ว่าด้วยเรื่องการตด ตดบ่อย ตดเยอะ ทำไงดี !


1,309 ผู้ชม

ทุกคนล้วนเคยตด การตดเมื่ออยู่คนเดียวดูจะเป็นเรื่องธรรมดาสามัญ แต่เมื่อตดต่อหน้าฝูงชนจะกลายเป็นเรื่องที่ผิดกาลเทศะ คนส่วนใหญ่จึงมักอายที่จะตดอย่างเปิดเผย


ทุกคนล้วนเคยตด การตดเมื่ออยู่คนเดียวดูจะเป็นเรื่องธรรมดาสามัญ แต่เมื่อตดต่อหน้าฝูงชนจะกลายเป็นเรื่องที่ผิดกาลเทศะ คนส่วนใหญ่จึงมักอายที่จะตดอย่างเปิดเผย และไม่ต้องการให้เสียงหรือกลิ่นล่วงรู้ไปถึงบุคคลอื่น มีนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง และให้คำแนะนำเราได้ว่าทำอย่างไรจึงจะตดให้น้อยและไม่เหม็น

การตดหรือการผายลมคืออะไร?

การตด หรือการผายลม เป็นการสร้างลมผาย ซึ่งเป็นแก๊สที่สร้างมาจากแบคทีเรียและยีสต์ที่อาศัยอยู่ในท่อทางเดินอาหารของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม แก๊สลมผายจะถูกปล่อยจากความดันผ่านทางทวารหนัก ซึ่งมักจะมีเสียงและกลิ่นออกมาด้วย การปล่อยแก๊สออกมาเราเรียกว่า การตด

คนเราจะปล่อยลมผาย เฉลี่ย 0.5-1.5 ลิตรต่อวันโดยผ่านการผายลม 12-25 ครั้ง องค์ประกอบของลมผายหลัก ๆ จะเป็นแก๊สที่ไม่มีกลิ่นคือ ไนโตรเจน (รับเข้ามา) คาร์บอนไดออกไซด์ (สร้างมาจากแบคทีเรียหรือรับเข้ามา) และไฮโดรเจน (สร้างมาจากจุลินทรีย์บางชนิดแล้วถูกกินโดยจุลินทรีย์อื่นๆ) กับออกซิเจน (รับเข้ามา) และแก๊สมีเธน (สร้างจากจุลินทรีย์พวก anaerobic) ในปริมาณที่น้อยกว่า กลิ่นที่เกิดขึ้นมาจากองค์ประกอบอื่น ๆ (ซึ่งมักจะเป็นสารประกอบกำมะถัน)

จากการศึกษา พบว่า 99% ของตดนั้นไม่มีกลิ่น กลิ่นเหม็นนั้นมาจากอีก 1% ที่เหลือเท่านั้น กลิ่นตดกับเสียงตดก็ไม่สัมพันธ์กัน นั่นหมายถึงตดที่ดังสนั่นไม่ได้มีกลิ่นเหม็นเสมอไป หรือคุณอาจตดเบาๆ ไม่มีใครได้ยิน แต่อาจส่งกลิ่นเหม็นอย่างร้ายกาจก็เป็นได้

กินอะไรทำให้ตดเยอะ ?

การผายลมที่เกิดมาจากอาหารมักจะมีพอลิแซ็กคาไรด์ปริมาณสูง (โดยเฉพาะโอลิโกแซ็กคาไรด์เช่น อินูลิน (inulin)) และรวมถึงถั่วเม็ดแบน, ถั่วแขก, นม, หัวหอมใหญ่, มันเทศ, ชีส,เม็ดมะม่วงหิมพานต์ , บร็อคโคลี , กะหล่ำปลี, ข้าวโอ็ต, ยีสต์ในขนมปัง และอื่นๆ

– บางคนอาจผายลมเมื่อดื่มนมเข้าไป เพราะขาดเอนไซม์บางอย่าง เช่น แลคเตส ซึ่งช่วยย่อยน้ำตาลในนม
– ถั่วและผักสดบางชนิดมีน้ำตาลที่ร่างกายย่อยไม่ได้ ซึ่งจะถูกส่งผ่านไปหมักอยู่ในลำไส้ใหญ่ แบคทีเรียในลำไส้จะย่อยน้ำตาลพวกนี้แทน และทำให้เกิดแก๊สขึ้น

เสียงตด เกิดจากอะไร ?

เสียงตดที่ดังปู้ดดนั้น ส่วนมากเกิดจากการสั่นสะเทือนของทวารหนักและความแรงของแก๊สที่ปล่อยออกมา

กลั้นตด ไม่ดี ?

การตด เป็นการพยายามระบายแก๊สของเสีย ออกจากร่างกาย ไม่ควรจะกลั้นไว้ เพราะแก๊สจะซึมกลับเข้าไปในเลือดและตับแทน

ตดบ่อยๆแสดงอาการของโรคอะไรรึเปล่า ?

ปกติคนเราขับแก๊สส่วนเกินออกจากร่างกายได้ 2 ทาง คือ การขับออกทางปาก (เรอ) และการขับออกทางทวารหนัก (ผายลม หรือตด) หากแก๊สนั้นไม่ขับออกมาจะทำให้มีการสะสมไว้ในทางเดินอาหาร จะทำให้รู้สึกอึดอัด แน่นท้อง ปวดมวนในท้อง และเกิดอาการท้องอืดตามมา การผายลมกับอุจจาระเป็นเรื่องเดียวกัน เพียงแต่ว่าผายลมนั้นสิ่งที่ออกมาคือแก๊ส เป็นการระบายสิ่งที่ไม่ดีออกมาจากร่างกายโดยการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ หากวันทั้งวันไม่ผายลมเลยนั้นแสดงว่ากำลังผิดปกติ เช่น ผู้ป่วยโรคลำไส้ใหญ่อุดตัน หรือมะเร็ง หากเกิดกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรงอาจบอกได้ว่าในลำไส้มีแบคทีเรียที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารอักเสบ เมื่อกินอาหารเข้าไปแล้วกระเพาะอาหารไม่ทำงาน อาหารก็ไม่ถูกย่อย เมื่อไปถึงลำไส้ใหญ่แบคทีเรียจะมาทำหน้าที่ช่วยย่อยเมื่อย่อยมากก็เกิดแก๊สมากขึ้นตามมา

ผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดี เมื่อถุงน้ำดีไม่ทำงานทำให้ย่อยสลายไขมันได้ไม่ดี จึงทำให้ผู้ป่วยมีอาการท้องอืดและผายลมหลังอาหารอยู่บ่อยๆ ตลอดจนผู้ที่เป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคตับอ่อนอักเสบ และผู้ที่มีอาการท้องผูกล้วนเป็นสาเหตุของผายลมได้

ข้อแนะนำเพื่อให้ตดแต่น้อยและไม่มีกลิ่น

– หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มเติมแก๊ส เช่น น้ำอัดลม เบียร์ โซดา เพราะเครื่องดื่มเหล่านี้จะไปเพิ่มปริมาณลมหรือแก๊ส ทำให้เรอและผายลมมากขึ้น

– ลดอาหารไขมันสูง เพราะอาหารประเภทไขมันจะใช้เวลาย่อยนานกว่าอาหารประเภทอื่น จึงอาจอยู่ในกระเพาะได้นานถึง 2 ชั่วโมง แบคทีเรียมีเวลาเหลือเฟือในการสร้างแก๊สตด แต่ถ้ากินไขมันน้อยลง ลำไส้จะบีบตัวให้อาหารผ่านไปยังลำไส้ใหญ่ได้เร็วขึ้น แบคทีเรียสร้างแก๊สในลำไส้ได้ลดลง ก็จะช่วยป้องกันอาการท้องอืดและผายลมได้

– อาหารค้างคืนที่นำออกจากตู้เย็นมาอุ่น ก็สามารถกระตุ้นให้แบคทีเรียในอาหารผลิตแก๊สได้ การกินอาหารที่อุ่นซ้ำแล้วซ้ำอีก จึงมีส่วนทำให้ตดบ่อย

– อย่ากินอาหารหรือดื่มน้ำเร็วเกินไป เพราะระหว่างนั้นเราจะกลืนลมเข้าไปด้วย การกินช้าๆ เคี้ยวให้ละเอียด จะช่วยให้กลืนอากาศเข้าไปน้อยลง

– การอมลูกอม เคี้ยวหมากฝรั่ง หรือสูบบุหรี่ ก็เช่นเดียวกัน เวลาที่เรากลืนน้ำลายหรือสูบบุหรี่ ก็จะกลืนอากาศเข้าไปด้วย

ข้อมูลจาก : labsamong.com


อัพเดทล่าสุด