ระวัง!! ตัวจี๊ด พยาธิตัวอันตราย ที่มากับความอร่อย


1,462 ผู้ชม

พยาธิอยู่ตำแหน่งใด ย่อมทำให้ประสาทที่ควบคุมอวัยวะนั้นๆ เสียหาย การทำงานของอวัยวะจากการควบคุมประสาทนั้นๆ เสียไป


พยาธิอยู่ตำแหน่งใด ย่อมทำให้ประสาทที่ควบคุมอวัยวะนั้นๆ เสียหาย การทำงานของอวัยวะจากการควบคุมประสาทนั้นๆ เสียไป

กลวิธีที่พยาธิตัวจี๊ดมาสู่คน พลิกแพลงได้ในรูปแบบอื่นเช่น จากความเชื่อที่เอาเนื้อสัตว์ (ที่ขบกัดคน) มาตำพอกแผล ตัวจี๊ดที่อยู่ในระยะติดต่อจะแข็งแรงพอที่จะไชผ่านผิวหนังเข้าสู่เนื้อเยื่อคนได้ หรือแม้แต่ผู้ที่นำเนื้อดิบลักษณะดังกล่าวมาปรุงอาหาร ผู้ปรุงจึงมีโอกาสได้รับพยาธิตัวจี๊ดเช่นกัน

อาการที่พบ

เมื่อได้รับตัวจี๊ดที่อยู่ในระยะติดต่อจากการกินตามข้างต้น พยาธิตัวอ่อนออกจากกระเพาะอาหาร เคลื่อนที่ไปในช่องท้อง ทำให้รู้สึกปวดในกระเพาะ มีไข้ อาเจียน ต่อมาจะปวดตามลำตัว แขน ขารู้สึกชา และมีอาการคล้ายอัมพาต จากที่พยาธิคลานไปตามที่ต่างๆของร่างกาย
กรณีที่ชัดเจนที่สามารถบ่งถึงการได้รับพยาธิตัวจี๊ด โดยในถิ่นที่พบว่า เป็นแหล่งของพยาธินี้ เมื่อคนได้รับตัวอ่อนหลังกินตัวจี๊ดที่อยู่ในระยะติดต่อประมาณ 3-4 อาทิตย์  จากความแข็งแรงของตัวอ่อนสามารถไชชอนจากกระเพาะอาหาร ไปตามที่ต่างๆของร่างกาย เกิดอาการที่เรียกว่า Larva migransการที่พยาธิไชที่ใต้ผิวหนัง ทำให้เห็นร่องรอยการไช มีการบวม ปวดจี๊ด คัน แดง ร้อนจากการเป็นสิ่งแปลกปลอมของร่างกาย ซึ่งเป็นที่มาของชื่อพยาธิตัวจี๊ดนั่นเอง อาการเช่นนี้ จะคงอยู่ระยะหนึ่ง เมื่อพยาธิไชลึกลงไปและเปลี่ยนตำแหน่งไป การบวม แดง ร้อน จะเกิดที่ที่ใหม่ เสมือนว่ามีการเปลี่ยนตำแหน่งการบวม  จึงเรียกเป็นการบวมเคลื่อนที่ อาการแสดงออกมีหลากหลายขึ้นกับตำแหน่งร่างกายที่เกี่ยวข้อง  เนื่องจากการที่พยาธิไชชอน สามารถพบได้ที่อวัยวะภายในของคน หรือพบได้ที่ลูกนัยตา ดังนั้น ความรุนแรงที่พบ ขึ้นกับตำแหน่งที่พยาธิไป ที่สำคัญเช่น สมอง ตา ปอด ลองนึกถึงว่าอยู่ดีดีแท้แท้ มีตัวอะไรยาวเกือบเซ็นติเมตร เป็นสิ่งแปลกปลอมท่องเที่ยวไปไชตามเนื้อเยื่อของเรา คงทนทุกข์ทรมานไม่น้อย และยังไม่มีการศึกษาว่าพยาธิตัวจี๊ดอยู่ในร่างกายคนได้นานเท่ใด และถ้าตายอยู่ในเนื้อเยื่อหรืออวัยวะต่างๆ ล่ะ มีรายงานแสดงถึงตำแหน่งระบบประสาทส่วนกลางที่พยาธินี้ชอบ ได้แก่ ที่ไขสันหลัง สมองและช่องว่างใต้เยื่อหุ้มสมอง
ดังนั้น พยาธิอยู่ตำแหน่งใด ย่อมทำให้ประสาทที่ควบคุมอวัยวะนั้นๆ เสียหาย การทำงานของอวัยวะจากการควบคุมประสาทนั้นๆ เสียไปเช่นกัน

การตรวจวินิจฉัย

แม้ว่าโอกาสที่จะพบตัวอ่อนพยาธิ ขณะที่กำลังไชที่ชั้นใต้ผิวหนังจะค่อนข้างยาก แต่ร่องรอยที่ปรากฏ และการตรวจทางน้ำเลือดที่เรียกว่าอีไลซ่า(ELISA: enzyme-linked immunosorbent assay)

หรือการตรวจซีทีสแกนรวมถึงการซักประวัติ เช่น มีความเกี่ยวข้องมีโอกาสสัมผัสตัวจี๊ดที่อยู่ในระยะติดต่อ หรือกินของสุกดิบ ฯลฯ

การรักษาและการปฏิบัติตน

แม้ว่าสิ่งข้างต้นจะช่วยในการวินิจฉัยได้ แต่สิ่งที่ควรมี คือ ความเข้าใจในการป้องกันตนในการไม่รับระยะติดต่อของพยาธิ และสอนผู้อื่นที่เกี่ยวข้องให้เข้าใจและปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง เช่น
-หลีกเลี่ยงการกินอาหารดิบ หรือทำให้สุกด้วยความร้อนที่ไม่พอเพียง การบีบมะนาวทำให้เนื้อสัตว์เปลี่ยนสีและดูคล้ายว่าสุก แต่ไม่มีผลในการฆ่าตัวอ่อนพยาธิ
-ความเย็นจัดที่ –20 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3-5 วัน หรือหมักในน้ำส้มสายชู 6 ชั่วโมงช่วยฆ่าตัวอ่อนพยาธิได้
-น้ำที่ใช้ดื่ม ต้องต้มเดือดอย่างน้อย 5 นาที
-การสัมผัสเนื้อสัตว์ดิบที่ต้องใช้ในการปรุงอาหาร ผู้ปรุงต้องใช้ถุงมือป้องกัน
ส่วนการรักษาโดยใช้ยาต่างๆ นั้น ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ร่วมกับการรักษาโดยการผ่าตัดเพื่อเอาพยาธิออก

 
ที่มา สสส. : รองศาสตราจารย์ แม้นสรวง วุฒิอุดมเลิศ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


อัพเดทล่าสุด