ควรรู้! ปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อถูกงูพิษกัด..วิธีที่ถูกต้องทำแบบนี้


24,030 ผู้ชม

วิธีการดูว่างูมีพิษหรือไม่?? ให้คุณทำการสังเกตที่รอยเขี้ยวที่ถูกกัด...


ปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อถูกงูพิษกัด..วิธีที่ถูกต้องทำแบบนี้

วิธีการดูว่างูมีพิษหรือไม่??

• ให้คุณทำการสังเกตที่รอยเขี้ยวที่ถูกกัด

• ถ้าหากเป็นงูไม่มีพิษ รอยฟันบนผิวหนังของคุณจะเรียงเป็นแถว

• ถ้าหากเป็นงูพิษ มันจะมีรอยเขี้ยว 2 จุดชัดเจน หรือในบางครั้งก็มีเลือดซึมออกจากแผล

• อีกทั้งบริเวณรอบๆ รอยเขี้ยวมีสีคล้ำ หรืออาจพองเป็นถุงน้ำ พิษของงูจะส่งผลต่อร่างกาย

โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้

1. พิษต่อระบบประสาท (Neurotoxin)  

• ได้แก่ งูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยม และงูทับสมิงคลา

• มีลักษณะอาการ โดยเริ่มจากแขนของคุณจะไม่มีแรง มีความกระวนกระวาย ลิ้นเกร็ง พูดจาอ้อแอ้ ตามัว น้ำลายฟูมปาก

• เนื่องมาจาก กล้ามเนื้อการกลืนเป็นอัมพาต จากนั้นจะหยุดหายใจ และเสียชีวิตในที่สุด

2. พิษต่อระบบการแข็งตัวของเลือด (Hematotoxin)

• ได้แก่ งูเขียวหางไหม้ งูแมวเซา และงูกะปะ

• มีลักษณะอาการ โดยเริ่มจากการปวดแผลมากขึ้น มีเลือดซึมออกจากแผลและเลือดออกจากอวัยวะต่างๆ

• อาทิเช่น เลือดกำเดา เหงือก ไอ อาเจียน ปัสสาวะและอุจจาระเป็นเลือด

• มันเกิดมาจากภาวะระบบไหลเวียนล้มเหลว และทำให้ตายในที่สุด

3. พิษต่อกล้ามเนื้อ (Mytotoxin) 

• ส่วนมากมักจะไม่พบในภาวะน้ำท่วม เนื่องจากเป็นงูทะเล

ถ้าหากคุณถูกงูกัด สิ่งแรกที่ควรทำคือ

• การตั้งสติให้ดี อย่าตกใจ

• จะต้องพยายามเคลื่อนไหวร่างกายให้น้อยที่สุด เนื่องจากมันจะส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ

• ซึ่งส่งผลทำให้พิษงูถูกสูบฉีดแล่นเข้าสู่หัวใจได้เร็วขึ้น

• ลักษณะอาการของพิษงูจะเริ่มการแผ่ซ่านตั้งแต่ 15 - 30 นาที หรืออาจนานถึง 9 ชั่วโมง 

ฉะนั้น คุณจะต้องเฝ้าสังเกตอาการอย่างต่อเนื่อง แล้วทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยสามารถทำได้ดังต่อไปนี้

1. ให้คุณทำการล้างแผล โดยใช้น้ำและสบู่

2. คุณไม่ควรใช้เหล้า ยาสีฟัน ขี้เถ้าทาแผล หรือสมุนไพรใดๆในการปฐมพยาบาล

3. ให้คุณทำการบีบเลือดออกจากแผลให้มากที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้

4. คุณไม่ควรใช้ปากดูดหรือเปิดปากแผลด้วยของมีคม

5. ให้คุณทำการการรัด โดยคุณควรจะรัดให้เหนือและใต้บาดแผลประมาณ 3 นิ้วมือ และไม่ควรรัดเหนือบาดแผลให้แน่นมาก เนื่องจากมันจะทำให้อวัยวะส่วนปลายขาดเลือดและเน่าตาย

6. คุณควรคลายความแน่น โดยให้พอสามารถสอดนิ้วมือได้ 1 นิ้ว เพื่อที่จะทำให้อวัยวะนั้นอยู่นิ่ง ไม่ใช่เป็นการห้ามพิษเข้าสู่หัวใจที่คนส่วนใหญ่เข้าใจกันมาแบบไม่ถูกต้อง

7. ให้คุณใช้ผ้าสะอาดในการห้ามเลือด โดยการกดแผลโดยตรง

8. ถ้าหากในกรณีที่สามารถใช้แอลกอฮอล์หรือเบต้าดีนทาแผลได้ ก็จะเป็นผลดีต่อการทำลายเชื้อโรคต่างๆ

10. ให้คุณวางอวัยวะส่วนนั้นให้ต่ำกว่าหรือระดับเดียวกับหัวใจ

9. คุณควรพยายามเคลื่อนไหวร่างกายให้น้อยที่สุด เนื่องจากหากคุณเคลื่อนไหวมากไป มันจะส่งผลทำให้พิษของงูเข้าสู่กระแสเลือดได้เร็วขึ้น

11. คุณควรรับประทานยาแก้ปวด ถ้าหากคุณรู้สึกปวด

12. แต่คุณห้ามใช้ยาที่มีฤทธิ์แอลกอฮอล์ ยาระงับประสาท ยานอนหลับ ยาดองเหล้า 

13. จากนั้นให้รีบนำผู้ป่วยส่งสถานพยาบาลใกล้บ้าน

ปล.

• คุณไม่จำเป็นต้องนำซากงูมาให้แพทย์ตรวจดูว่าเป็นงูประเภทใด เนื่องมาจากงูที่จับได้อาจจับได้ในบริเวณใกล้เคียงซึ่งไม่ใช่เป็นตัวที่กัด

• ในปัจจุบันใช้การดูรอยกัดและลักษณะแผล เพื่อใช้ในการกำหนดการใช้เซรุ่มต้านพิษงูฉีดให้เหมาะสม

• คุณควรคิดให้เสมอว่า งูที่กัดทุกตัวเป็นงูมีพิษ 

ที่มาข้อมูล - ผศ.นพ.ธีระ กลลดาเรืองไกร  ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม Faculty of Medicine Siriraj Hospital คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

www.thaijobsgov.com

อัพเดทล่าสุด