ทึ่ง! โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท รักษาให้หายขาดด้วยวิธีนี้


19,479 ผู้ชม


โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หลายคนอาจจะคิดว่าไกลตัว น่าจะเป็นโรคที่พบในผู้สูงอายุ แต่ในความเป็นจริงนั้น วัยที่พบว่าเป็นมากที่สุดคือ วัยทำงาน อายุระหว่าง 25 – 40 ปี ซึ่งพบทั้งในผู้หญิงและผุ้ชาย

แม้ว่าโดยมากมักตรวจพบในผู้ที่มีอาการทางกระดูกเสื่อม หรือ เคยได้รับอุบัติเหตุทางรถยนต์ หรือ พลัดตกมาก่อน แต่ในบางรายก็ไม่สามารถระบุสาเหตุได้ชัดเจน อาการเริ่มต้นที่เราสามารถสังเกตุจากตัวเองได้คือ มีอาการเจ็บที่ต้นคอร่วมกับอาการปวดแขนโดยจะปวดร้าวจากต้นแขนลงไปที่ปลายแขน มือชา และถ้าเป็นมาก ๆ ก็จะมีอาการมืออ่อนแรง ร่วมด้วย

อาการของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทนั้น มีอาการแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่าหมอนรองกระดูกจะไปทับถูกกระดูกข้อที่ เท่าไรหรือเส้นประสาทตรงส่วนไหนของร่างกายค่ะ บางรายอาจจะมีอาการอ่อนแรงที่กล้ามเนื้อบริเวณหัวไหล่ แต่มือก็ปกติ ไม่มีอาการช้าแต่อย่างใด ในขณะที่บางรายนั้น อาจจะรู้สึกกล้ามเนื้อด้านหน้าไม่มีแรง เช่น ไม่สามารถกระดกข้อมือได้มากนัก และอาจจะมีอาการปวด หรือ ชาบริเวณนิ้วโป้งร่วมด้วย หากมีอาการอย่างนั้นก็น่าจะเป็นการกดทับที่ bicep หรือ กล้ามเนื้อส่วนหน้า แต่ในทางตรงกันข้าม

ถ้ามีอาการกล้ามเนื้อด้านหลังไม่มีแรง คือ ไม่สามารถเหยียดนิ้วมือได้ หรือ มีอาการปวด, ชาที่นิ้วกลาง ก็อาจจะมีการกดทับที่กล้ามเนื้อ tricep หรือ กล้ามเนื้อด้านหลัง ส่วนในรายที่กล้ามเนื้ออ่อนแรงเวลากำมือ หรือ มีการปวด, ชาที่บริเวณนิ้วก้อย ก็อาจจะเป็นการกดทับที่กระดูกหน้าอกค่ะ ซึ่งการวินิจฉัยที่ดีและแม่นยำที่สุดก็คือการตรวจด้วยเครื่อง MRI หรือ การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าค่ะ ส่วนการตรวจที่ให้ค่าความแม่นยำพอ ๆ กับเครื่อง MRI ก็คือ การตรวจด้วยเครื่อง CT scan ซึ่งจะต้องมีการฉีดสีเข้าไปที่ไขสันหลังก่อนนะคะ ส่วนวิธีสุดท้ายก็คือ การตรวจด้วยคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ Electromyography (EMG) นั้นจะเป็นการวัดค่าเปรียบเทียบระหว่างเส้นประสาทที่น่าจะถูกกดทับ กับ เส้นประสาทด้านที่ปกติอยู่ 

การรักษาของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ในเบื้องต้นจะดูที่สาเหตุก่อน ว่าเกิดจากการกดทับของเส้นประสาท หรือว่า เป็นการอักเสบ และจะเริ่มรักษาโดยการให้ยาบรรเทาปวดกลุ่ม NSAID ก่อนค่ะ ซึ่งก็อาจจะทำควบคู่ไปกับการทำกายภาพบำบัดอย่างการอบร้อน หรือ อบเย็น และ การใช้อัลตร้าซาวน์เพื่อลดการเกร็งของกล้ามเนื้อค่ะ หากมีอาการที่ต้นคอ ก็อาจจะรักษาโดยการดึงคอเพื่อลดการกดทับของเส้นประสาท รวมไปถึงการจัดกระดูกเพื่อลดการปวดโดยผู้ขำนาญการเท่านั้น ไม่อย่างนั้นอาจทำให้อาการแย่ลงได้ค่ะ

นอกจากนั้นผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ก็ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วย โดยเลี่ยงการทำกิจกรรมอย่าง ยกของที่มีน้ำหนักมาก หรือ กิจกรรมที่อาจจะทำให้เกิดการกระแทกอย่าง วิ่ง หรือ นั่งรถที่วิ่งบนทางที่ขรุขระ หรือ การนั่งเรือเร็ว ๆ อย่างบานาน่าโบ๊ท


อัพเดทล่าสุด