6 สิ่งที่ต้องเตรียม ก่อนตรวจสุขภาพประจำปี


1,490 ผู้ชม

การตรวจสุขภาพทั่วไปมักเน้นกันที่การตรวจหลักที่ถือเป็นการคัดกรองง่ายๆ อย่างตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ-อุจจาระ เอ็กซเรย์ ฯลฯ 6 สิ่งที่ต้องเตรียม ก่อนตรวจสุขภาพประจำปี


ใกล้เวลาที่หลายบริษัทและหลายท่านต้องเตรียมพลีเลือดและร่างกายเล็กๆน้อยๆให้กับกระบวนการตรวจสุขภาพที่ครบกำหนดเข้ามา ซึ่งการตรวจสุขภาพทั่วไปมักเน้นกันที่การตรวจหลักที่ถือเป็นการคัดกรองง่ายๆ อย่างตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ-อุจจาระ เอ็กซเรย์ ฯลฯ

1. รู้รายละเอียดการตรวจ จะได้เตรียมตัวถูก เช่นถ้าเจาะเลือด ตรวจน้ำตาลและไขมัน ก็จำเป็นต้องงดอาหาร แต่ถ้าตรวจเม็ดเลือด ตับ ไต ไทรอยด์หรือสารบ่งชี้มะเร็ง ก็ไม่ต้องอด หรือถ้าเป็นการส่องกล้องก็จำเป็นต้องระบายกากอาหารให้ท้องโล่งดีก่อน

2. รู้ข้อจำกัดการตรวจ ว่าสิ่งที่เราจะตรวจนั้นจะมีคำตอบให้เราได้ที่สุดเพียงใด เพราะในทุกการตรวจย่อมมีความไม่แน่นอนอยู่ด้วยเป็นเรื่องปรกติ เช่นการส่องกล้องลงกระเพาะก็จะเห็นลึกสุดแค่ส่วนต้นลำไส้เล็ก รวมถึงการเจาะเลือดตรวจน้ำตาลที่บอกได้แค่ค่าน้ำตาล ณ อึดใจนั้น ทุกอย่างมีข้อจำกัด จึงต้องอาศัยซึ่งกันและกัน

3. งดอาหารตามกำหนด เป็นสิ่งสำคัญกับหลายการตรวจทางการแพทย์มาก โดยมากที่พบบ่อยคือการเจาะเลือดตรวจ ซึ่งถ้าตรวจน้ำตาล ไขมันและปัสสาวะ ก็ต้องอดอาหาร แต่สามารถดื่ม ‘น้ำเปล่า’ ได้ ทั้งนี้ยังมีการเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้อง การส่องกล้องและการกลืนแป้งดูลำไส้อีกที่จำต้องงดอาหาร นอกจากนั้นการเตรียมตัวผ่าตัดชิ้นเนื้อที่ต้อง ‘สลบ’ ก็จำเป็นต้องงดอาหารและน้ำอย่างเคร่งครัด

4. แจ้งชื่อยาและวิตามินที่กินประจำ ข้อนี้สำคัญมากครับ เพราะผลของยาหลายชนิดมีผลต่อเลือด ดังตัวอย่างที่เห็นชัดคือ ‘ยาช่วยให้เลือดไม่หนืด (Anticoagulants)’ ที่คนป่วยโรคหัวใจหลายแบบต้องกิน ยานี้มีผลต่อเวลาการแข็งตัวของเลือดทำให้ตรวจออกมาแล้วเลือดแข็งตัวช้ากว่าปรกติ นอกจากนี้ยังมียากลุ่ม ‘คุมประสาท’ กัน อาการทางประสาท อย่างยาลดปวดปลายประสาท (Carbamazepine) ที่ไป ‘กด’ ให้เม็ดเลือดขาวต่ำกว่าที่ควรได้

5. เล่านิสัยการกินผัก เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับศาสตร์การแพทย์ใหม่เอี่ยมหลายแขนงที่เกี่ยวกับ ‘ยีน’ เฉพาะตัว อย่างผักเขียว กรอบทั้งหลายนั้นมี ‘วิตามินเค’ สูงมาก ซึ่งมีผลกับการแข็งตัวของเลือดโดยตรงส่งผลต่อ ‘ดัชนีการแข็งตัวเลือด (INR)’ ที่เป็นเหมือนภาพสะท้อนการให้ยาละลายเลือดนั้นผิดปรกติไป

6. ทราบเทคนิคที่ดีที่สุดในการตรวจแต่ละอย่าง เช่น การตรวจฮอร์โมนเครียด (Cortisol) ควรตรวจเช้าตรู่เป็นนาทีทอง หรือการตรวจน้ำตาลกลูโคสในเบาหวานยังไม่พอ แต่ควรตรวจ ‘น้ำตาลสะสม (HbA1C)’ ด้วยจะช่วยบอกความเสี่ยงเบาหวานลุกลามในอนาคตได้

ทั้ง 6 ประการเป็นปรัศนีสำคัญที่ท่าน ต้องถามตัวเองก่อนตรวจ และถ้ายังได้คำตอบไม่โดนใจนักก็สามารถถามกับผู้เชี่ยวชาญได้

mthai.com

อัพเดทล่าสุด