อ่านด่วน!! วิธีช่วยชีวิตคนถูกไฟฟ้าช็อต ให้รอดตายอย่างสุดยอด เพียงทำแบบนี้


13,052 ผู้ชม

ไฟฟ้าช็อตเป็นอุบัติเหตุที่พบได้บ่อยในสถานที่ที่มีการใช้ไฟฟ้า อาจเกิดขึ้นเพราะความประมาท สภาพแวดล้อมที่เปียกชื้น การใช้เครื่องไฟฟ้าอย่างผิดวิธี หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์


ไฟฟ้าช็อตเป็นอุบัติเหตุที่พบได้บ่อยในสถานที่ที่มีการใช้ไฟฟ้า อาจเกิดขึ้นเพราะความประมาท สภาพแวดล้อมที่เปียกชื้น การใช้เครื่องไฟฟ้าอย่างผิดวิธี หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ 
บทความนี้จึงขอเล่าถึงการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุถูกไฟฟ้าช็อต เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้เราสามารถป้องกันหรือแก้ไขได้ทันท่วงทีหากพบเหตุการณ์นี้ครับ
ผู้ที่ถูกไฟฟ้าช็อตอาจมีอาการรุนแรงแตกต่างกันไปตั้งแต่บาดแผลไหม้เล็กน้อยจนถึงเสียชีวิต ซึ่งความรุนแรงของอาการมักขึ้นอยู่กับ 4 ปัจจัย คือ
- ชนิดของกระแสไฟฟ้า พบว่าการเกิดอันตรายจากไฟฟ้ามักเกิดจากไฟฟ้ากระแสสลับมากกว่ากระแสตรง นอกจากนี้ไฟฟ้าที่มีความถี่ต่ำจะมีอันตรายร้ายแรงกว่าความถี่สูง ซึ่งกระแสไฟฟ้าที่ใช้ตามบ้านเรือนถือว่าเป็นชนิดที่มีอันตรายสูง
- ลักษณะของผิวหนังส่วนที่สัมผัสถูกไฟฟ้า ถ้าผิวหนังแห้งจะเกิดอันตรายน้อยเพราะร่างกายจะมีความต้านทานสูง แต่แต่ถ้าผิวหนังเปียกชื้นหรือมีบาดแผลสดมักทำให้เกิดอันตรายได้สูงเนื่องจากร่างกายมีความต้านทานต่ำ
- ระยะเวลาสัมผัส ผิวหนังที่สัมผัสไฟฟ้านานๆ จะทำให้กระแสไฟฟ้าเข้าสู่ร่างกายได้มากขึ้น ทำให้เกิดอันตรายได้มากขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ยังทำให้เกิดบาดแผลไหม้ที่รุนแรงได้จากสาเหตุความร้อนที่เกิดขึ้นในร่างกาย
- ตำแหน่งและทางเดินของกระแสไฟฟ้าในร่างกาย ถ้ากระแสไฟฟ้าวิ่งจากแขนไปแขนหรือแขนไปเท้าจะมีอันตรายกว่าจากเท้าลงดินเพราะกระแสไฟจะวิ่งผ่านและทำอันตรายต่ออวัยวะภายในต่างๆ เช่น หัวใจ หรืออาจทำให้หยุดหายใจได้ถ้ากระแสไฟฟ้าวิ่งผ่านสมอง หรือทำให้ชัก กระดูกหัก กล้ามเนื้อเป็นอัมพาตได้ถ้ากระแสไฟฟ้าวิ่งผ่านกล้ามเนื้อ
ในประเทศไทยการเกิดไฟฟ้าช็อตที่พบส่วนใหญ่มักไม่รุนแรงจนถึงแก่ชีวิต เพราะไฟฟ้าที่ใช้ในบ้านเป็นไฟฟ้าแรงต่ำเพียง 220 โวลท์เท่านั้น อย่างไรก็ตามหากพบคนโดนไฟฟ้าช็อตควรให้การช่วยเหลืออย่างถูกต้องเพื่อความปลอดภัยทั้งของผู้ป่วยและผู้ช่วยเหลือ
เมื่อพบผู้ถูกไฟฟ้าช็อต…
- ห้ามสัมผัสตัวผู้ที่โดนไฟฟ้าช็อตด้วยมือเปล่าโดยเด็ดขาด รวมถึงต้องระวังการสัมผัสโดนตัวนำที่อาจนำไฟฟ้ามาถึงตัวผู้ช่วยเหลือได้ เช่น พื้นที่เปียกน้ำ
- ตัดกระแสไฟฟ้าในบริเวณที่เกิดเหตุทันที ยกเว้น สายไฟฟ้าแรงสูง ควรแจ้งเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าเพื่อทำการตัดไฟอย่างปลอดภัย
- ในกรณีที่ผู้ป่วยลุกเดินเองไม่ไหว ไม่ควรทำการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเองหากผู้ช่วยเหลือไม่ทราบวิธีการเคลื่อนย้ายที่ปลอดภัย เพราะอาจทำให้ผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บมากยิ่งขึ้น ยกเว้น สถานที่นั้นอาจเป็นอันตราย เช่น ยังมีกระแสไฟฟ้ารั่วไหล อย่างไรก็ตามก่อนสัมผัสตัวผู้บาดเจ็บควรใช้วัสดุที่ไม่เป็นตัวนำไฟฟ้าในการป้องกันตัวเสียก่อน เช่น ถุงมือยาง ผ้าแห้ง พลาสติกแห้ง เป็นต้น

ปฐมพยาบาลผู้ป่วยไฟฟ้าช็อต
- หากผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บจากไฟบ้านทั่วไป และมีเพียงบาดแผลไม่ลึก ไม่มีอาการผิดปกติอื่น สามารถให้การดูแลโดยทำแผลด้วยยาฆ่าเชื้อและสังเกตอาการที่บ้านได้ ยกเว้น ผู้ได้รับบาดเจ็บเป็นเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคไต โรคหัวใจ ควรนำส่งโรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์ประเมินอาการ
- หากผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บจากไฟฟ้าแรงสูง  บาดแผลไหม้มีขนาดใหญ่  ปวดแผลมาก หรือมีอาการใจสั่น เจ็บหน้าอก เหนื่อย หมดสติ ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษา
- หากผู้ป่วยหมดสติ ต้องพิจารณาว่าผู้ป่วยมีภาวะหัวใจหยุดเต้นหรือหยุดหายใจหรือไม่ และพิจารณาให้การช่วยเหลือตามขั้นตอนการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานต่อไป
ขอขอบคุณ ข้อมูลจากภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
เครดิต  :  นพ.ชวโรจน์ เกียรติกำพล - อายุรแพทย์

อัพเดทล่าสุด