ใครสูบหรือดมควันบุหรี่บ่อย มาฟอกปอดด้วยน้ำสมุนไพรกัน...ดื่มทุกวันห่างไกลมะเร็งปอด


26,769 ผู้ชม


ควันบุหรี่เป็นโทษต่อปอด การสูบบุหรี่จึงเป็นสิ่งที่ไม่ดีต่อร่างกาย แต่ก็ยังมีคนมากมายที่ยังชอบสูบบุหรี่กันอยู่ รวมถึงบางคนที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการสูดดมควันบุหรี่ได้ เนื่องจากต้องอยู่ใกล้กับคนที่สูบบุหรี่ตลอดเวลา แถมคนเหล่านี้ยังได้รับอันตรายมากกว่าคนสูบบุหรี่เสียอีก ช่างไม่ยุติธรรมเลยจริงๆ!

และทุกคนก็รู้ดีว่า ปอดของตัวเองเวลาที่สูดดมควันบุหรี่เข้าไปจะเป็นอย่างไรบ้าง เพราะปอดของคุณจะมีลักษณะหน้าตาเหมือนปอดที่อยู่ในรูป แต่ไม่ต้องกลัว เพราะวันนี้เรามีวิธีการช่วยขับสารพิษอันตรายอย่างนิโคตินออกจากปอดได้มาฝากกัน ลองมาดูกันเลยว่าควรทำอย่างไร

วัตถุดิบ

1. ขิง 1 ชิ้น

2. ผงขมิ้นชัน 2 ช้อนโต๊ะ

3. น้ำเปล่า 1 ลิตร

4. กระเทียม 400 กรัม

5. น้ำตาลทรายแดง 400 กรัม

วิธีทำ

1. นำขิงและกระเทียมมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ พักไส้ก่อน

2. นำหม้อใส่น้ำเปล่า ยกขึ้นตั้งไฟ

3. ใส่น้ำตาลทรายแดงลงไปแล้วต้มจนน้ำตาลละลายหมด

4. ใส่ขิง กระเทียม และผงขมิ้นชัน ลงไปต้มในหม้อ อย่าลืมกวนให้เข้ากันด้วย

5. เมื่อต้มจนเดือดแล้วให้ปิดไฟ และทิ้งไว้จนเย็น จากนั้นจึงนำน้ำกรอกใส่ในขวด

วิธีการกินให้กิน 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ทานต่อเนื่องอย่างน้อย 1 สัปดาห์ ปอดของคุณก็จะเริ่มถูกบำบัดจนสะอาดมากขึ้นได้


โดยสมุนไพรตัวหลักๆที่ช่วยในเรื่องการบำรุงปอด หรือป้องกันโรคมะเร็งปอดจากการสูบบุหรี่หนักๆ ก็คือ

1. ขมิ้นชัน มีหน้าที่ช่วยบำรุงปอด ช่วยทำให้ปอดแข็งแรง ป้องกันการเป็นมะเร็งปอด และช่วยเรื่องภูมิแพ้ของจมูกที่หายใจไม่สะดวกได้ 

2. กระเทียมนักวิทยาศาสตร์จากประเทศจีนพบว่า กระเทียมอาจช่วยป้องกันมะเร็งที่ปอดได้ โดยมีงานวิจัยตรวจสอบพบว่า คนที่ไม่สูบบุหรี่และกินอาหารที่มีกระเทียมดิบเป็นส่วนประกอบเยอะๆ มีความเสี่ยงต่อมะเร็งที่ปอดน้อยกว่าคนที่ไม่กินเลย 33 เปอร์เซ็นต์


การใส่วัตถุดิบทั้งสองนี้ลงไปจึงสามารถช่วยให้อาการหายใจไม่สะดวก หรือปอดถูกทำลาย เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นได้นั่นเอง

ถึงแม้ว่าวิธีดังกล่าวจะช่วยขจัดสารนิโคตินออกมาจากร่างกายได้ แต่การสูบบุหรี่หรือสูดดมควันบุหรี่จากคนรอบข้างก็ยังไม่ดีต่อสุขภาพอยู่ดี หวังว่าทุกคนจะสามารถเลิกบุหรี่กันได้และมีสุขภาพที่ดีกันทุกคน ไม่ต้องมาป่วยเป็นโรคถุงลมโป่งพองหรือมะเร็งปอดกันในวันข้างหน้า เพื่อลมหายใจที่สดชื่นสดใสตลอดไป

ที่มา: www.manyum.com, www.thaijobsgov.com


อัพเดทล่าสุด