ไม่น่าแปลกใจอะไรที่ทุกวันนี้เราจะเห็นรถยนต์เปลี่ยนมาติดแก๊สรถยนต์เพื่อใช้เป็นพลังงานขับเคลื่อนแทนนำ้มัน ซึ่งการติดแก๊สรถยนต์เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการลดรายจ่ายในค่าน้้ามัน แต่คุณทราบหรือไม่ว่าหากเกิดอุบัติเหตุและรถยนต์เสียหาย บริษัทประกันจะไม่คุ้มครอง ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น? เรามาพิจารณากันว่าผู้ทำประกันได้มองข้ามหรือ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ในเรื่องใดบ้าง?
สิ่งแรก คือ ดูกรมธรรม์คุณทำประกันชั้น 1, 2, 2+,หรือไม่? ถ้าใช่…คุณสบายใจได้เลย บริษัทประกันจะชดใช้ให้คุณทุกกรณี ถึงแม้ว่าคุณติดตั้งแก๊สไปแล้วแต่ยังไม่ได้แจ้งบริษัทประกัน หรือยังไม่ได้แจ้งขนส่งทางบก ทางบริษัทประกันจะรับผิดชอบ
ความเสียหายตามวงเงินคุ้มครองที่ได้ทำกับบริษัทประกันไม่ว่าจะเป็นฝ่ายผิดหรือฝ่ายถูก ข้อนี้ขอให้ระวังเล่ห์เหลี่ยมบริษัทประกัน หากคุณติดตั้งแก๊สแล้วไม่ยอมแจ้งบริษัทประกัน อาจเกิดข้อบ่ายเบี่ยงความรับผิดชอบได้ฉะนั้นเมื่อคุณติดตั้งแก๊สแล้วควรแจ้งบริษัทประกันทันทีเพื่อปิดช่องโหว่ทางกฎหมายที่บริษัทประกันอาจไม่รับผิดชอบ
แต่…ถ้าคุณท้าประกันชั้น 3,3+ ตามกรมธรรม์แล้วประกันรถชั้น 3 และชั้น 3+ “ไม่คุ้มครองรถไฟไหม้” ไม่ว่ารถคุณจะติดแก๊สหรือไม่ก็ตาม แต่ผู้ท้าประกันจะได้รับความคุ้มครองตัวถังแก๊สและอุปกรณ์หากเป็นฝ่ายถูก เช่น หากคุณขับรถไปห้างสรรพสินค้า แล้วเกิดมีคู่กรณีขับรถมาชนท้ายจนได้รับความเสียหายต่ออุปกรณ์และตัวถังแก๊ส บริษัทประกันจะชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น เว้นแต่! คุณไม่ได้ทำตามระเบียบเบื้องต้นนี้
สาเหตุประกันไม่รับผิดชอบ
1. ไม่ส่งเอกสารให้บริษัทประกันหลังติดตั้งแก๊ส
2. ไม่แจ้งขนส่งทางบกหลังจากได้ติดตั้งแก๊ส ถึงแม้ว่าจะติดตั้งได้มาตรฐาน
3. ติดตั้งถังแก๊สไม่ได้รับมาตรฐานคุณภาพ มอก.
ขั้นตอนการแจ้งประกันเมื่อติดตั้งแก๊สรถยนต์ LPG หรือ NGV
1. แจ้งผ่านตัวแทน นายหน้า หรือ แจ้งโดยตรงไปที่บริษัทประกัน
2. ส่งเอกสารรายการจดทะเบียนที่ได้แจ้งเปลี่ยนแปลงประเภทเชื้อเพลิงแล้วไปยังบริษัทประกัน
3. ใบเสร็จค่าติดตั้งชุดอุปกรณ์แก๊ส (ห้ามทิ้งเด็ดขาด)
สำหรับผู้ที่ได้ติดตั้งแก๊สรถยนต์ จำเป็นต้องบำรุงรักษาเหมือนชิ้นส่วนอุปกรณ์รถยนต์ทั่วไป หากไม่ดูแลรักษาก็ย่อมเกิดปัญหาขึ้นตามมาได้เช่น อุบัติเหตุรถไฟไหม้ เป็นต้น
https://www.thaijobsgov.com/jobs=53320