5 โรคร้ายที่ผู้หญิงควรระวัง เพราะอาจร้ายแรงถึงชีวิต


7,605 ผู้ชม

5 โรคที่สามารถพบได้ในผู้หญิง และจะทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง หรืออาจจะร้ายแรงถึงชีวิตได้แก่...


5 โรคที่สามารถพบได้ในผู้หญิง และจะทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง หรืออาจจะร้ายแรงถึงชีวิตได้แก่...

1. โรคหัวใจ

2. มะเร็งเต้านม

3. กระดูกพรุน

4. โรคซึมเศร้า

5. โรคภูมิคุ้มกัน
สาเหตุการตายอันดับหนึ่ง คือ โรคหัวใจ ตามมาด้วยโรคหลอดเลือดสมอง

ลองมาดูกันว่าแต่ละโรคมีความเสี่ยงจากอะไรและ สามารถป้องกันได้อย่างไร
1. โรคหัวใจ
โรคหัวใจเป็นสาเหตุการตายของทั้งผู้ชายและผู้หญิงเป็นอันดับต้น ๆ  ในผู้หญิง โรคหัวใจเป็นสาเหตุการตายสูงถึง 29 % ที่สำคัญคือเป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร และอาจทำให้ทุพลภาพได้ หรือทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลงได้
ส่วนใหญ่แล้วโรคหัวใจจะพบในผู้ชายได้มากกว่า แต่ที่น่าสนใจคือ ผู้หญิงที่เป็นโรคหัวใจ ไม่ได้รับการตรวจรักษา หรือได้รับการตรวจวินิจฉัยช้ากว่าที่ควร 

อาการของโรคหัวใจในผู้หญิง อาจจะไม่ใช่แค่อาการเจ็บหน้าอก แต่บางคนมาด้วยอาการปวดที่บริเวณขากรรไกร ปวดที่บริเวณหัวไหล่ หรือมีคลื่นไส้ อาเจียน เหนื่อย ซึ่งทำให้ไม่คิดว่าเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ
ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจไ้ด้แก่
  • อายุที่มากขึ้น
  • เพศชาย(มักจะเกิดโรคหัวใจในช่วงอายุที่น้อยกว่า)
  • พันธุกรรม
  • สูบบุหรี่
  • คอเลสเตอรอลในเลือดสูง
  • ความดันโลหิตสูง
  • ไม่ค่อยออกกำลังกาย
  • น้ำหนักเกินมาตรฐาน
  • เป็นโรคเบาหวาน
จากปัจจัยเสี่ยงที่พบ อาจแบ่งออกเป็นปัจจัยที่ควบคุมได้ และปัจจัยที่ไม่สามารถแก้ไขได้ ดังนั้นจึงควรแก้ไขในส่วนที่จัดการได้ เช่นการออกกำลังกาย การควบคุมน้ำหนัก งดสูบบุหรี่ ควบคุมระดับไขมันในเลือด ซึ่งจะทำให้ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดสมองได้
2. มะเร็งเต้านม 

มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้หญิง และถ้าพิจารณาจากสาเหตุการตายจากมะเร็งในผู้หญิง มะเร็งเต้านมเป็นสาเหตุการตายอันดับสองรองจากมะเร็งปอด
บางครั้งความวิตกกังวลว่าจะพบมะเร็งเต้านม ทำให้ผู้หญิงหลาย ๆ คนไม่กล้าไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจ หรือเืมื่อพบว่าเป็นแล้วทำให้มีการตัดสินใจในการเลือกวิธีการรักษาที่่อาจจะเกินกว่าข้อบ่งชี้ตามมาตรฐานหรืออาจจะไม่จำเป็น
ปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งเต้านม ได้แก่ 
  • อายุที่มากขึ้น
  • พันธุกรรม เกือบ 5% ถึง 10% ของมะเร็งเต้านมสัมพันธ์กับความผิดปกติของยีน ที่รู้จักกันดีคือ ยีนที่มีชื่อว่า BRCA1 และ BRCA2 genes
  • ประวัติในครอบครัวมีผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านม
  • เคยเป็นมะเร็งเต้านมมาก่อน
  • เคยมีประวัติการตัดเชื้อเต้านมผิดปกติ
  • เคยมีประวัติการได้รับการฉายแสงที่บริเวณหน้าอก
  • เริ่มมีประจำเดือนตั้งแต่อายุน้อยกว่า 12 ปี หรือคนที่เข้าสู่วัยหมดประเดือนหลังจากอายุ 55 ปี
  • หญิงที่ไม่เคยมีบุตร
  • เคยได้รับยาบางอย่างเช่นdiethylstilbestrol (DES)
  • ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
  • อ้วน
ถึงแม้ว่าในครอบครัวของคุณไม่เคยมีประวัิติเรื่องของมะเร็งเต้านมก็ไม่ได้หมายความว่าคุณไม่ได้เสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านม ดังนั้น คุณควรพยายาม ควบคุมน้ำหนัก ออกกำลังกาย งดสูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ และพบแพทย์เพื่อประเมินความเสี่ยงและตรวจร่างกาย เพื่อที่จะเลือกการตรวจคัดกรองที่เหมาะสมสำหรับคุณ
3. โรคกระดูกพรุน
อาการหลังค่อม หลังงอ ปวดหลัง หรือการที่กระดูกหักได้ง่ายกว่าปกติ เป็นเรืองที่พบได้บ่อยในผู้หญิงสูงวัย ซึ่งภาวะนี้สามารถป้องกันได้ตั้งแต่ยังสาว
 เนื่องจากร่างกายจะสร้างมวลกระดูกสะสมไว้จนกระทั่งอายุประมาณ 30 ปี และเมื่อกระดูกไม่สามารถสร้างเพิ่มขึ้นได้ การรักษามวลกระดูกที่มีอยู่เป็นเรื่องที่จะต้องทำต่อเนื่อง โดยการรับประทานแคลเซียมให้เพียงพอ คือประมาณ 1000 -1200 มิลลิกรัมต่อวัน 
นอกจากการรับประทานแคลเซียมให้เพียงพอแล้ว การออกกำลังกายชนิดที่ทำให้ร่างกายได้รับน้ำหนัก เช่นการวิ่ง การเดินเร็ว
ไม่มีคำว่าสายไปในการที่จะดูแลกระดูกใ้ห้แข็งแรงเพื่อป้องกันการแตกหัก
ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุนได้แก่
  • เพศหญิง
  • อายุที่มากขึ้น
  • โครงร่าง โครงกระดูกที่ค่อนข้างเล็ก
  • คนเอเชียและคนขาวมีความเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกพรุน มากกว่า
  • ประวัติโรคกระดูกพรุนในครอบครัว
  • การที่มีประจำเดือนไ่ม่สม่ำเสมอ หรือมีระดับฮอร์โมนเพศต่ำกว่าปกติ
  • การเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน
  • การขาดสารอาหาร
  • การรับประทานยาบางชนิดเช่นยากลุ่มสเตียรอยด์ หรือยากันชัด
  • การสูบบุหรี่
  • การรับประทานแอลกอฮอล์มากเกินขนาด
เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ผู้หญิงควรเริ่มทำการตรวจความหนาแน่นกระดูก
4. โรคซึมเศร้าDepression

โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่พบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเกือบเท่าตัว
ผู้เชียวชาญแสดงความคิดเห็นว่า ผู้หญิงต้องการสายสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ ในชีวิต ผู้หญิงต้องการที่พึงพิงทางใจ ซึ่งถ้าไม่มีที่พึ่งพิงหรือคนที่คอยเป็นกำลังใจให้ ก็จะทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้
บางครั้งการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน อาจจะเป็นปัจจัยกระตุ้นต่อการเกิดภาวะนี้ โดยเฉพาะหลังคลอด หรือเืมื่อเข้าช่วงวัยหมดประจำเดือน
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้แก่ 
  • เคยมีประวัติการเป็นโรคซึมเศร้ามาก่อน
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคซึมเศร้า
  • มีประวัติของปัญหาโรคหัวใจ
  • เจ็บป่วยเรื้อรัง
  • มีปัญหาในชีวิตแต่งงาน
  • เคยใช้สารเสพติด
  • มีการใ้ช้ยาบางชนิดที่กระุตุ้นให้เิกิดการซึมเศร้าเช่น ยากันชัก ยาลดความดัน
  • มีเหตุการณ์ร้ายแรงเกิดขึ้นในชีวิต เช่น การออกจากงาน การเสียคนที่รัก
  • โรคบางโรคจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคซึมเศร้าได้เช่น ไทรอยด์ หรือการขาดวิตามิน
  • การที่เพิ่งผ่านการเจ็บป่วยหนักร้ายแรง หรือการผ่าตัดใหญ่
  • มีประวัติการถูกทารุณในวัยเด็ก
  • เป็นโรคความวิตกกังวล
  • มีความผิดปกติในการรับประทานอาหาร
เพื่อที่จะลดความเสี่ยงในการเกิดโรคซึมเศร้า ผู้เชียวชาญแนะนำให้หากิจกรรมต่าง ๆ ทำ เช่น การทำงาน การเข้าสังคม การทำงานอาสา เลี้ยงสัตว์ พยายามหาเหตุผลในการที่จะลุกขึ้นทำสิ่งต่าง  ๆ
5. ความผิดปกติของภูมิคุ้มกันของร่างกาย  Autoimmune Diseases
เป็นกลุ่มของโรคที่เกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกันของร่างกาย ที่ทำลายเซลล์ปกติของร่างกาย มีโรคในกลุ่มนี้มากกว่า 80 ชนิด เช่น โรค SLE โรคไทรอยด์บางชนิด เป็นต้น
และที่สำคัญคือ 75% ของผู้ที่เป็นโรคกลุ่มนี้คือผู้หญิง  ซึ่งโรคกลุ่มนี้ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้หญิงที่เป็นเแย่ลง
สาเหตุที่ทำให้เป็นโรคในกลุ่มนี้ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ปัจจัยในเรื่องของ พันธุกรรม ฮอร์โมน และสิ่งแวดล้อมอาจจะีมีส่วนเกี่ยวข้องได้
เนื่องจากไม่มีสาเหตุที่ชัดเจนที่บอกได้ ทำให้โรคในกลุ่มนี้เป็นโรคที่ป้องกันได้ยาก
สิ่งที่ทำได้คือหากมีความผิดปกติเกิดขึ้นในร่างกาย ควรรีบพบแพทย์ เช่น การมีผื่นผิดปกติ อาการปวดบวมของข้อ น้ำหนักตัวที่เปลี่ยนแปลงโดยไม่ทราบสาเหตุ อาการบวม ปัสสาวะผิดปกติไป ผมร่วง 
ซึ่งอาการทั้งหมดนี้เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้จากความผิดปกติของภูมิคุ้มกันของร่างกายตัวเอง อย่าเพิกเฉยต่ออาการผิดปกติเหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจเพิ่มเติม จะได้ใ้ห้การรักษาตั้งแต่ระยะแรก
ที่มา: Dr.Carebear Samitivej


อัพเดทล่าสุด