สมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด ความรู้ดีๆที่คนป่วยเบาหวาน ควรอ่าน!!


6,948 ผู้ชม



สมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด ความรู้ดีๆที่คนป่วยเบาหวาน ควรอ่าน!! 


สมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด จากหนังสือสมุนไพรบำบัดเบาหวาน ผ่านการวิจัยและทดลองแล้วในต่างประเทศและประเทศไทย รวบรวมเรียบเรียงโดย เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก เภสัชกร 8 วช. ศูนย์บริการสาธารณสุข 53 ทุ่งสองห้อง กทม.ขอนำข้อมูลชื่อของสมุนไพรและวิธีใช้มาบอกกล่าวให้ทราบตามที่อาจารย์เขียนไว้ในหนังสือ 
1. กระเจี๊ยบ วิธีใช้ นำผลอ่อน มาปรุงอาหารเป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือทำเป็นผลแห้งนำมาบดเป็นผง ชงรับประทานกับน้ำ ใช้รักษาโรคเบาหวานและกระเพาะอาหาร
2. กระชับ วิธีใช้ นำรากสด 120 กรัม ทุบให้แตกต้มกับน้ำ 3 แก้ว ต้มให้เดือดนาน 20 นาทีแบ่งน้ำมาดื่มตอนเช้า –เย็น ก่อนอาหาร 
3. กระถิน วิธีใช้ นำเมล็ดกระถินมาบดเป็นผง หรือคั่วกินเป็นอาหาร ปรกติยอดและฝักอ่อนใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริกเป็นอาหาร 
4. กระถินเทศ วิธีใช้ นำเมล็ดกระถินเทศ มาบดเป็นผงหรือคั่วกินเป็นอาหาร 
5. กระเทียม วิธีใช้ ให้กินกระเทียมสด 3-5 กลีบ/วัน เป็นประจำ โดยสับให้ละเอียดกินวันละประมาณ 2ช้อนชา (10 กรัม) กินร่วมกับอาหารอื่นๆ กระเทียมเป็นสมุนไพรที่ใช้ปรุงอาหารในครัวเรือน มีรสค่อนข้างเผ็ดร้อน ระคายเคืองกระเพาะ หากกินกระเทียมสด ต้องกินพร้อมอาหารที่มีโปรตีนเช่น เนื้อ ไข่ 
6. กระเพรา วิธีใช้ ทำเป็นชาชงดื่ม โดยนำใบกระเพรามาตากแห้ง ชงดื่มแทนน้ำ ปรุงเป็นอาหาร 
7. กะหล่ำปลี วิธีใช้ นำใบกะหล่ำปลี มาปรุงเป็นอาหารไม่จำกัดจำนวน 
8. กำแพง เจ็ดชั้น วิธีใช้ นำต้นกำแพงเจ็ดชั้นมาต้มดื่มทั้งวัน 
9. กรดน้ำ วิธีใช้ นำต้นและใบสด 1 กำมือมาต้ม 3แก้ว เคี่ยวนาน 30 นาที แบ่งมาดื่มเช้าเย็นก่อนอาหาร 
10. กรุงเขมา วิธีใช้ นำต้นและใบ 10กำมือ ต้มนาน 30 นาที แบ่งมาดื่มเช้าเย็นก่อนอาหาร 
11. กานพลู วิธีใช้ นำดอก ปรุงเป็นอาหาร เป็นเครื่องเทศ ปรุงรสอาหาร 
12. กาแฟ วิธีใช้ นำเมล็ดที่คั่วแล้ว มาชงกับน้ำร้อนเป็นเครื่องดื่ม ยามว่าง 
13. โกฏกระดูก วิธีใช้ นำรากสด 90-120 กรัมมาทุบให้แหลก ต้มน้ำต้มนาน 30 นาที ดื่ม เช้า-เย็น ก่อนอาหาร 
14. กล้วย วิธีใช้ ดอกหรือปลี นำมาปรุงอาหาร 
15. ข้าว วิธีใช้ ใช้ส่วนราก นำมารับประทาน อาจอยู่ในรูปเครื่องดื่ม 
16. ข้าวสาลี วิธีใช้ นำรำข้าวสาลีมาชงน้ำร้อน ดื่มเช้า- เย็นก่อนอาหาร หรือนำเมล็ดข้าวสาลีปรุงเป็นอาหารในรูปของธัญพืช 
17. ข้าวโพด วิธีใช้ ยอดข้าวโพด 100กรัมนำมาต้มดื่มเช้า-เย็น หรือฝอยข้าวโพด 1 กรัม นำมาต้มดื่มเช้า-เย็น 
18. ขนุน วิธีใช้ นำใบขนุนแก่ 5-10 ใบ มาต้มในน้ำ 3แก้ว เคี่ยวนาน 30 นาที นำมาดื่มเช้า-เย็นก่อนอาหาร 
19. ขิง วิธีใช้เห้งาขิง แก่สด มาคั้นน้ำให้ได้ครึ่งถ้วย ต้มกินน้ำ 2 ถ้วย ดื่มวันละ 3 ครั้งอาจเติมเกลือ มะนาวเพื่อเพิ่มรสชาติ หรือใช้ผงขิง 1-2 ช้อนชาชงน้ำร้อนดื่มบ่อยๆ 
20. คูณ วิธีใช้ นำรากสด 90-120 กรัม มาทุบให้แหลก นำมาต้มกับน้ำ 3 แก้ว เคี่ยวนาน 30นาที แบ่งดื่ม เช้า เย็น ก่อนอาหาร 
21. คึ่นไฉ่ วิธีใช้ ใช้ต้น ก้าน ใบ นำมา 1กำมือ ต้มน้ำดื่ม หรือคั้นน้ำ ทำเป็นน้ำสมุนไพรดื่ม เช้า –เย็น ก่อนอาหารหรือนำมาผัดทำเป็นอาหาร 
22. คำแสด วิธีใช้ เมล็ด 110-120 กรัม หรือ รากสด 90-120 กรัม ทุบให้แหลก นำมาต้มน้ำดื่ม เช้า-เย็นก่อนอาหาร 
23. แครอท วิธีใช้ รากหรือหัวนำมาทำสลัด แกงจืด ผัดผัก คั้นเป็นเครื่องดื่มและแต่งสีอาหารให้มีสีเหลืองหรือส้ม 
24. แคแดง วิธีใช้ นำต้นและเปลือกต้น 1 กำมือต้มน้ำดื่ม แทนน้ำหรือนำดอก ยอดอ่อน มาลวกจิ้มน้ำพริก หรือ ทำเป็นแกงส้ม 
25. คาง วิธีใช้ เปลือกต้น 3-4 ชิ้น นำมาต้มน้ำดื่ม เช้า-เย็น ก่อนอาหาร 
26. จำปา รากสด 90- 120 กรัม ทุบให้แหลก นำมาต้มน้ำ 3 แก้ว เคี่ยวนาน 30 นาที แบ่งดื่ม เช้า-เย็น ก่อนอาหาร 
27. จิกนา วิธีใช้ นำเปือกต้นและราสด 90-120 กรัม มาต้มน้ำดื่ม เช้าเย็น ก่อนอาหาร 
28. ชาแป้น วิธีใช้ นำรากสด90-120 กรัม มาทุบให้แหลก นำมาต้มน้ำ 3 แก้ว นาน 30 นาที แบ่งดื่มเช้า-เย็น ก่อนอาหาร วิธีใช้ ใบแห้ง 1 หยิบมือ ชงน้ำร้อน 1-2แก้วทิ้งไว้ 5-10 นาทีนำมาจิบบ่อยๆดื่มต่างน้ำ 
29. ชา วิธีใช้ นำใบสดหรือแห้ง 1 กำมือนำมาต้มน้ำดื่มเคี่ยวนาน 30นาที แบ่งดื่มเช้า-เย็น ก่อนอาหาร 
30. ชุมเห็ดเทศ วิธีใช้ นำใบสด หรือแห้ง 1 กำมือนำมาต้มน้ำ 3 แก้ว เคี่ยวนาน30 นาที แบ่งมาดื่มเช้า-เย็นก่อนอาหาร 
31. ชะพลู วิธีใช้ใช้ชะพลูสดทั้ง 5 จำนวน 7 ต้นล้างน้ำให้สะอาด ใส่น้ำพอท่วมต้มให้เดือดสักพัก นำมาดื่มเหมือนดื่มน้ำชา 
32. ชงโค วิธีใช้ นำใบแห้ง 1กำมือ ต้มน้ำดื่มตลอดวัน 
33. ชิงช้าชาลี วิธีใช้ นำต้นใบ เถา 1 กำมือ ต้มน้ำ 3แก้ว เคี่ยวนาน 10-15 นาที นำมาแบ่งดื่ม เช้า-เย็น หรือใช้ราก 90-120 กรัมทุบให้แหลก ต้มน้ำดื่ม เช้า –เย็น 
34. เดือย วิธีใช้ นำลูกเดือย มาต้มกินเป็นอาหารว่าง 
35. ดีปลี วิธีใช้ ผลแห้งดับกลิ่นคาวในแกงเผ็ด แกงคั่ว ใช้ถนอมอาหารไม่ให้บูด หรือนำรากและลำต้นสด 1 กำมือ มาต้มนาน 20 นาที ดื่ม เช้า-เย็น 
36. ตะโก วิธีใช้ นำส่วนของลำต้น ( แก่น) หรือเปลือก 4-6 ชิ้น มาต้มน้ำ 1 ลิตร ดื่มต่างน้ำ 
37.ตำลึง วิธีใช้ ขนาดที่ใช้ ใบสดตำลึง 250 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม เช้าเย็น วันละ 2 ครั้ง 
38. เตยหอม วิธีใช้ นำรากเตยหอม 1 กำมือ ต้มน้ำดื่ม เช้า - เย็น 
39. ถั่วเขียว วิธีใช้ นำเมล็ดถั่วเขียวมาต้มน้ำใช้น้ำตาลเทียม เป็นของหวานหลังอาหาร หรือนำมาปรุงเป็นอาหาร 
40. ถั่วแระต้น วิธีใช้ นำเมล็ดถั่วแระต้น มารับประทานเป็นของกินเล่น 
41. ถั่วเหลือง วิธีใช้ นำเมล็ดถั่วเหลืองมาทำเป็นน้ำถั่วเหลือง ดื่มเป็นเครื่องดื่มแทนอาหารว่าง หรือทำเป็นน้ำเต้าหู้ นำมาปรุงอาหาร 
42. ท้อ วิธีใช้ ใช้เมล็ดแห้งนำมาตำให้ละเอียดตวง1-2ช้อนชา หรือเมล็ดสด 4 กรัมชงน้ำดื่มเช้า-เย็น ก่อนอาหารไว้ชงกินกับน้ำร้อน 
43. ทับทิม วิธีใช้ นำเมล็ด มารับประทานหรือนำมาตากแห้ง บดเป็นผงตวง 1-2 ช้อนชา ชงน้ำร้อนดื่มเช้า-เย็น 
44. โทงเทง วิธีใช้ ใช้ราก 1กำมือ ต้มกับน้ำรับประทานวันละ2 ครั้ง เช้า-เย็น 
45. ทองพันชั่ง วิธีใช้ นำส่วนของต้นกับใบมา 1กำมือ ต้มน้ำ 3 แก้ว เคี่ยวนาน 30 นาทีแบ่งดื่มเช้า-เย็น ก่อนอาหาร 
46. ทองหลางใบมน วิธีใช้ นำใบทองหลางมาทานเป็นอาหาร 
47. เทียนเกล็ดหอย วิธีใช้ นำเมล็ดมาแช่น้ำให้พองตัวแล้วดื่ม ขนาดที่ใช้ 7.5 กรัม 
48. เทียนเยาวพานี วิธีใช้ เมล็ดแห้ง 7.5 กรัมนำมาแช่น้ำนาน 5-10 นาทีแล้วดื่มเช้า-เย็น 
49. น้ำเต้า วิธีใช้ นำใบแห้ง 1 กำมือมาชงกับนำร้อนเป็นชาดื่มแทนน้ำตลอดวัน 
50. บุก วิธีใช้แยกแป้งเป็นเนื้อทรายแล้วชงดื่ม ใช้แป้ง 1 ช้อน ต่อน้ำ 1 แก้วชงดื่มวันละ 2-3 มื้อก่อนอาหาร ครึ่งขาวโมง 
51. บุกอีรอกเขา วิธีใช้ นำหัวบุก ที่อยู่ใต้ดินมาปรุงเป็นอาหาร 
52. บัว วิธีใช้ ใช้ดอกบัวสดหั่นนำมาตากแห้ง คั่วให้หอมเก็บไว้ชงดื่ม เช่นเดียวกับน้ำชาโดยหยิบเอาดอกบัวตรั้งละหยิบมือเล็กๆชงกับน้ำร้อน 1 แก้ว จิบกินไปเรื่อยๆเหมือนน้ำชาชงกิน 3 ครั้งก็ให้เปลี่ยนยาใหม่ 
53. บัวจงกลนี วิธีใช้ ใช้ดอกบัวสดมาหั่นนำมาตากแห้งคั่วให้หอม เก็บไว้ชงดื่มกับน้ำร้อน หรือใช้ดีบัวแห้งครั้งละหยิบมือเล็กๆ ใส่น้ำร้อน 1 แก้ว ชงดื่มไปเรื่อยๆแทนน้ำ 
54. บวบเหลี่ยม วิธีใช้ นำผลบวบ มาปรุงเป็นอาหาร 
55. บอระเพ็ด วิธีใช้ ใช้เถาสด 30-40 กรัมต้มน้ำดื่ม ข้อควรระวังการใช้ไม่ควรใช้ขนาดสูงติดต่อกันนานๆ เพราะจะทำให้ ตับ ไต ทำงานผิดปรกติ 
56. ประดู่ วิธีใช้ ใบประดู่ 1 กำมือ นำมาต้มน้ำ 3 แก้ว แบ่งดื่มเช้า-เย็น ก่อนอาหาร 
57. ปรู๋ วิธีใช้ใบและต้น 1 กำมือ ต้มน้ำ3แก้วเคี่ยวนาน 30นาที แบ่งน้ำดื่มเช้า-เย็น ก่อนอาหาร 
58. ปอกระเจา วิธีใช้นำใบปอกระเจา มาทำอาหาร หรือ ตากใบให้แห้งนำมา 1 กำมือ ชงน้ำร้อนแช่นาน 5-10 นาที นำมาดื่มแทนน้ำทั้งวัน 
59. ผักเชียงดา วิธีใช้ นำผักเชียงดา ต้น ใบ มาปรุงเป็นอาหาร 
60. ผักเบี้ยใหญ่ วิธีใช้ นำใบมาตากแห้ง 1กำมือ นำมาชงน้ำร้อนดื่มเช้า-เย็นก่อนอาหาร 
61. ผักกาดแดง วิธีใช้ นำราก 1 กำมือมาต้มน้ำ 3 แก้ว เคี่ยนาน 20 นาทีนำมาดื่มเช้า-เย็นก่อนอาหาร 
62. ผักกาดน้ำ วิธีใช้ นำทั้งต้นทั้งใบ ราก 1 กำมือ มาต้มน้ำดื่ม เช้า-เย็นก่อนอาหาร 
63. ผักกาดหอม วิธีใช้ นำผักกาดหอมทังต้นและใบมาเป็นอาหาร 
64. ผักโขมหิน วิธีใช้นำต้นใบและราก นำมาต้มน้ำดื่ม เช้า-เย็นก่อนอาหาร 
65. ผักชี วิธีใช้ เมล็ดผักชี มาปรุงเป็นอาหารบ่อยๆ 
66. ผักคะน้า วิธีใช้ นำใบ ต้นมาปรุงอาหารไม่จำกัดจำนวน 
67. ผักเป็ดแดง วิธีใช้ นำใบ 1กำมือ มาต้มน้ำ 3แก้ว เคี่ยวนาน 30 นาทีแบ่งดื่ม 1/2แก้ว เช้าเย็น ก่อนอาหาร 
68. ไผ่เหลือง วิธีใช้ นำใบแก่ 7-10 ใบนำมาต้มน้ำ 1 ขวดเคี่ยวนาน 30 นาที นำน้ำที่ได้มาดื่มแทนน้ำทั้งวัน 
69. ฝรั่ง วิธีใช้ ตามประสบการณ์ เคยทราบว่า ถ้ากินฝรั่งวันละ 1 ลูก ใช้ใบอย่าให้อ่อนและแก่เกินไปล้างให้สะอาด ใช้น้ำ 3 แก้วต้มพอเดือด เด็ดใบฝรั่งจากกิ่งขยำพอช้ำใส่ในหม้อแล้วเอากิ่งที่เด็ดใบฝรั่ง 6 ใบ ทุบใส่ลงไปเคี่ยวให้เหลือแก้วเดียว จิบที่ละอึก สองอึกไปเรื่อยๆทำวันละครั้ง ถ้าผู้ป่วยเบาหวานมีแผลไม่หาย ก็ทำเพิ่มเป็นต้มทีละ 2 หม้อ วิธีเดียวกัน 
70. พริกชี้ฟ้า วิธีใช้ นำมาปรุงเป็นอาหาร 
71. พริกขี้หนู วิธีใช้ นำผลมาปรุงเป็นอาหาร 
72. พริกหยวก วิธีใช้ นำผลมาปรุงเป็นอาหาร 
73. พริกไทย วิธีใช้ ใช้เมล็ดพริกไทยดำ มาปรุงเป็นอาหาร 
74. โพธิ์ วิธีใช้ นำใบแก่ 1 กำมือ มาต้มน้ำ 3แก้ว แบ่งดื่ม เช้าเย็น ก่อนอาหาร 
75. พญายา วิธีใช้ นำใบแก่ 1 กำมือมาต้มน้ำ 3แก้ว แบ่งดื่ม เช้า-เย็นก่อนอาหาร 
76. พญาสัตบรรณ วิธีใช้ นำเปลือก ต้น 4-6 ชิ้นมาต้มน้ำ 3 แก้ว เคี่ยวนาน 30 นาที นำมาดื่มแทนน้ำ 
77. ฟ้าทะลายโจร วิธีใช้ ใช้ทั้งต้นและใบสด 1 กำมือมาต้มน้ำ3 แก้ว เคี่ยวนาน 30 นาทีแบ่งดื่ม เช้า-เย็น ก่อนอาหาร 
78. ฟักข้าว วิธีใช้ นำผลอ่อน ใบอ่อน ยอดอ่อน มาปรุงเป็นอาหาร 
79. มะกอกฝรั่ง วิธีใช้ นำผลมะกอก มาปรุงเป็นอาหารหรือคั้นน้ำจากผล ดื่ม 
80. มะตูม วิธีใช้ นำใบมะตูมแก่ 1 กำมือ มาต้มน้ำ 3 แก้ว เคี่ยวนาน 15-20 นาทีนำมาแบ่งดื่มตลอดวัน 
81. มะขามป้อม วิธีใช้ นำผลสดมาตำแล้วคั้นน้ำดื่มผสมเกลือดื่มเช้า-เย็น 
82. มะระ วิธีใช้ ทำอาหารหรือคั้นดื่ม 
83. มะระขี้นก วิธีใช้ ใช้ผลต้มรับประทานครั้งละ 6-15 กรัม หรือผิงไฟให้แห้งบดเป็นผงหรือชงเป็นน้ำชาดื่ม 
84. มะแว้งเครือ วิธีใช้ ตามประสบการณ์ เอามะแว้งทั้งห้านำมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ตากให้แห้ง แล้วคั่วให้เหลือง เกือบไหม้เก็บไว้ในโหล ใช้ประมาณ 1-2 หยิบมือ ชงกับชาร้อน 1 แก้ว กินต่างน้ำ ดื่มไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหาย ถ้าเป็นยาผง ให้กินครั้งละ 1ช้อนแกง กับน้ำ 1แก้ว วันละ 3 เวลา กิน 15 วัน จะรู้สึกดีขึ้น หรือเอามะแว้งเครือ ปรุงเป็นอาหาร กินติดต่อกัน 30 วัน 
85. มะแว้งต้น วิธีใช้ ผลใช้ปรุงเป็นอาหาร 
86. มะเดื่อชุมพร วิธีใช้ ใช้เปลือกต้น นำมาต้มน้ำดื่ม เช้า-เย็น 
87. มะตาด วิธีใช้ นำใบแห้งหรือสด 1 กำมือ มาต้มน้ำ 3 แก้ว เคี่ยวนาน 30นาที แบ่งดื่ม เช้า-เย็นก่อนอาหารหรือนำผลสดมาคั้นดื่ม เช้า-เย็น 
88. มะม่วงหิมพานต์ วิธีใช้ เปลือกต้น ส่วนในนำมาต้มดื่มเช้า-เย็น 
89. แมงลัก วิธีใช้ รายงานการทดลอง เมล็ดนำมาแช่น้ำ 10 กรัม กินหลังอาหาร วันละ 3 ครั้ง ลดน้ำตาลในเลือดได้อย่างชัดเจน 
90. แมงลักคา วิธีใช้ นำใบและต้นสด 1 กำมือ มาต้มน้ำ 3 แก้ว เคี่ยวนาน 30 นาทีแบ่งดื่มเช้า-เย็น ก่อนอาหาร 
91. ไมยราบ วิธีใช้ ในประเทศฟิลิปปินส์ ใช้ทั้งต้นต้มน้ำดื่ม แก้โรคเบาหวาน 
92. ยี่หร่า วิธีใช้ นำผลแห้งยี่หร่า นำมาปรุงแต่งกลิ่นในอาหาร หรือทำเป็นเครื่องดื่ม 
93. ยูคะลิปต์ วิธีใช้ นำส่วนที่อยู่เหนือดินเช่นใบ เปลือกต้น นำมาต้มดืมเช้า-เย็น 
94. ระย่อม วิธีใช้ รากแห้ง 100 กรัม ชงน้ำร้อนดื่มเช้า- เย็น 
95. ลูกชัด วิธีใช้ ผงจากเมล็ด และสารสกัดจากเม็ด 
96. เลียบ วิธีใช้ สารสกัดจากต้น 
97. ลูกใต้ใบ วิธีใช้ นำใบและต้น 1-2 กำมือ มาต้มกับน้ำ 3 แก้วแบ่งดื่มเช้าเย็น 
98. ลิ้นจี่ วิธีใช้ ใบ 1กำมือ นำมาต้มดื่มเช้า-เย็น 
99. ว่านพร้าว วิธีใช้ นำรากสด90-120 กรัม มาต้มน้ำ1-2 แก้ว เคี่ยวนาน 30 นาทีแบ่งดื่มเช้า-เย็น 
100. ว่านพระฉิม วิธีใช้ นำเหง้าขนาด 10-20 กรัม บดละเอียดนำมาชงน้ำร้อน 1 แก้วดื่ม เช้า-เย็น ก่อนอาหาร 
101. ว่านน้ำ วิธีใช้ เหง้าแห้ง 10-20 กรัม หั่นเป็นชิ้น ชงด้วยน้ำร้อน 1 แก้ว รับประทานครั้งละ 1 ถ้วยแก้วก่อนอาหารเช้า-เย็น 
102. ว่านชักมดลูก วิธีใช้ เหง้าแห้ง 6.9 กรัม ชงด้วยน้ำร้อน 2 แก้ว แบ่งรับประทานครั้งละ 1 แก้วเช้า-เย็น ก่อนอาหาร 
103. ว่านหางจระเข้ วิธีใช้ ใช้เนื้อวุ้นสดขนาด 2x2 นิ้ว กินวันละ3 ครั้ง ระหว่างมื้ออาหาร 
104. สะตอ วิธีใช้ นำมาทำอาหารหรือใช้สารสกัดจากเมล็ดสะตอ 
105. สะเดา วิธีใช้ นำใบสะเดาไปต้มดื่ม ปรุงเป็นอาหาร แต่ต้องกินทุกวัน หรือต้มให้เดือดนาน5/10 นาทีใบสด 1 กำมือต้มกับน้ำ 3-4 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 2 แก้ว รับประทานครั้งละครึ่งแก้ว วันละ2 ครั้ง เช้า-เย็นก่อนอาหาร 
106. โสมเกาหลี วิธีใช้ ใช้สารสกัด โดยนำรากอายุโสม 5-6 ปี มาล้างน้ำให้สะอาด ตากให้แห้งในที่ร่มใช้เวลาถึง 6 สัปดาห์อบในตู้อบ ที่มีอากาศถ่ายเท 60-80 องศาฯนาน 2-3 วันแล้วเพิ่มเป็น 90 องศา ฯ ข้อแนะนำ ขณะกินโสม เพื่อให้ได้ผลสูงสุดเวลากินโสมจะต้องเลี่ยงอาหารบางอย่างอย่ากินรวมกัน จะได้ดี อาหารอื่นต้องกินหลังกินโสมอย่างน้อย 3 ชั่วโมง อาหารเหล่านี้ได้แก่ ผลไม้ที่มีกรดสูงๆ น้ำผลไม้ที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น น้ำส้ม น้ำมะนาว และห้ามกินวิตามินซีร่วมกับโสม อาหารหรือสารอาหารต่างๆ ดังกล่าวจะไปทำลายฤทธิ์ที่ควรจะได้จากโสม 
107. สัก วิธีใช้ นำใบสักมาปิ้งให้สุกกรอบ พร้อมกับใบเตย ใบสัก 3 ใบต่อใบเตย 7 ใบ เมื่อสุกกรอบแล้วนำภาชนะที่จะใช้ใส่ คือหม้อดินใส่น้ำพอประมาณใส่ใบสักและใบเตยลงใบ ต้มทิ้งไว้สักครู่ เทดูน้ำเป็นสีชาแก่ๆ ไม่ขมมาก ตำรานี้ได้มาจากปักษ์ใต้ดื่มเป็นประจำเช้า-เย็น 
108. ส้มกบ วิธีใช้ ใช้รับประทานเป็นผัก ทำอาหาร 109. ส้มกุ้ง วิธีใช้ใช้เมล็ดส้มกุ้ง ที่แห้งนำมาป่นเป็นผง ใช้ 1-2 ช้อนชา ชงน้ำร้อนดื่มเช้า-เย็น 
110. สายน้ำผึ้ง วิธีใช้นำดอกแห้ง 30 กรัม ดอกสด 90 กรัม ต้มน้ำร้อนดื่มบ่อยๆ หรือใช่เถาหรือใบก็ได้ ต้มน้ำร้อนดื่มบ่อยๆ 
111. สนทะเล วิธีใช้นำแก่น 3-5 ชิ้น มาต้มน้ำดื่มเช้า-เย็น 
112. ส้มเกลี้ยง วิธีใช้ นำผลมารับประทานเป็นของว่าง 
113. โหราข้าวโพด วิธีใช้ ใช้ส่วนที่เป็นเหง้ามาต้มน้ำดื่มเช้า-เย็น 
114. หญ้าหนวดแมว วิธีใช้ วิธีดื่มชาหญ้าหนวดแมว โดยทั่วไปให้ใช้ใบ และก้านแห้ง 1 หยิบมือ(5 กรัม) ชงกับน้ำเดือดประมาณ 1 ลิตร (3-4 แก้ว) ดื่มครั้งละ 1 แก้ววันละ 3 ครั้งหรือดื่มต่างน้ำ
ข้อควรระวัง
1. เนื่องจากหญ้าหนวดแมว มีเกลือโปรตัสเซียมสูงจึงไม่ควรใช้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ 
2. ควรใช้ชงไม่ควรใช้ต้ม และควรใช้ใบอ่อน ไม่ควรใช้ใบแก่ เพราะอาจมีตัวยาออกมามากเกินไป ทำให้มีฤทธิ์กดหัวใจ ทำให้หายใจผิดปรกติใช้ใบอ่อนหรือยอดอ่อน(มีใบอ่อน 2-3 ใบ) ควรเก็บตอนที่หญ้าหนวดแมวกำลังออกดอกเพราะจะเป็นช่วงที่มีสาระสำคัญมาก (แต่ไม่ใช้ดอก) 
3. ถ้าใช้ใบสด จะมีอาการคลื่นไส้และหัวใจสั่นจึงควรใช้ใบตากแห้ง 
4. สารจากหญ้าหนวดแมวจะทำให้ยาแอสไพรินไปจับกล้ามเนื้อหัวใจมากขึ้น จึงไม่ควรใช้หญ้าหนวดแมวร่วมกับแอสไพริน 
5. ใบกิ่งหรือใบแก่ จะมีสารที่มีฤทธิ์บีบหัวใจ ทำให้ใจสั่น ผู้ที่เป็นโรคหัวใจไม่ควรใช้ หรือควรระวังในการใช้ยา ควรเลือกเก็บแต่ใบอ่อนและยอดอ่อนจะปลอดภัยที่สุด 
115. หญ้าพันงูขาว วิธีใช้ นำทั้งต้นสดและใบสด มา1กำมือ ต้มกับน้ำ 3แก้ว เคี่ยวนาน 30 นาที นำน้ำที่ได้แบ่งดื่มเช้า-เย็น ก่อนอาหาร 
116. หญ้าหวาน วิธีใช้ นำมาผสมในเครื่องดื่ม หรืออาหารให้รสหวานแทนน้ำตาล 
117. หญ้าใต้ใบ วิธีใช้ นำทั้งต้นและใบ 1กำมือ มาต้มดื่ม 3 แก้วเคี่ยวนาน 30 นาที แบ่งมาดื่ม เช้า-เย็น ก่อนอาหาร 
118. หญ้าต้อมต๊อก วิธีใช้ นำผลแห้งมาบดเป็นผง ตวง 1-2 ช้อนชา ชงน้ำร้อน 1แก้ว ดื่มเช้า-เย็น 
119. หม่อน วิธีใช้ ใบ ใช้ใบอ่อน และแก่นำมาทำเป็นชาเขียว ชงน้ำดื่ม เปลือกรากใบหม่อน นำมาทุบให้แหลก 90-120 กรัม มาต้มน้ำดื่มเช้า-เย็น หรือปัจจุบันมีการแปรรูปใบหม่อน เป็นผลิตภัณฑ์ ชา ทั้งชาเขียว และชาดำ ชงน้ำดื่ม เช้า-เย็นได้เช่นกัน 
120. หว้า วิธีใช้ เมล็ด ต้มหรือบดรับประทาน 
121. หนุมานประสานกาย วิธีใช้ ใช้ใบสดๆเคี้ยวครั้งะ 2 ช่อ หรือนำมาตำให้ละเอียดรับประทานวันละ 1-3 ครั้งก่อนอาหาร หรือใช้ใบตากแห้ง 1-3 ช่อนำมาใส่แก้วผสมน้ำร้อนแช่นาน 10 นาที แล้วดื่มครั้งละ 1 ถ้วยกินต่างน้ำเป็นชาร้อน ข้อควรระวัง พบอาการข้างเคียงคือ ใจสั่น หัวใจเต้นแรงขึ้นผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ห้ามใช้ ควรเริ่มยาจากขนาดน้อยๆก่อนแล้วค่อยๆปรับขนาดยาเอง ตามอาการข้างเคียงที่พบ 
122. หมากดิบน้ำค้าง วิธีใช้ ต้นใบนำมาต้มดื่ม 
123. หอมแดง วิธีใช้ ใช้หัวและใบแต่งกลิ่นอาหารคาวหลายชนิด หัวตากแห้งใช้เป็นส่วนของเครื่องแกง พริกทุกชนิด 
124. หอมใหญ่ วิธีใช้ ใช้ประกอบอาหาร 
125. เห็ดหลินจือ ต้ม หรือ สารสกัดเป็นเม็ดแคปซูล 
126. อินทนิลน้ำ วิธีใช้ ใช้ใบต้มดื่ม 
127. อบเชย วิธีใช้ ใช้อบเชยวันละ 1 ช้อนชา หรือประมาณ 1200 มิลิกรัม โดยแบ่งออกเป็น 4 มื้อ ซึ่งจะได้อบเชยผง ปริมาณ 300 มิลลิกรัม หรือขนาดเท่ากัน แคปซูลเบอร์ 1 สำหรับผู้ไม่เป็นเบาหวานสามารถ กินวันละ 500-600 มิลลิกรัม 2 เม็ดต่อวัน 
128. อ้อย (ช่อดอก) วิธีใช้ นำดอกอ้อย 100กรัม มาตากแห้ง ป่นเป็นผง นำมาชงน้ำร้อนดื่มเช้า-เย็น 
129. เอื้องหมายนา วิธีใช้ นำราก 90-120 กรัม มาต้มดื่ม 3 แก้ว เคี่ยวนาน 30 นาที นำน้ำที่ได้มาแบ่งดื่มเช้า-เย็นก่อนอาหาร 
130. แฮ่ม วิธีใช้ ใช้เป็นยาชง 
131. ก้างปลาเครือ วิธีใช้ นำราก 120กรัม ทุบใหแหลก มาต้มดื่มเช้า-เย็น 
132. ตะไคร้ ต้นสด หรือเหง้า วันละ 1กำมือ หรือหนัก 40-60 กรัม ต้มกับน้ำ 3-4 ถ้วยแบ่งดื่มวันละ 3 ครั้งก่อนอาหาร 
133. แตงกวา วิธีใช้ ผลนำมารับประทานเป็นอาหาร 
134. แตงโม นำส่วนเปลือกที่มีสีขาว มาป่นน้ำดื่ม หรือนำมาปรุงอาหาร 
135. มะขาม วิธีใช้ เนื้อในเมล็ดที่เป็นสีขาว ต้มกับน้ำใส่เกลือเล็กน้อย รับประทาน 1 ครั้งหรือคั่วให้เนื้อในเหลืองกระเทาะเปลือกแช่น้ำให้นิ่ม เคี่ยวเช่นถั่วขนาด20-25 เมล็ด 
136. มะเขือเทศ วิธีใช้นำผลมะเขือเทศสด ทำน้ำปั่นดื่มเช้า-เย็น หรือนำมาปรุงเป็นอาหาร 
137. มะเขือยาว วิธีใช้ นำผลมาปรุงเป็นอาหาร 
138. มะม่วง วิธีใช้นำใบ10-20 ใบมาต้มน้ำ 1ลิตร ดื่มแทนน้ำบ่อยๆทั้งวัน 139. มะนาว วิธีใช้ นำน้ำมะนาว 3-4 ลูก ผสมน้ำโซดา 1 ขวด แช่น้ำแข็งดื่มแก้กระหายน้ำ 
140. มะรุม วิธีใช้ นำรากสด 90-120 กรัม ทุบให้แหลก ต้มน้ำดื่มตอนเช้า-เย็น หรือใช้ใบหรือดอก 1กำมือ มาต้มน้ำดื่มตอนเช้า-เย็นหรือนำฝักมะรุมมาทำอาหาร 
141. มะละกอ วิธีใช้นำผลสุกมากินเป็นอาหารหรือนำผลดิบ1 ผล/น้ำ1ลิตรดื่มแทนน้ำ 
142. มะเฟือง วิธีใช้ นำรากประมาณ 1-2 ช้อนชา ทุบให้ละเอียดต้มน้ำดื่ม เช้า-เย็น หรือนำมาบรรจุแคปซูลกิน1 เม็ดเช้า-เย็น 
143. รากสามสิบ วิธีใช้ นำราก 90-100 กรัม มาต้มน้ำดื่มวันละครั้งตอนเช้า 
144. สะระแหน่ วิธีใช้ นำใบสะระแหน่ 1 กำมือ มาปั่นหรือตั้มดื่มตอนเช้า-เย็น 
145. หญ้าฝรั่น วิธีใช้ ดอก 1 กำมือ มาต้มดื่มตอนเช้า-เย็น 
146. สมอไทย วิธีใช้ นำผลสด 10-15 ผล มาต้มน้ำ 3 แก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 แก้วแบ่งดื่ม เช้า-เย็น 
147. สมอพิเภก วิธีใช้ นำผล 5-10 ผล มาต้มน้ำ 3 แก้ว เคี่ยวให้เหลือ แก้ว แบ่งดื่มเช้า-เย็น 
148. หูกวาง วิธีใช้ นำใบแก่ 3-4 ใบ มาต้มดื่มน้ำตอนเช้า 
149. โหระพา วิธีใช้ นำทั้งใบ ต้น 1 กำมือ ต้มน้ำดื่มเช้า- เย็น ก่อนอาหาร หรือนำใบมาปรุงเป็นอาหาร 
150. องุ่น วิธีใช้ ใบ จำนวนพอควร คั้นเป็นเครื่องดื่ม หรือใช้สารสกัดจากเมล็ดใส่แคปซูลกิน 1-2 เม็ด เช้า-เย็น 
ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทย ประมาณ 3 - 4 ล้านคน โรคเบาหวานเป็นโรคทางกรรมพันธุ์ และการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้องสมุนไพรที่นำมาเขียนทั้งหมดนี้ เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ป่วยดีขึ้น หรือผู้ที่ยังไม่เป็นโรคเบาหวาน ป้องกันได้ทางหนึ่ง โดยเรานำมาเป็นอาหาร รับประทานแต่พอดี หรือตามในข้อมูลที่กล่าวไว้ ช่วยกันบอกกล่าวผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน พืชผักใกล้ตัว สามารถนำมาช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ 

https://www.rak-sukapap.com/2016/06/150.html

อัพเดทล่าสุด