สบู่แอนตี้แบคทีเรีย เป็นสารก่อมะเร็งจริงหรือไม่?


1,294 ผู้ชม

สบู่แอนตี้แบคทีเรีย ไตรโคซาน คืออะไร ไตรโคซาน เป็นสารก่อมะเร็งจริงหรือไม่?


สบู่แอนตี้แบคทีเรีย ไตรโคซาน คืออะไร ไตรโคซาน เป็นสารก่อมะเร็งจริงหรือไม่?

ที่สหรัฐอเมริกาเริ่มมีกระแสต่อต้านการใช้สบู่ หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่เป็นสูตรแอนตี้แบคทีเรีย หลังจากที่มีกลุ่มนักวิจัยค้นพบว่า ในผลิตภัณฑ์แอนตี้แบคทีเรีย มี “สารไตรโคลซาน” ผสมอยู่ และสารนี้แหละ ที่กำลังถกเถียงอยู่ในหมู่นักวิจัยกันอยู่

ไตรโคซาน คืออะไร?

ไตรโคลซาน เป็นสารเคมีที่พบในผลิตภัณฑ์ที่เราใช้ทำความสะอาดร่างกายในชีวิตประจำวันของเรา ไม่ว่าจะเป็นสบู่ น้ำยาทำความสะอาด ยาสีฟัน หรือแม้กระทั้งผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นเหงื่อ

ปัญหาของ ไตรโคซาน

องค์การอาหารและยา หรือ เอฟดีเอของสหรัฐอเมริกา ทำการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายในท้องตลาด ว่ามีสารไตรโคลซานในปริมาณที่มากจนก่อให้เกิดอันตรายบ้างหรือไม่ และผลก็คือยังไม่พบผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดอันตราย

แต่นักวิจัยกลับเผยแพร่ผลการศึกษาว่า ไตรโคลซาน ทำให้เชื้อแบคทีเรียดื้อยา สัตว์ทดลองมีฮอร์โมนผิดปกติ และอาจจะมีความเกี่ยวพันธ์กับการเกิดมะเร็งตับ ทำให้มีการหยิบยกเรื่องของผลิตภัณฑ์ แอนตี้ แบคทีเรีย ขึ้นมากล่าวถึงกันมากขึ้น

ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยในโอเรกอน ได้ลองศึกษาผลข้างเคียงของไตรโคลซานต่อปลาม้าลาย โดยให้อาหารที่มีส่วนผสมของสารดังกล่าวแก่ปลาที่โตเต็มวัย จำนวน 45 ตัว เป็นเวลา 7 วัน พบว่า ไตรโคลซาน ทำให้จุลินทรีย์ในลำไส้ของปลาเปลี่ยนแปลงไป

อย่างไรก็ตาม ไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัดว่า การที่มนุษย์เราได้รับสารเคมีนี้จากผลิตภัณฑ์ที่มีแอนตี้แบคทีเรียนั้น จะก่อให้เกิดผลข้างเคียงเช่นเดียวกับปลาม้าลายหรือไม่ เพราะปลาไม่ใช่มนุษย์ แถมยังอาศัยอยู่ในน้ำ ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน ดังนั้นกรณีนี้ควรได้รับการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม โดยพุ่งประเด็นไปที่ความเปลี่ยนแปลงของจุลินทรีย์ในลำไส้ ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ รวมไปถึงปริมาณของไตรโคลซาน ที่จะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของจุลินทรีย์ดังกล่าว

ทางด้านกลุ่มที่ไม่เห็นด้วย กับการใช้ผลิตภัณฑ์แอนตี้แบคทีเรีย ได้นำงานวิจัยที่เคยเผยแพร่ในวารสาร The Journal of Antimicrobial Chemotherapy ออกมายืนยันว่า เคยมีการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสบู่แอนตี้แบคทีเรีย เทียบกับสบู่ธรรมดา พบว่าสบู่ทั้งสองให้ผลในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ไม่ต่างกัน

แม้จะมีรายงานว่า ปริมาณสารไตรโคลซาน ที่อยู่ในผลิตภัณฑ์แอนตี้แบคทีเรียนั้น จะมีปริมาณเพียงเล็กน้อย หรือน้อยเกินกว่าที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของจุลินทรีย์ในลำไส้ แต่ก็ควรศึกษาให้แน่ใจ ว่าปริมาณแค่ไหนที่จะส่งผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์จริงๆ

ที่สำคัญ ยังไม่มีการยืนยันแน่ชัดว่า เราจำเป็นต้องฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ที่อยู่บนผิวหนัง ร่างกาย หรือของใช้ต่าง ๆ ด้วยหรือเปล่า เพราะแบคทีเรียเหล่านั้น ก็ไม่ได้ทำให้เกิดโรคร้ายแรงเสมอไป แต่อย่างน้อยการล้างมือให้สะอาด ก็เป็นหลักการพื้นฐานที่จะทำให้เรา รวมถึงเด็กๆ ปลอดภัยจากการหยิบจับอาหารปนเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ยังสามารถป้องกันโรคติดต่อต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่ดี

เพราะฉะนั้น ผลข้างเคียงของไกลโคซาน ยังอยู่ในช่วงที่รอการพิสูจน์ และการวิจัยอื่นๆ ต่อไป ไม่ว่าผลิตภัณฑ์ที่ใช้ล้างมือจะเป็นสูตรแอนตี้แบคทีเรียหรือไม่ เราก็ควรต้องล้างมือก่อนทานอาหารทุกครั้งอยู่ดีนะคะ เพื่อสุขภาพอนามัยที่ดีของคุณ และครอบครัว

ที่มา: https://health.sanook.com/3581

อัพเดทล่าสุด