10 วิธีลดความเค็ม เพื่อสุขภาพที่ดีของไต


2,446 ผู้ชม

สังเกตได้ง่ายๆ เวลาทานก๋วยเตี๋ยวต้องปรุงเครื่องปรุงอย่างน้ำปลาทุกครั้ง กินข้าวต้องมีพริกน้ำปลา ปรุงอาหารต้องมีเกลือหรือผงชูรส ทานอาหารสำเร็จรูปที่มีปริมาณโซเดียมแอบแฝงมากมาย แต่คุณรู้หรือไม่ว่าการกินเค็มส่งผลเสียต่อสุขภาพ


เค็ม เป็นรสชาติหนี่งที่ทำให้คนเรารู้สึกว่าอาหารอร่อยขึ้น จนคนส่วนใหญ่เผลอใจ ติดรสเค็มโดยไม่รู้ตัว


สังเกตได้ง่ายๆ เวลาทานก๋วยเตี๋ยวต้องปรุงเครื่องปรุงอย่างน้ำปลาทุกครั้ง กินข้าวต้องมีพริกน้ำปลา ปรุงอาหารต้องมีเกลือหรือผงชูรส ทานอาหารสำเร็จรูปที่มีปริมาณโซเดียมแอบแฝงมากมาย แต่คุณรู้หรือไม่ว่าการกินเค็มส่งผลเสียต่อสุขภาพ โดยเฉพาะไต ที่ต้องทำงานหนักขึ้นจนอาจอันตรายถึงขั้นไตเสื่อมสภาพ หรือเป็นโรคไตนั่นเอง อันเป็นความเจ็บป่วยที่จะต้องทำการรักษาอย่างยืดเยื้อ เสียเวลาและเงินทองมากมาย ดังนั้นแล้วเราควรจะต้อง ลด ละ เลิก การกินอาหารรสเค็มๆ กันเสียทีนะคะ ซึ่งก็มี 10 วิธีลดความเค็ม..เพื่อสุขภาพที่ดีของไต มาฝากกันค่ะ

โซเดียมคือ เกลือแร่ สารอาหาร ชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย โดยโซเดียมจะทำหน้าที่ควบคุม ความสมดุลของของเหลวในร่างกาย รักษาความดันโลหิต ให้อยู่ในระดับปกติ ช่วยในการทำงาน ของประสาทและกล้ามเนื้อ รวมถึงกล้ามเนื้อหัวใจด้วย ตลอดจนการดูดซึมสารอาหาร บางอย่าง ในไตและลำไส้เล็ก

ตามหลักโภชนบัญญัตินั้น แนะนำให้ประชาชน บริโภคน้ำมัน น้ำตาล และเกลือ น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น เช่น คนในวัยผู้ใหญ่ควรได้รับโซเดียมประมาณวันละ 230 มิลลิกรัม หรือประมาณ 1 ใน 10 ของ 1 ช้อนชา เท่านั้น ปริมาณสูงสุดที่องค์การอนามัยโลก กำหนดไว้คือ วันละ 6 กรัม ซึ่งมีโซเดียม อยู่ 2400 มิลลิกรัม ซึ่งจากการสำรวจพบว่าคนไทยกินเกลือ ที่มีอยู่ในอาหารและเครื่องปรุงรส โดยเฉลี่ยวันละประมาณ 7 กรัม ซึ่งมากเกินกว่าที่ร่างกายควรได้รับ

อันตรายที่เกิดจากการกินเค็ม ได้รับโซเดียมสูง

1. เกิดการคั่งของเกลือและน้ำในอวัยวะต่างๆ การได้รับโซเดียมมากเกินไปจะทำให้เกิดการคั่งของเกลือและน้ำในร่างกายได้ สำหรับในผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง ไตยังสามารถกำจัดเกลือและน้ำส่วนเกินได้ทัน แต่ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง มักจะไม่สามารถกำจัดเกลือและน้ำส่วนเกินในร่างกายได้ ทำให้เกิดภาวะคั่งของเกลือและน้ำในอวัยวะต่างๆ เช่น แขน ขา หัวใจ และปอด ทำให้แขน ขา บวม เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก นอนราบไม่ได้ ในผู้ป่วยโรคหัวใจ น้ำที่คั่งในร่างกายจะทำให้เกิดภาวะหัวใจวายได้ง่ายขึ้น

2. ความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง คนอ้วน และผู้ป่วยโรคเบาหวาน อันจะผลเสียต่อหลอดเลือดในอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ และสมอง เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ตามมา นอกจากนี้ ยังพบว่าในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง หากรับประทานโซเดียมในปริมาณที่เหมาะสมควบคู่กับยาลดความดันโลหิต สามารถลดความดันโลหิตได้ดีกว่าผู้ที่รับประทานยาลดความดันโลหิต แต่ไม่ควบคุมปริมาณโซเดียม

3. โรคไต จากการที่มีการคั่งของน้ำและเกลือ ทำให้ไตทำงานหนักขึ้น เพื่อเพิ่มการกรองโซเดียมและน้ำส่วนเกินของร่างกาย เป็นสาเหตุให้เกิดความดันในหน่วยไตสูงขึ้น และเกิดการรั่วของโปรตีนในปัสสาวะมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีผลทำให้ไตเสื่อมเร็วขึ้นอีกด้วย

วิธีการลดความเค็ม เพื่อสุขภาพที่ดีของไต

1. ในการปรุงอาหาร ให้ลดจำนวนน้ำปลาลงจากเดิมครึ่งนึง ค่อยๆ ปรับจนสามารถกินอาหารรสจืดได้

2. เวลาซื้ออาหารกระป๋องต้องอ่านฉลากก่อน และเลือกชนิดที่บอกว่ามีปริมาณเกลือต่ำกว่า

3. เลือกทานอาหารสด อย่างเช่น ผัก ผลไม้ ปลาดิบ

4. หลีกเลี่ยงที่มีปริมาณโซเดียมซ่อนเร้น เช่น หมูเค็ม เบคอน ไส้กรอก ผักดอง แฮมเบอร์เกอร์ เฟรนช์ฟราย

5. หลีกเลี่ยงอาหารตากแห้ง เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม หอยเค็ม กุ้งแห้ง ปลาแห้ง เพราะกระบวนการทำอาหารพวกนี้ ต้องใช้เกลือเป็นส่วนประกอบหลัก

6. หลีกเลี่ยงอาหาร ฟาสต์ฟู้ด เช่น พิซซ่า แฮมเบอร์เกอร์ เพราะมีชักมีปริมาณโซเดียมสูง

7. หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปต่างๆ เช่น หมูหยอง หมูแผ่น กุนเชียง รวมถึงบะหมี่สำเร็จรูป โจ๊กซอง ซุปซอง

8. เลิกปรุงรสกับข้าวด้วยซุปก้อน ผงชูรสเพราะมีเกลือไม่น้อยอีกเหมือนกัน

9. ระวังการกินกะปิ เต้าหู้ยี้ ปลาร้า ไตปลา ไข่เค็ม ผักดอง ผลไม้ดอง แหนม ไส้กรอกอีสาน ซึ่งควรกินน้อยๆ และไม่กินบ่อย

10. ชิมอาหารก่อนปรุง การปรุงอาหารทันที ซึ่งอาจจะพอดีอยู่แล้ว โดยที่คุณยังไม่ได้ชิมเสียก่อน อาจทำให้ได้รสที่ไม่พอดี แล้วต้องทำการปรุงเพิ่มเติม นั่นจึงเป็นการเพิ่มจำนวนโซเดียม รวมทั้งน้ำตาลที่มากขึ้นเป็นทวีคูณเลยทีเดียว

ดังนั้นสำหรับผู้ที่ไม่อยากเจ็บป่วย หรือผู้ที่เป็นโรคที่เกิดจากการกินเค็มอยู่แล้ว และอยากให้อาการดีขึ้น คือ ต้องหัดกินอาหารรสจืดให้ได้เป็นปกตินะคะ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด ก็จะช่วยให้คุณสุขภาพดี ถนอมไตของคุณให้อยู่คู่กับคุณไปได้นานเท่านานเลยทีเดียวค่ะ

ข้อมูลและภาพ kaijeaw.com

อัพเดทล่าสุด