไปจนหมด จะสามารถขับเลือดเสียออกมาจนหมด และยังช่วยทำให้มดลูกเข้าอู่เร็วยิ่งขึ้น ฯ
9. ขี้เหล็ก
สรรพคุณ แก่น แก้ธาตุพิการ อาหารไม่ย่อย บำรุงธาตุไฟ แก้หนองในและการมโรคในบุรุษ ราก แก้ไข้หัวลม เมื่ออากาศเปลี่ยนฤดูกาล แก้ปวดเมื่อย เหน็บชา แก้กษัย บำรุงไต ดอก แก้โรคประสาท อาการนอนไม่หลับ แก้หอบ หืด บดผสมน้ำฟอกผมบนศรีษะขจัดรังแค เปลือก แก้ริดสีดวงทวาร ริดสีดวงลำไส้ แก้โรคเบาหวาน สมานแผลให้หายเร็ว ใบแก่ แก้ ถอนพิษ ถ่ายพิษ แก้กามโรค ตำพอกที่แข้งขา มือเท้าที่มีอาการบวมเนื่องจากเหน็บชา ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ และพิษจากแมลง สัตว์ กัดต่อย กิ่งใบ ทำเป็นยาระบาย ถ่ายพิษ ขับเสลดในคอ แก้ไข้จับสั่น (มาเลเรีย) จนม้ามย้อย แก้โรคเหน็บชา แก้ร้อนในกระหายน้ำ ดีนัก ฯ
10. แคขาว แคแดง
สรรพคุณ เปลือกแค แก้ร้อนในกระหายน้ำ ขับเสมหะในลำคอ บำรุงกระเพาะและลำไส้ นอกจากนี้ แค ทั้งเปลือกที่นำมาต้ม ยอด ดอกและฝักที่เรานำมากินเป็นผักประจำวันนั้น แก้ท้องเดินท้องร่วง สมานแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ แก้บิดมูกเลือด แก้ไข้หัวลม (คือก่อนเข้าฤดูหนาว) แก้ริดสีดวงจมูก ใบใช้ตำพอกแผลสด เพื่อสมานเนื้อให้หายเร็ว เปลือกนอดของต้นแค ใช้ฝนเอามาทาแผลเปื่อย แผลสดได้ผลดี ฯ
11. เหง้าขิงแห้ง
สรรพคุณ เป็นยาจำพวกยาอายุวัฒนะ บำรุงร่างกาย บำรุงหัวใจ บำรุงธาตุไฟ ขับลมในลำไส้ ให้ผายลมออกมา แก้ร้อนในกระหายน้ำ ช่วยย่อยอาหาร แก้ลมพรรดึก แก้อาการปวดท้อง คลื่นเหียนอาเจียน แก้บิดมีตัว บิดมูกเลือด แก้อุจจาระเป็นฟองเหลือง ขาวและมีกลิ่นเหม็นคาวจัด แก้และบำรุงหลอดคอให้ชุ่มเย็น ขับละลายก้อนนิ่วฯ ตำรับยาแผนโบราณ แก้ลมพานไส้ แน่นหน้าอก แก้นอนไม่หลับ แก้โรคปากเปื่อย คอเปื่อย ฯ
12. ตะไคร้
สรรพคุณ นิยมใช้หัวนำมาคั่วไฟ แก้ขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา แก้นิ่วในระยะแรกๆ แก้ปัสสาวะหยด และยังใช้ใบมาย่างไฟให้เหลือง แก้อาการปวดท้อง ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ ลมมากในลำไส้ บรรเทาอาการร้อนใน ริมฝีปากแห้ง
ตะไคร้หอม บางท้องถิ่นเรียก ตะไคร้แดง เพราะลำต้นสีแดง

สรรพคุณ ตะไคร้หอม แก้ริดสีดวงที่เป็นแผลในปาก ริมฝีปากแตก ร้อนในกระหายน้ำ สตรีมีครรภ์กินมากไม่ได้ แก้ขับเลือดเสีย แก้ขับลมในลำไส้ ใช้ทาตามแขน ขา มือ เท้า ป้องกันยุงและแมลงไม่ให้มารบกวนได้ดี ฯ
13. ตำลึง
สรรพคุณ ใบ ใช้ตำหรือบดผสมแป้งดินสอพอง พอกแผลฝี ช่วยบีบรีดหนองให้แตกออกมา เพื่อให้แผลฝีหายเร็ว ใช้ใบปรุงผสมกับสมุนไพรอื่นๆ เป็นยาเขียว ยาเย็น แก้ขับอาการร้อนในและพิษไข้ให้ตัวเย็นลง ตำใบทาตามผิวหนังแก้ผด ผื่นคัน และใช้ถอนพิษตามผิวหนังที่ถูกขนหมามุ่ย ให้หายคันคะเยอได้ ขับพิษร้อนพิษแสบ ปวด และคันตามตัวให้หาย เถา ใช้ตัดมาคลึงให้นิ่ม บีบเอาน้ำภายในออกมา หยอดตา แก้ตาฟ่าง ฟาง ตาแดง ตาแฉะ มีขี้ตามาก ราก แก้ตาเป็นฟ่า ตาติดเชื้อ ดับพิษปวดแสบ ปวดร้อนในตา บำรุงธาตุ เจริญอาหาร บำรุงหัวใจ บำรุงน้ำดี ทำให้ระบบขับถ่ายสะดวก รักษาโรคลำไส้และกระเพาะอาหาร ทำให้ตาแจ่มใส ผลสุก จะมีสีแดง ใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย ฯ
14. ชะอม
สรรพคุณ รากใช้ฝนกับน้ำหรือเหล้าขาว แก้ขับลมใน ลำไส้และลมในกระเพาะอาหาร ให้ผายลมออกมา แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อเรอเหม็นเปรี้ยว แก้ปวดมวน ปวดแสบปวดร้อน ยอดกินแทนผักมากๆ ช่วยระบบขับถ่ายได้ดี นำมาเป็นยาบำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร เจริญอาหาร ฯ
15. มะกรูด มัน
สรรพคุณ ใบ แก้ขับเสมหะ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้พิษ ฝีภายใน แก้เลือดออกตามไรฟัน ที่เรียกว่า ลักเปิดลักปิด ผล ใช้แก้ขับลมในลำไส้กระเพาะอาหาร แก้ขับระดูเสีย และบำรุงเลือดในสตรี แก้ลมจุกเสียดภายในท้อง ตามซี่โครงทั้งสองข้าง ราก ใช้ ถอนพิษสำแดงสุมรากและลูกให้เกรียม ทำผงละลายน้ำผึ้ง ใช้ป้ายลิ้นเด็กทารกแรกคลอด แก้ลิ้นเป็นฝ้าขาว ช่วยขับขี้เทา ขับลมให้ผายลมในทารก ฯ
16. มะนาว
สรรพคุณ ใบ ใช้แก้ให้กัดและฟอกเลือดในสตรีที่มีระดูเสีย ใช้ใบต้มกินให้ ขับเลือด ขับลม เมล็ดใน คั่วให้เหลืองเกรียมใช้ผสมสุราขาว เป็นยาขับเสลดในลำคอ ในลำไส้ แก้โรคตาลทรางในเด็กทารก ราก ใช้ถอนพิษไข้ทับระดู ไข้กลับ ๆ ซ้ำ ๆ ไม่รู้จักหายฝนผสมกับสุราทาแก้ฝี แก้ปวดหัวฝี เร่งให้บีบให้แตกเร็วขึ้น น้ำใช้ผสมน้ำผึ้งแท้ กวาด คอเด็กที่เป็นตาลทราง ตาลขโมย หรือลิ้นมีฝ้าขาวหนาจัด ช่วยขับลมในท้องเด็กทารก มะนาว ใช้กระทุ้งพิวถอนไข้ผิดสำแดง แก้เลือดออกตามไรฟัน และแก้นอนสะดุ้ง หนังตาแข็ง นอนไม่ค่อยหลับ แก้ประสาท มีสติหลงๆ ลืม ๆ หน้ามืดตามัวความจำเสื่อม ฯ
17. มะเขือพวง
สรรพคุณ ทำให้เจริญอาหาร บำรุงธาตุ ฯ
18. มะเขือเทศ
สรรพคุณ ให้มีวิตามินซี แก้เลือดออกตามไรฟัน (ลักปิดลักเปิด) หากกินสม่ำเสมอจะทำให้ไม่เป็นมะเร็งในลำไส้ แก้โรคนอนไม่ค่อยหลับ หรือมักนอนผวก สะดุ้ง หรืออาการตกใจง่าย ฯ
19. มะละกอ
สรรพคุณ ราก รสฉุนเอียน ใช้แก้โรคหนองใน ขับเลือด หนองในกระเพาะปัสสาวะ บำรุงไต ก้านใบ มีสรรพคุณเช่นเดียวกันกับทั้งฆ่าพยาธิในลำไส้และในกระเพาะอาหาร แก้โรคมุตกิด ระดูขาว เหง้า ตรงที่ฝังดิน มีรากงอกโดยรอบ ใช้ทำยาขับและละลายเม็ดนิ่ว ในกระเพาะปัสสาวะได้ผลดี
20. มะระ
สรรพคุณ มะระ ชาวจีนเรียก "โกควยเกี๋ยะ" บางท้องถิ่นเรียกผักไห่ ภาคเหนือเรียก หม่านอยยอกและใบอ่อน แก้โรคปวดตามข้อตามกระดูก ที่เรียกว่า รูมาติซั่ม และเก๊า ซึ่งทำให้คนไทยเราส่วนมากเป็นโรคปวดตามข้อมือ ข้อเท้า ตามหัวเข่า จะมีอาการปวดบวม และยังแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ธาตุพิการ บำรุงไต เมล็ดถอน แก้ฆ่าพยาธิในลำไส้และกระเพาะ เป็นยาระบายอ่อนๆ ทำให้ตัวชุ่มเย็น แก้ไข้ ละบายพิษต่างๆ ให้ระบายออกทางปัสสาวะและอุจจาระ แก้ปวดเมื่อย ขับฤดูเสียในสตรี บำรุงน้ำดี บำรุงตับและม้ามให้ปกติ ยอดมะระ ใช้แก้อาการเจ็บคอ ดับพิษร้อนแก้ไข้เปลี่ยนฤดู และแก้ข้อบวม เข่าบวม ข้อนิ้วปวด ช่วยให้มีระดูปกติ บำรุงมดลูกให้ปกติ บำรุงเลือดให้ปกติ หากเอาใบแก่และเถามาต้มน้ำดื่มกินแทนน้ำหรือน้ำชาได้จะช่วยขับพยาธิในลำไส้ และในกระเพาะ แก้กระหายน้ำ ทำให้อกและหัวใจชุ่มเย็น ช่วยให้เจริญอาหาร และช่วยระบบขับถ่ายให้สะดวกสบาย ในปัจจุบันนี้ วงการแพทย์ไทยได้วิจัยค้นพบว่า สามารถใช้แก้โรดเอดส์เบื้องต้นได้ เมื่อทดอลงกับผู้ป่วยทำให้เม็ดผื่นคัน และแผลในร่างกายไม่ลุกลามต่อไป หัวผดผื่นคันยุบลง และทำให้กินได้ นอนหลับ ผิวพรรณและมีกำลังดีขึ้น ฯ
21. มะรุม
สรรพคุณ เปลือกลำต้น ใช้ถากมาต้นน้ำกิน เป็นยาช่วยขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ ช่วยให้ผายลมและเรอ บำรุงธาตุ ราก รสเผ็ด หวานขม ใช้แก้อาการบวมน้ำ บำรุงธาตุไฟ เจริญอาหาร ยอดและฝักอ่อน ช่วยให้เจริญอาหาร แก้ไข้หัวลม (เปลี่ยนฤดู จากฝนเข้าสู่หนาว...) ช่วยย่อยอาหาร ฯ
22. มะแว้ง
สรรพคุณ ใบและราก ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ เมื่อปรุงกับสมุนไพรอื่นๆ บดเป็นผง ทำเป็นลูกกลอน แก้วัณโรคปอด วัณโรคในลำไส้ และวัณโรคในกระดุก เป็นยาแก้ไข้ แก้ไอเป็นเสมหะ ผลหรือลูกมะแว้ง ใช้บำบัดโรคเบาหวาน บำรุงน้ำดี น้ำตับอ่อน คนที่มีความดันสูงหรือเป็นโรคเบาหวาน หากกินผลมะแว้งเสมอๆ จะทำให้อาการโรคค่อยทุเลาบรรเทาลง เจริญอาหาร จะรู้สึกชุ่มคอและชุ่มปอด หญ้าอกเย็น และยังช่วยแก้ไข้สันนิบาต แก้คอมีเสลดเหนียว ทำให้ระคายคอและมีอาการไออยู่เสมอๆ แก้ขับและละลายเสลดในลำไส้ ช่วยให้ระบายออกทางทวารหนัก กินเป็นประจำ จะไม่ค่อยเป็นหวัด คัดจมุก และความดันโลหิต มะแว้งยังใช้ปรุงยาอื่นเป็นยาเขียว ยาแก้เบาหวาน และอื่นๆ อีกหลายขนาน ผลแก่ ใช้บดผสมสุราขาว ใช้กวาดคอเด็กทารก แก้เด็กร้องเด็กอ้อน เพราะลำคอมีพิษไข้ขึ้น ร้อนในกระหายน้ำ และมีเม็ดเล็กๆ รอบในลำคอ ฯ
23. แมงลัก
สรรพคุณ แก้ ขับลมในกระเพาะและลำไส้ บำรุงธาตุแก้โรคลำไส้พิการ แก้พิษตาลทรางในเด็กทารก ช่วยให้เจริญอาหาร เมล็ดใช้ผสมกับน้ำหวานหรือน้ำเชื่อม กินแล้วช่วยดับร้อนในกระหายน้ำ ทำให้ชุ่มคอ บำรุงหัวในให้ชุ่มฉ่ำ อารมณ์แจ่มใส ช่วยสมานแผล ช่วยให้แผลหายเร็ว และโรคกระเพาะลำไส้ ฯ
24. สัปปะรด
สรรพคุณ เหง้า แก้ขัดเบา ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว ช่วยละลายก้อนนิ่ว แก้หนองใน แก้ระดูขาวมีอาการคันในช่องคลอดของสตรี ผล ใช้ปลอกเปลือก เอาตาออกเสีย ใช้กินจิ้มเกลือ ช่วดกัดเสลดในลำคอและลำไส้ ช่วยให้ปัสสาวะสะดวก บำรุงกระเพาะปัสสาวะได้ดีมาก แกนในผล ถ้า คนฟันดี สมควรกัดเคี้ยวกินให้หมดเพราะมีประโยชน์เช่นเดียวกับเหม้าและเนื้อผลของมัน และยังเอาผลไปทำเหล้าไวน์สับปะรด ดื่มกินบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง บำรุงไตแก้กษัย เป็นยาจำพวกอายุวัฒนะ เสริมอวัยวะเพศชายให้แข็งแรง ชายใดที่มีอวัยวะเพศตายด้านควรทำกินประจำ สำหรับสตรีก็เช่นกันควรกินเนื้อผลสับปะรดสัปดาห์ละครั้งจะช่วยเสริมมดลูกให้ แข็งแรงไม่เป็นตกเลือด ระดูขาวอีกต่างหาก ฯ
25. บวบ
สรรพคุณ บวบหอม ใช้แก้อาการท้องเดิน เจริญอาหาร บวบขม นำเอาผลแห้งไปปรุงยาสมุนไพร เมล็ดและผลใช้แก้ขับเสมหะ ขับเสลด แก้ไอคันคอ รากและใบ ใช้บนกับเส้นยาสูบ แก้ริดสีดวงจมูก บวบเหลี่ยม ช่วยให้เจริญอาหาร บำรุงธาตุ ฯ
26. ใบบัวบก
สรรพคุณ เป็นยาบำรุงหัวใจ แก้เมื่อยล้า เมื่อยขบ แก้อ่อนเพลีย แก้ท้องเดิน ท้องเสีย แก้บิดเริ่มเป็น ขับปัสสาวะ แก้อาการอิดโรย คลายเครียดในยามเช้า สาย บ่าย เย็น ได้ดีมากๆ คนที่ทำงานหนัก ช้ำใน หรือดื่มเครื่องดองของเมาหนัก ให้ดื่มน้ำใบบัวบกนี้ จะมีอาการกระปรี้กระเปร่า หูตาสว่าง จิตใจเบิกบาน จะกระจายละลายเลือดภายในให้หายได้รวดเร็วดีนัก แล ฯ
27. พริกไทย
สรรพคุณ เม็ด มีรสเผ็ด ฉุน เม็ดแห้ง ที่มีเปลือกดำติดอยู่ เรียกว่า พริกไทยดำ ใช้พริกไทยดำ หรือพริกไทยร่อน จะต้องเอาอย่างนั้น หมอแผนโบราณคงมีเหตุผลของท่านแน่นอน แก้อาการจุกเสียดแน่นหน้าอก ปวดมวนในท้อง ท้องขึ้น เฟ้อ เรอ เหม็นเปรี้ยว บำรุงธาตู เมื่อปรุงผสมกับสมุนไพรอื่นๆ เช่น แห้วหมู ดีปลี โด่ไม่รู้ล้ม สะค้าน เถาคันแดง เป็นต้น ท่านว่าเป็นยาอายุวัฒนะ ใบและราก แก้ลมตีขึ้น ทำให้มีอาการหน้ามืด ตามัว ปวดหัวตัวร้อน เครียดหนัก นัยน์ตาฟ่าฟาง แก้กษัย ไตพิการ บำรุงธาตุ ราก ถ้าปลูกตามต้นไม้ เช่น มะม่วงป่า ยิ่งดี ให้เก็บราก ตามโคนต้นและตามข้อเถา ใช้แก้ลมจุกเสียด แก้ลมในท้อง มีอาการท้องลั่นท้องร้องโครกคราก และมีอาการปั่นป่วน จนเบื่ออาหารและนอนไม่หลับ เครือเถา แก้อติสาร คือ อาการท้องร่วงอย่างแรงและท้องเดินหลายๆ ครั้ง แก้ลมในทรวงอก ใช้ปรุงยาได้ทั้ง ราก เถา เมล็ด ใบดอก ฯ
28. ผักบุ้ง
สรรพคุณ ผักบุ้งขาว หรือผักบุ้งจีน ช่วยให้เจริญอาหาร เป็นยาถอนพิษ บำรุงธาตุ สรรพคุณของผักบุ้ง โดย เฉพาะผักบุ้งไฟแดง คนที่ชอบเป็นตาต้อ ตาแดง หรือคันนัยน์ตาบ่อยๆ ตลอดจนมีอาการตาฟ่าฟาง จำพวกคนสายตาสั้น จะทำให้สายตาที่แจ่มใส บำรุงสายตา ทำให้ไม่เป็นโรคกระเพาะ ฯ
29. โหระพา
สรรพคุณ ใช้ปรุงเป็นยาขับลมในกระเพาะและลำไส้ แก้ท้องอืด เฟ้อ เรอ เหม็นเปรี้ยว ช่วยขับลมทำให้เรอและผายลม คือ ทำให้เลือดลมเดินดี สำหรับเมล็ดแห้ง ใช้แก้บิดมีตัว และบิดมูกเลือด ล้างของเสียภายในลำไส้และในกระเพาะ ไม่ทำให้เป็นแผลในกระเพาะและตามลำไส้ สำหรับโหระพาทั้ง 5 คือ ราก ต้น ใบ ดอก เม็ด ใช้กินแก้บิด แก้ไขทรพิษตาลทรางในเด็กทารก แก้นอนไม่หลับ นอนสะดุ้งผวา ยอดโหระพา ช่วยให้เจริญอาหาร บำรุงธาตุ ฯ
30. ทับทิม
สรรพคุณ ดอกใช้ผสมยาอื่นๆ ปรุงธาตุ บำรุงธาตุ ปรุ่งเครื่องเทศ เช่นอบเชย และกานพลู ฯลฯ เป็นยาสมาน ไล่ลมในกระเพาะ ลำไส้ ช่วยให้เจริญอาหาร ราก ใช้ต้มกินสมานลำไส้ ฆ่าพยาธิตัวตืด พยาธิปากขอ พยาธิไส้เดือน ตลอดจนพยาธิเส้นด้ายได้ดี เปลือกต้นและเปลือกผลทับทิม แก้ โรคบิดเป็นตัว และบิดมูกเลือด กินต้มแก้ขับถ่ายของเสียเรื้อรัง และขับพยาธิทุกชนิดในลำไส้ แก้ล้างไขมัน (คอเลสโตรอล) ในลำไส้ ขับลมทุกอย่างอันเกิดจากพิษไข้ ยอดทับทิมอ่อน ใช้ต้มกินน้ำ แก้บำรุงธาตุ แก้ร้อนในกระหายน้ำ บำรุงหัวใจ แก้ท้องร่วงในเด็ก ใช้ยอดอ่อน 5-7 ยอด ต้มกับน้ำให้เดือด ยกลงให้เย็นแล้ว ให้เด็กเล็กดื่มกิน แก้อาการท้องเดิน ท้องร่วงเป็น้ำซาวข้าว สำหรับผู้ใหญ่ให้เอา ยอดอ่อน 7 ยอด ต้มน้ำกิน ประมาณ 1-2 แก้ว จะทำให้อาการท้องเดิน ท้องร่วง หรืออาเจียน ปวดมวนในท้องมีอาการบรรเทา เปลือกผลทับทิม ใช้เปลือกแห้งฝนผสมกับสุราหรือน้ำสะอาด ใช้ทาแผลให้ทั่ว ยาจะช่วยสมานและรัดแผลให้แห้งหายในเร็ววัน ทับทิมในเมืองไทยมี 2 ชนิด คือ (1) ทับทิมชนิดดอกขาว (2) ทับทิมชนิดดอกแดง มีสรรพคุณทางยาเสมอกัน ฯ

ที่มา: www.thaigold.info

อัพเดทล่าสุด