เตือนมนุษย์ออฟฟิศ ! อย่าคิดว่าไม่เป็นไร ถ่ายเอกสารมากเกินไป ทำอันตรายถึงชีวิต !
ทุกๆ สำนักงานน่าจะต้องมีเครื่องถ่ายเอกสารเป็นเครื่องมือหลักในการทำงาน เพราะเอกสารที่เป็นกระดาษยังเป็นหนึ่งในเอกสารที่เราจำเป็นต้องใช้บ่อยมากที่สุดและมีความสะดวกในการทำงานมากที่สุดด้วย แต่คุณเคยคิดหรือไม่ว่า การที่เราถ่ายเอกสารกันบ่อยๆ จะทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพบ้างหรือไม่? ถ้าคุณยังไม่รู้ก็จำเป็นต้องรู้ไว้ เพราะมันจะทำให้คุณมีอายุที่ยืนยาวมากขึ้นได้แน่นอน
กระทรวงสาธารณสุขออกมาเตือนว่า “เครื่องถ่ายเอกสารอาจมีอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ ดวงตา และสมองได้” ทั้งนี้เป็นเพราะเหตุผลเหล่านี้
1. ผลต่อดวงตา การสัมผัสสารเรืองแสงหรือแสง UVจากหลอดไฟพลังงานสูงภายในเครื่องถ่ายเอกสารเป็นเวลานาน แสงจ้าจะเป็นสาเหตุของการทำให้เกิดอาการแสบตา ปวดศีรษะ และกระจกตาอักเสบได้
2. ผลต่อระบบทางเดินหายใจ เรื่องนี้คนส่วนใหญ่มองข้ามไปเพราะเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น แต่คุณสัมผัสได้จากสารเคมีของเครื่องถ่ายเอกสาร ไม่ว่าเป็น ผงหมึก หรือสารเรืองแสง อาจทำให้เกิดการระคายเคืองตา จมูก และวิงเวียนศีรษะ โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคหอบหืด เป็นต้น
นอกจากนี้ สารไนไตรไพรีนซึ่งพบในผงคาร์บอนดำ และสารไนไตโตรฟลูออรีน (TNF) ยังอาจก่อให้เกิดมะเร็ง และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมมีผลต่อทารกในครรภ์อีกด้วย
สารซีลีเนียม และสารแคดเมียม ที่เคลือบอยู่ที่ลูกกลิ้งของเครื่องถ่ายเอกสารจะระเหยออกมาในระหว่างที่ใช้งาน การสูดดมสารซีลีเนียมมากเกินไปจะทำให้เกิดอาการลิ้นเฝื่อน วิงเวียนศีรษะ ถ้าหากได้รับในปริมาณมากอาจเป็นอันตรายต่อตับและไตได้ ส่วนสารแคดเมียมถือเป็นสารก่อมะเร็ง ที่หากได้รับเป็นเวลานานความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดมะเร็งจะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน
นอกจากนี้ ยังมีก๊าซโอโซนที่หลุดออกมาจากเครื่องถ่ายเอกสาร ซึ่งจะทำให้เกิดการระคายเคือง และการสัมผัสก๊าซนี้นาน ๆ จะเป็น อันตรายต่อระบบประสาทได้
วิธีการใช้เครื่องถ่ายเอกสารให้ปลอดภัย
อย่างที่บอกไว้เบื้องต้นว่าเครื่องถ่ายเอกสารค่อนข้างเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องใช้งานมันอย่างถูกต้องด้วยวิธีดังต่อไปนี้
1. ปิดฝาครอบให้สนิททุกครั้งที่กดถ่ายเอกสาร
2. ไม่ควรตั้งเครื่องถ่ายเอกสารไว้ในที่ที่อากาศไม่ถ่ายเท หากจำเป็นต้องตั้งไว้ในบริเวณห้องปิด ก็ควรติดตั้งพัดลมดูดอากาศไว้หมุนเวียนอากาศด้วย
3. ผู้ที่ใช้งานเครื่องถ่ายเอกสารอย่างต่อเนื่องควรสวมถุงมือและหน้ากากป้องกันฝุ่น โดยเฉพาะทุกครั้งที่ต้องเติมผงหมึก
4. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับลูกกลิ้งในเครื่องถ่ายเอกสารโดยตรง สารเคมีจากหมึกมีอันตรายต่อสุขภาพไม่น้อย
5. กำจัดผงหมึกที่ใช้แล้วในภาชนะบรรจุมิดชิด ไม่ควรทิ้งลงในตะกร้าหรือถังขยะในสำนักงาน
6. เลือกซื้อเครื่องถ่ายเอกสารที่มีระบบเติมผงหมึกที่ปลอดภัยและมีภาชนะบรรจุเศษผงหมึกภายในเครื่อง
รวมถึงระบบตัดการทำงานอัตโนมัติ
อย่าคิดว่าการทำงานในออฟฟิศจะไม่มีอันตรายร้ายแรงใดๆ เพราะเครื่องถ่ายเอกสารนี่แหละที่เป็นอันตรายที่แอบแฝงตัวอยู่ เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่ใช้งานจึงต้องปฏิบัติตามวิธีการที่ถูกต้อง หรือหลีกเลี่ยงการถ่ายเอกสารอย่างต่อเนื่องยาวนาน ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยของคุณทั้งนั้น
https://www.thaijobsgov.com/jobs=59808