หญ้าใต้ใบ มีชื่ออื่นๆ : มะขามป้อมดิน ไฟเดือนห้า หมากไข่หลัง หมากใต้ใบ ลูกใต้ใบ ฯลฯ
หญ้าใต้ใบ มีสรรพคุณทั้งต้น แก้ไข้ทุกชนิด ขับปัสสาวะ รักษาริดสีดวงทวาร กามโรค ปวดท้องดีซ่าน ท้องเสีย และบิด ลดความดันโลหิต
โดยนำต้นสดๆ 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยครึ่ง ดื่มครั้งละครึ่งถ้วย ใบอ่อน แก้ไอสำหรับเด็ก ปรุงเป็นยาแก้อักเสบ แก้โรคตับ ตัวเหลือง ตาเหลือง คุมเบาหวานได้ดี ตำพอกรักษาแผลอักเสบให้แห้งเร็ว
หมอยาจีนเชื่อว่า หญ้าใต้ใบ ช่วยกำจัดพิษออกจากตับ มีผลทำให้สายตาดี บำรุงตับ รักษาอาการดีซ่าน หมอพื้นบ้านไทยและหมออายุรเวทอินเดียมีความเชื่อว่า หญ้าใต้ใบเกิดมาเพื่อตับ ใช้ต้มกินเป็นยาแก้ดีซ่าน แก้ตับอักเสบตัวเหลือง ตาเหลือง
สมุนไพรไทยของลูกใต้ใบ ประกอบด้วยแร่ธาตุที่สำคัญ ดังนี้ ธาตุโซเดียม 0.86 %, ธาตุโพแทสเซียม 12.84 %, ธาตุเหล็ก 10.68 %, ธาตุแคลเซียม 6.57 %, ธาตุแมกนีเซียม 0.34 %, ธาตุอะลูมิเนียม 3.92 %, ธาตุฟอสฟอรัส 0.34 %, ธาตุแคดเมียม 8 ppm, และสารหนู 12 pmm ส่วนองค์ประกอบของสารเคมี จะประกอบไปด้วยสารแทนนิน (Tannins), ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids), ลิกแนนส์ (Lignans), ไกลโคไซด์ (Glycosides), ซาโปนิน (Saponin) ฯลฯ
สรรพคุณของลูกใต้ใบ
- รากและใบของลูกใต้ใบ ใช้ยาชงกินกับน้ำเป็นยาบำรุงร่างกาย (รากและใบของลูกใต้ใบชนิด P. urinaria)
- ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (ราก,น้ำต้มใบ)
- ในเขมรใช้ลูกใต้ใบชนิด P. urinaria เป็นยาเจริญอาหาร (ไม่ระบุส่วนที่ใช้
- ผลใช้ต้มดื่มช่วยบำรุงสายตา ทำให้สายตาดี (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) ช่วยรักษาโรคตา (ใบ)
- ลูกใต้ใบเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ช่วยควบคุมและลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ จึงมีประโยชน์ต่อผู้เป็นโรคเบาหวาน แต่มีข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยเบาหวานว่า ต้องรับประทานยาแผนปัจจุบันตามที่แพทย์สั่ง และควรหมั่นตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ (ต้น) โดยให้ใช้ทั้งต้นของลูกใต้ใบชนิด P. urinaria จำนวน 1 กำมือ นำมาต้มดื่ม (ทั้งต้น)
- ช่วยลดความดันโลหิต (ไม่ระบุส่วนที่ใช้, ทั้งต้น (เข้าใจว่าเป็นชนิด P. urinaria)
- ลูกใต้ใบ สรรพคุณใช้เป็นยาแก้ไข้ ลดความร้อน ช่วยลดไข้ทุกชนิด (ไข้หวัด ไข้จับสั่น ไข้ทับระดู ไข้หวัดใหญ่ ไข้จากการเปลี่ยนแปลงของอากาศ ไข้จากการอ่อนเพลีย) ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว แล้วเคี่ยวจนเหลือ 1 ½ ถ้วยแก้ว ใช้ดื่มครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว หรือใช้ลูกใต้ใบตากแห้งเก็บใส่โหลไว้ชงเป็นชาดื่มก็ได้เช่นกัน (ต้น,ทั้งต้น,ผล,ราก,น้ำต้มใบ)
- ช่วยรักษามาลาเรีย (น้ำต้มใบ)
- ช่วยแก้อาการไอ (ทั้งต้น)[3] ใบอ่อนใช้เป็นยาแก้ไอสำหรับเด็ก (ใบอ่อนของลูกใต้ใบชนิด P. urinaria)
- ช่วยแก้หืด ด้วยการใช้ทั้งต้นของลูกใต้ใบ (เข้าใจว่าเป็นชนิด P. urinaria) นำมาล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียดผสมกับน้ำอุ่น แล้วคั้นเอาแต่น้ำมาดื่มก่อนอาหารครั้งละ 2-3 อึก วันละ 3 ครั้ง ติดต่อกัน 3 วัน (ทั้งต้น)
- ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ด้วยการใช้ทั้งต้นนำมาต้มกิน (ทั้งต้น,ผล)
- ช่วยขับเหงื่อ โดยใช้หญ้าใต้ใบ (เข้าใจว่าเป็นชนิด P. urinaria) นำต้มกิน และยังช่วยลดไข้ได้ด้วย (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
- ช่วยขับเสมหะ (ทั้งต้น)
- ช่วยแก้พิษตานซาง (ผล)
- สรรพคุณต้นลูกใต้ใบ ช่วยแก้โรคดีซ่าน (ต้น,ทั้งต้น,ใบ) ให้ใช้ทั้งต้นของลูกใต้ใบ (เข้าใจว่าเป็นชนิด P. urinaria) นำมาต้ม 3 ส่วน ให้เหลือ 1 ส่วน แล้วเอามากินครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3-4 ครั้ง กินติดต่อกันเป็นเวลา 1 สัปดาห์ อีกทั้งยังช่วยกำจัดสารพิษออกจากตับ และช่วยทำให้สายตาดีได้อีกด้วย (ทั้งต้น)
- ใช้รากของลูกใต้ใบ (เข้าใจว่าเป็นชนิด P. urinaria) นำมาต้มหรือชงกับน้ำกิน มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกระเพาะอาหาร ช่วยแก้อาการกระเพาะอาหารพิการ และช่วยรักษาลำไส้อักเสบ (ราก)[11]
- ช่วยแก้อาการท้องเสีย (ต้น,ทั้งต้น,ราก)
- น้ำต้มใบใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง ท้องมาน แก้บิด ท้องร่วง (ใบ) ทั้งต้นของลูกใต้ใบมีสรรพคุณช่วยแก้อาการปวดท้อง ท้องเสีย และแก้บิด (ทั้งต้นของลูกใต้ใบชนิด P. urinaria) สำหรับวิธีการใช้เป็นยาแก้บิด ให้ใช้ทั้งต้นของลูกใต้ใบ (เข้าใจว่าเป็นชนิด P. urinaria) นำมาต้มกินหรือแทรกปูนแดงขนาดเท่าเม็ดถั่วดำ นำมาต้มรวมกันใช้กินแก้บิด (ทั้งต้น))
- ต้นใช้ต้มเป็นยาระบาย (ต้น)
- ช่วยแก้เถาดานในท้อง (ลักษณะเป็นก้อนแข็งในท้อง บางครั้งมีลักษณะเป็นแผ่นแข็ง ซึ่งอาจส่งผลทำให้มีอาการปวดหลังตามมาได้) ด้วยการใช้ทั้งต้นของลูกใต้ใบ (เข้าใจว่าเป็นชนิด P. urinaria) มาตากให้แห้งประมาณ 1 ลิตร แช่ในเหล้า 1 ลิตร แล้วหมกข้าวเปลือกไว้ 7 วัน แล้วเอามานึ่ง ให้คาดคะเนว่าธูปหมด 1 ดอก ให้กินเช้าและเย็น (ทั้งต้น)
- ต้นใช้ต้มร่วมกับสมุนไพรอื่น (พันงูเขียว) ใช้เป็นยาป้องกันพยาธิลำไส้ในเด็ก (ต้น)
- ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะขัด แก้ขัดเบา ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว แล้วเคี่ยวจนเหลือ 1 ½ ถ้วยแก้ว ใช้ดื่มครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว (ต้น,ทั้งต้น,ราก,ใบ)
- ใช้รักษาอาการมีไข่ขาวในปัสสาวะ อาการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ช่วยลดอาการบวม จึงช่วยผู้ที่เป็นโรคเก๊าท์ในการขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
- ช่วยแก้นิ่ว (ต้น,ราก) ขับนิ่วในไต (น้ำต้มใบ) รักษานิ่วในถุงน้ำดีและนิ่วในไต (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) หรือใช้ทั้งต้นของต้นลูกใต้ใบ (เข้าใจว่าเป็นชนิด P. urinaria) จำนวน 1 กำมือ ตำให้แหลกคั้นเอาแต่น้ำ และให้เอาสารส้มขนาดปลายนิ้วก้อยละลายลงไป แล้วดื่มก่อนอาหารให้หมดครั้งละครึ่งถ้วยชา วันละ 3 เวลา โดยให้ดื่มติดต่อกัน 3 วัน จากนั้นให้ใช้ทั้งต้นจำนวน 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำตาลทรายแดงให้พอหวาน ใช้ดื่มต่างน้ำติดต่อกันอีก 3 วัน เมื่อขึ้นวันที่ 7 ก็ให้ดื่มน้ำอ้อยสด วันละ 1 ขวดต่อไปอีก 3 วัน เพื่อช่วยล้างนิ่วเป็นขั้นตอนสุดท้าย (ทั้งต้น)
- ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร (ทั้งต้นของลูกใต้ใบชนิด P. urinaria)
- ช่วยขับระดูขาวของสตรี (ต้น,ทั้งต้น)
- ช่วยขับประจำเดือนของสตรี แก้อาการประจำเดือนมาไม่ปกติ ด้วยการใช้ต้นนำมาต้มกิน (ต้น)
- ช่วยแก้ระดูไหลไม่หยุดหรือมามากกว่าปกติของสตรี ด้วยการใช้รากสดนำมาตำผสมกับน้ำซาวข้าวกินจะช่วยทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ (ราก)
- ช่วยรักษาไข้ทับระดู ด้วยการใช้ทั้งต้นนำมาล้างน้ำให้สะอาด ใช้ตำผสมกับเหล้าขาว คั้นเอาแต่น้ำยามาดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชา (ทั้งต้น)
- ช่วยรักษากามโรค (ทั้งต้น) ช่วยแก้เริม ด้วยการใช้ทั้งต้นนำมาตำผสมกับเหล้าคั้นเอาแต่น้ำยา แล้วใช้สำลีชุบน้ำยามาแปะตรงที่เป็นเริม เพื่อทำให้รู้สึกเย็น และอาการปวดจะหายไป (ทั้งต้น)
- ช่วยแก้น้ำดีพิการ (ทั้งต้น)
- ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย (น้ำต้มใบ)
- สรรพคุณของลูกใต้ใบ ใช้ต้มดื่มติดต่อกันประมาณ 1 สัปดาห์จะช่วยกำจัดพิษออกจากตับ ป้องกันไม่ให้ตับถูกทำลายจากสารพิษต่าง ๆ และช่วยบำรุงตับ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยรักษาโรคไวรัสตับอักเสบบีได้เป็นอย่างดี รักษาอาการอักเสบของตับทั้งประเภทเฉียบพลันและเรื้อรัง และยังช่วยปรับไขมันในตับให้เป็นปกติ จึงช่วยในการทำงานไต (ผล)
- นอกจากจะใช้เป็นยารักษาดีซ่านแล้ว ยังช่วยแก้ตับอักเสบ ตัวเหลือง ตาเหลืองได้ด้วย (ต้น)
- ช่วยแก้อาการคัน ด้วยการใช้ใบนำมาตำผสมกับเกลือ แล้วนำมาทาจะช่วยแก้อาการคันได้ (ใบ)
- ใช้เป็นยาฝาดสมาน (ต้น) ช่วยรักษาบาดแผล (ใบ)
- หากเป็นแผลสด แผลฟกช้ำ ให้ใช้ลูกใต้ใบนำมาตำแล้วพอก แต่ถ้าเป็นแผลเรื้อรังให้ใช้ใบนำมาต้มผสมกับซาวข้าวแล้วนำมาพอก (ผล,ใบ)
- ช่วยแก้อาการฟกช้ำบวม ด้วยการใช้ต้นสดนำมาตำผสมกับเหล้า แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็น ในบางตำราระบุว่าให้ใช้คลุกกับข้าวสุกเสียก่อน แล้วค่อยพอก (ต้น,ทั้งต้น) ส่วนในอินเดียจะใช้ใบและรากแห้งนำมาบดเป็นผงผสมกับน้ำซาวข้าวแล้วนำมาพอก (ใบ,ราก เข้าใจว่าเป็นชนิด P. urinaria)
- ช่วยแก้บวม (ต้น,ทั้งต้น,ราก)
- ช่วยแก้หิด (ใบ)
- ช่วยแก้ฝี แก้อาการปวดฝี ด้วยการใช้ต้นสดนำมาตำผสมกับเหล้า แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็น (ต้น,ทั้งต้น)
- ช่วยแก้อาการปวด ปวดบวมตามร่างกาย (ต้น)
- ช่วยแก้อาการปวดหลัง ปวดเอว อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ด้วยการใช้ลูกใต้ใบที่ล้างสะอาดแล้ว นำมาสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตากแดดให้แห้ง แล้วนำไปต้มในหม้อดิน และนำมาใช้ดื่มแทนน้ำชา (ผล)
- ใช้รักษาอาการปวดกระดูกและปวดข้อ (ยอดอ่อน, ต้น)
- มีรายงานวิจัยระบุว่านอกจากสมุนไพรลูกใต้ใบจะมีฤทธิ์ในการแก้ไข้แล้ว ยังมีฤทธิ์แก้อาการอักเสบได้อีกด้วย (ต้น)
- ช่วยแก้อาการนมหลง สำหรับหญิงคลอดบุตรแล้วน้ำนมเกิดหยุดไหล หลังจากเคยไหลมาแล้ว และมีอาการปวดเต้า ถ้าหากปล่อยไว้อาจจะกลายเป็นฝีที่นมได้ ให้ใช้ทั้งต้นประมาณ 1 กำมือนำมาตำผสมกับเหล้าขาว แล้วคั้นเอาแต่น้ำมาดื่ม 1 ถ้วยชา และใช้กากที่เหลือนำมาพอก ก็จะช่วยทำให้น้ำนมไหลออกมาได้ (ทั้งต้น)[
ข้อควรระวัง : ห้ามใช้ในคนท้อง เพราะเป็นยาขับประจำเดือน
** สมุนไพรใกล้ตัว มุ่งเสนอสรรพคุณทางยา การนำไปใช้ควรพิจารณาอย่างรอบด้าน **
อ้างอิง...มูลนิธิหมอชาวบ้าน