เม็ดกระบก สุดยอดอัลมอนด์อีสาน กินป้องกันความจำเสื่อม บำรุงหัวใจ


5,301 ผู้ชม


เม็ดกระบก สุดยอดอัลมอนด์อีสาน กินป้องกันความจำเสื่อม บำรุงหัวใจ

เม็ดกระบก หรือ อัลมอนด์อีสาน หรือ  อัลมอนด์เมืองไทย มีลักษณะเป็นเมล็ดรูปไตขนาดใหญ่ เปลือกหุ้มเมล็ดมีสีน้ำตาล เนื้อในเป็นแป้งสีขาว

เม็ดกระบก ถือเป็นยารสเบื่อเมา มีรสมันติดขมเล็กน้อย กินแล้วช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง ที่สำคัญป้องกันโรคความจำเสื่อม บำรุงหัวใจ และป้องกันมะเร็งเต้านม กินได้ทุกเพศทุกวัย
วิธีทาน ให้นำเม็ดกระบกมาตากแห้ง หรืออบไล่ความชื้น จากนั้นนำไปคั่วด้วยไฟอ่อนๆ จนเม็ดเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง โรยเกลือเก็บไว้ในขวดโหล ทานวันละ 20 เม็ดครับ

ข้อมูลต่างของกระบก

ชื่อสมุนไพร กระบก
ชื่ออื่นๆ มะมื่น มื่น (ภาคเหนือ) มะลื่น หมักลื่น (สุโขทัย นครราชสีมา), บก หมากบก (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) กะบก จะบก ตระบก (ภาคกลาง), จำเมาะ, หลักกาย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Irvingia malayana Oliv. ex. A. W. Benn.
ชื่อพ้อง Irvingia harmandiana Pierre ex Lecomte, I. oliveri Pierre, I. pedicellata Gagnep.
ชื่อวงศ์ Irvingiaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 35 เมตร ผลัดใบช่วงสั้นๆ ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดแน่นทึบและแผ่กว้าง ลำต้นหนาโคนต้นที่อายุมากมักเป็นพูพอน เส้นผ่าศูนย์กลางถึง 200 ซม. เปลือกสีเทาอมน้ำตาล เรียบหรือแตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ เปลือกชั้นในสีส้มอ่อน กิ่งอ่อนมีรอยหูใบที่หลุดร่วงไปชัดเจน ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปรี รูปรีแกมรูปขอบขนาน รูปไข่ หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 2.5-9 ซม. ยาว 8-20 ซม. ปลายเป็นติ่งแหลม โคนสอบมน หรือเบี้ยวเล็กน้อย ขอบเรียบ
แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ผิวด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างเกลี้ยง หรือมีขนประปราย ใบแก่ผิวเรียบ ด้านบนเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างมักจะมีนวลสีเขียวเทา เส้นแขนงใบ ข้างละ 8-10 เส้น เส้นใบย่อยแบบร่างแหเห็นชัดเจน ทั้งสองด้าน ก้านใบ ยาว 0.5-1.5 ซม. เป็นร่องทางด้านบน เกลี้ยง หูใบลักษณะเป็นกรวยยาวหุ้มยอดอ่อน ปลายแหลมโค้งเล็กน้อย เป็นรูปดาบ ยาว 1.5-3 ซม. หลุดร่วงง่าย
ทิ้งร่องรอยเป็นวงแหวนบนกิ่ง ช่อดอก แบบช่อแยกแขนง ยาว 5-15 ซม. ออกตามซอกใบ หรือปลายกิ่ง ดอกมักจะออกก่อนที่จะเกิดใบชุดใหม่ ดอกร่วงอย่างรวดเร็ว ใบประดับ รูปไข่ปลายแหลม ขนาดเล็กร่วงง่าย ดอกขนาดเล็ก สีขาวอมเขียว หรือสีเหลืองอ่อน กลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีอย่างละ 5 กลีบ กลีบเลี้ยง กว้างประมาณ 0.5 มม. ยาวประมาณ 1 มม. เชื่อมกัน กลีบดอก กว้างประมาณ 1.5 มม. ยาว 2-3 มม. ปลายกลีบดอกจะม้วนออก เกสรเพศผู้ 10 อัน ติดกับขอบนอกของหมอนรองดอก รังไข่อยู่ เหนือวงกลีบ มี 2 ช่อง แต่ละช่อง มีออวุล 1 เม็ด ผล เป็นผลสด แบบผลผนังชั้นในแข็ง รูปไข่หรือรูปรี กว้าง 3-4 ซม. ยาว 4-5 ซม. มีนวลเล็กน้อย ผลมีสีเขียว เมื่อผลสุกสีเหลือง
มีเนื้อสีส้ม เมล็ด 1 เมล็ด แข็ง รูปไข่หรือรูปรีแกมรูปไข่ ค่อนข้างแบน เนื้อในเมล็ดสีขาว และมีน้ำมัน พบตามป่าเต็งรัง ป่าชายหาด ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ตลอดจนป่าดิบชื้น ที่สูงตั้งแต่ใกล้ระดับน้ำทะเล จนถึงประมาณ 300 เมตร ออกดอกระหว่าง เดือนมกราคม-มีนาคม เป็นผล ระหว่างช่วง เดือน กุมภาพันธ์- สิงหาคม เนื้อในเมล็ดนำมาคั่วสุกมีรสมัน รับประทานได้ น้ำมันจากเมล็ด ใช้ทำอาหาร สบู่ และเทียนไขได้ ผลสุก เป็นอาหารสัตว์ป่า
 

ข้อมูลสุขภาพ ชีวจิต pastebangkok.com

อัพเดทล่าสุด