อัศจรรย์!! สอนวิธีทำน้ำมันกระเทียมรักษาเส้นเลือดขอด


11,197 ผู้ชม


น้ำมันกระเทียม กระเทียมเป็นสมุนไพรที่มนุษย์เราใช้กันมานานนับเป็นพันๆ ปี ชาวกรีก อียิปต์ อิสราเอล จีน และอินเดียล้วนแต่ใช้กระเทียมเป็นยารักษาและบรรเทาโรคต่างๆ เช่น หวัด ไอ แผลอักเสบติดเชื้อ กระเทียมประกอบด้วยสารอาหารหลายชนิดคือ น้ำ กรดไขมัน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต น้ำตาล กรดอะมิโน เหล็ก แคลเซียม วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 และวิตามินซี ฯลฯ นอกจากนี้สารประกอบในกระเทียมยังมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีฤทธิ์ในการช่วยลดความดันโลหิต ช่วยไม่ให้เลือดจับตัวเป็นลิ่มหรืออุดตันตามผนังหลอดเลือด ลดการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด สารสำคัญที่ว่านี้คือเอนไซม์อัลลิเนส (Allinase) ที่เปลี่ยนสารอินทรีย์กำมะถันอัลลิอิน (Alliin) ให้เป็นน้ำมันหอมระเหยอัลลิซิน (Allicin) และเมื่อนำหัวกระเทียมสดมากลั่นด้วยไอน้ำจะได้น้ำมันกระเทียม (Garlic oil) จากการค้นคว้าและวิจัยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับสารสำคัญของสมุนไพรใกล้ตัวอย่างกระเทียมของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก ทำให้ทราบว่าในกระเทียมมีสารสำคัญมากมาย เช่น

- สารประกอบซัลเฟอร์อย่างน้อย 33 ชนิด ซึ่งรวมถึง อัลลิซิน (Allicin) และS-allylmercaptocystein

- กรดอะมิโนและไกลโคไซด์มากกว่า 17 ชนิด

- เอ็นไซม์หลากหลายชนิด

- เกลือแร่ โดยเฉพาะ เซเลเนียม (Selenium)

โดยสารสำคัญเหล่านี้เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้กระเทียมมีคุณประโยชน์มากมายแก่ร่างกาย คือ  ช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับหัวใจ ช่วยลดระดับไขมันในกระแสเลือด เช่น ลดโคเลสเตอรอล จึงเหมาะกับผู้ที่มีระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดสูง มีผลในการลดความดันโลหิตสูง ช่วยส่งเสริมให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโดยกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการสร้างเม็ดเลือดขาวเพิ่มมากขึ้น และกระเทียมยังเปรียบเสมือนยาปฏิชีวนะที่ใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อต่างๆ โรคมะเร็ง และช่วยต้านสารอนุมูลอิสระในร่างกายด้วย


อัศจรรย์!! สอนวิธีทำน้ำมันกระเทียมรักษาเส้นเลือดขอด


วิธีการทำน้ำมันกระเทียม ชาวอเมริกันจำนวนมากจัดการกับเส้นเลือดขอด สาเหตุจากร่างกายที่ไม่แข็งแรงและการดำเนินชีวิตที่เร่งรีบ อาหารแปรรูป การออกกำลังกาย ที่ไม่เพียงพอ โรคอ้วน การขาดสารอาหาร และ การนั่งหรือยืนเป็นเวลานานจึงทำให้เกิดเส้นเลือดดำขยายเพิ่มขึ้น


จริงๆ แล้วเส้นเลือดขอดได้รับการขยายตัวจากหลอดเลือด เส้นเลือดขอดจะมีอยู่มากในขาและมักจะมีอาการติดเชื้อเรื้อรังและแพร่กระจายมากขึ้น มากำจัดเส้นเลือดขอดและอาการติดเชื้อจากร่างกายของคุณกัน


กระเทียม เป็นยารักษาที่น่าอัศจรรย์ สำหรับเส้นเลือดขอด 
โปรตีนในร่างกายแบ่งออกเป็นหลายชนิดและมันแบ่งสันปันส่วนออกอย่างเท่าๆกัน ซึ่งจะช่วยในการเพิ่มการกระจายตัวของโปรตีนที่ส่วนล่างของ ร่างกาย วิธีทำน้ำมันกระเทียมและรักษาเส้นเลือดขอดตามธรรมชาติ
ส่วนผสม น้ำมันกระเทียมรักษาเส้นเลือดขอด
กระเทียม 5 กลีบ
ส้ม 3 ผล
น้ำมันมะกอก 2 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ น้ำมันกระเทียมรักษาเส้นเลือดขอด
สับกระเทียม 5 กลีบให้ละเอียด ผัดในน้ำมันมะกอกสองช้อนโต๊ะ จากนั้นใส่น้ำส้มทั้งสามลูกลงไป เก็บน้ำมันกระเทียมของคุณลงในขวดและปิดให้สนิท ปล่อยทิ้งไว้ ประมาณ 12 ชั่วโมงก่อนนำมาใช้ เขย่าก่อนใช้ทุกครั้ง
ใช้ยากระเทียมเพียงเล็กน้อยหยดลงบนนิ้วมือของคุณและถูนวดเป็นวงกลมลงบนบริเวณที่เป็น คลุมด้วยพลาสติกและห่อด้วยผ้าให้อุ่น การรักษาซ้ำเป็นประจำทุกคืน 

ประโยชน์ของน้ำมันกระเทียม

1. ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันเพราะปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจส่วนใหญ่ เนื่องมาจากการสะสมเกาะตัวของไขมันที่ผนังหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งกระเทียมมีส่วนช่วยลดปริมาณโคเลสเตอรอลในกระแสเลือด จากการวิจัยพบว่าสารประกอบซัลเฟอร์ในกระเทียมโดยเฉพาะอัลลิซิน สามารถลดปริมาณโคเลสเตอรอลรวม และ โคเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL-cholesterol) ได้ดีเพราะอัลลิซินสามารถยับยั้งการทำงานของ HMG-COA reductase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ใช้ในการสังเคราะห์โคเลสเตอรอล  สำหรับกรณีผู้ที่มีปัญหาระดับโคเลสเตอรอลสูงมากกว่า 210 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ควรเสริมด้วยน้ำมันสกัดจากถั่วเหลืองหรือเลซิตินควบคู่กับกระเทียม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือดให้ดียิ่งขึ้น แต่กรณีผู้ที่มีปัญหาระดับโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์สูงทั้งคู่ควรเสริมด้วยน้ำมันปลา โอเมก้า-3 ควบคู่กับกระเทียม จะช่วยลดทั้งโคเลสเตอรอล และไตรกลีเซอรไรด์ได้ รวมทั้งน้ำมันปลายังมีผลในเพิ่มระดับโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-cholesterol) ที่มีหน้าที่ในการนำโคเลสเตอรอลที่สะสมและอุดตันในหลอดเลือดกลับไปทำลายหรือเผาผลาญที่ตับ ดังนั้นหากสามารถเพิ่มระดับโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-cholesterol) เพียง 1 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จะสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจได้ถึง 3-4%ส่วนการทดลองทางคลินิกพบว่าเมื่อให้น้ำมันหอมระเหยจากกระเทียมกับคนปรกติและคนไข้โรคหัวใจที่มีระดับโคเลสเตอรอลสูง ในขนาด 0.25 มก./น้ำหนักตัว 1 กก. เป็นเวลา 10เดือนพบว่าระดับโคเลสเตอรอลในเลือดลดลง นอกจากนี้เมื่อให้กระเทียมสดกับคนไข้ที่มีไขมันในเลือดสูงในขนาดครั้งละ 25 กรัม วันละ 3 เวลา เป็นเวลา 25 วัน พบว่า 1/3 ของคนไข้มีระดับโคเลสเตอรอลในเลือดลดลงอย่างเห็นได้ชัด

2. ลดสภาวะความดันโลหิตสูง จากกรวิจัยทั่วโลกพบว่ากระเทียมสามารถลดความดันโลหิตค่าบน (Systolic Blood Pressure) ได้ 7.7 มิลลิเมตรปรอท และลดความดันโลหิตค่าล่าง (Diastolic Blood Pressure) ได้ 5 มิลลิเมตรปรอท ลดการเกาะตัวของเกล็ดเลือดได้ถึง 58% โดยสารสำคัญในกระเทียมที่ชื่อ เมทิลแอลิล ไตรซัลไฟด์ จะไปลดการจับตัวของเกล็ดเลือด ป้องกันการเกาะตัวของเกล็ดเลือดและเพิ่มการสลายไฟบริน ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ดีขึ้น และจากการศึกษาวิจัยทั้งในคนและสัตว์ทดลอง พบว่าน้ำมันกระเทียมสามารถลดความดันโลหิตได้ โดยสารที่สำคัญที่ออกฤทธิ์คือ อัลลิซิน (Allicin)และ adenosine โดยที่อัลลิซิน (Allicin) ซึ่งเป็นสารประกอบซัลไฟด์ ช่วยในการขยายหลอดเลือด และป้องกันการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ดีขึ้น ส่วน adenosine จะไปออกฤทธิ์ให้กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือดคลายตัว

3. เสริมภูมิต้านทาน ลดภูมิแพ้   สารสำคัญในน้ำมันกระเทียม คือ อัลลิซิน ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกายโดยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดขาวเช่น Macrophagesและ T-lymphocyte เพิ่มขึ้น เมื่อร่างกายเรามีเม็ดเลือดขาวเพิ่มมากขึ้นจะส่งผลในการช่วยบรรเทาและลดอาการภูมิแพ้ นอกจากนี้กระเทียมมีฤทธิ์ที่เปรียบเสมือนยาปฏิชีวนะ ที่ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อรา จากการทดลองพบว่าผลิตภัณฑ์กระเทียมในรูปแบบต่างๆ ล้วนแล้วแต่มีผลในการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคหลายชนิดรวมทั้งเชื้อ Klebsiella pneumoniae ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคปอดบวม และเชื้อMycobacterium tuberculosis อันเป็นสาเหตุของวัณโรค โดยเฉพาะเชื้อวัณโรคได้มีการทดลองให้น้ำมันกระเทียมในผู้ป่วยวัณโรคปรากฏว่าได้ผลดี และพบว่าสารที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียเหล่านี้เป็นสารจำพวก sulfide ดังนั้นกระเทียมจึงมีส่วนในการช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลดโอกาสการแพ้ต่างๆ และลดอาการเรื้อรังทางระบบทางเดินหายใจ เช่น หวัด หอบหืด ไซนัส หูอักเสบ เป็นต้น และกรณีที่เสริมด้วยการรับประทานวิตามินเช่น วิตามินซีควบคู่กับน้ำมันกระเทียมพบว่าจะช่วยบรรเทาและลดความถี่ของการเกิดโรคภูมิแพ้ เนื่องจากทั้งวิตามินซีและน้ำมันกระเทียมจะเสริมฤทธิ์กันในการกระตุ้นให้เกิดการสร้างเม็ดเลือดขาวของร่างกายเพิ่มมากขึ้นส่งเสริมให้ภูมิต้านทานของร่างกายดีขึ้นอย่างชัดเจน

4. คุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระและป้องกันโรคมะเร็ง สารประกอบในกระเทียมสามารถยับยั้งการเกิดสารก่อมะเร็งที่ชื่อไนโตรซามีนในร่างกาย ซึ่งช่วยป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็งได้ จากการวิจัยพบว่าสารตัวหนึ่งในกระเทียมชื่อ S-allylmercaptocysteine ช่วยลดการเกิดมะเร็งในต่อมลูกหมากได้ถึง 50% และสาร allyl sulfides ช่วยลดการผลิตเอนไซม์ phase 1 ซึ่งเป็นอันตรายต่อเซลล์และนำไปสู่การเกิดเซลล์มะเร็งได้ กระเทียมจึงสามารถป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็งได้ดีเยี่ยม นอกจากนั้นซีลีเนียม (Selenium) ที่พบในกระเทียมมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและลดอันตรายจากการเกิดอนุมูลอิสระ ที่เป็นสาเหตุให้เกิดเซลล์มะเร็งที่อวัยวะต่างๆ

5. โรคเบาหวาน น้ำมันกระเทียมให้สารกลูโคไคนิน (Glucokinin) กระตุ้นตับอ่อนให้สร้างอินซูลินเพิ่มขึ้น ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีการทดลองให้สารสกัดกระเทียมแก่กระตายที่ทำให้เป็นเบาหวานด้วย alloxan โดยให้ในขนาด 0.25 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม พบว่าสามารถลดน้ำตาลในเลือดได้ร้อยละ 70เมื่อเปรียบเทียบกับยา tolbutamide ส่วนสาร allicin มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดได้พอๆ กับ tolbutamide

6.ลดอาการผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร เช่น อาหารไม่ย่อย เบื่ออาหาร แน่นท้อง ท้องเฟ้อ และท้องอืด ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปวดท้อง เสียดท้องหรือท้องอืด โดยกระเทียมสามารถออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของอาการแน่นจุกเสียด ท้องเสีย และกระเทียมยังมีฤทธิ์ขับน้ำดีทำให้การย่อยอาหารดีขึ้น

7. ช่วยลดอาการอักเสบและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร โดยกระเทียมไปออกฤทธิ์ต้านสารสังเคราะห์ Prostaglandin และกระเทียมยังมีฤทธิ์เพิ่มการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กด้วย

จากประโยชน์มากมายที่มีอยู่ในกระเทียม ถ้าหากสามารถบริโภคกระเทียมให้ได้ปริมาณสารสำคัญที่มากพอในแต่ละวัน กระเทียมจะสามารถช่วยเป็นเกราะป้องกันร่างกายให้ห่างจากโรคร้ายได้เป็นอย่างดี แต่สารสำคัญของกระเทียมโดยเฉพาะอัลลิซินยังมีคุณสมบัติไม่คงตัว สลายตัวได้ง่าย เพียงสัมผัสกับความร้อนแค่ 6 วินาที สารสำคัญอัลลิซินที่อยู่ในกระเทียมจะหมดไปทันที ดังนั้นน้ำมันกระเทียมสกัดในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถรักษาคุณค่าของสารสำคัญที่มีอยู่ในกระเทียมได้อย่างครบถ้วน อีกทั้งยังสะดวกในการรับประทาน ไม่ต้องพบกับปัญหาเรื่องรสชาดและกลิ่นที่จะตามมาอีกด้วย


อ้างอิง : healthyfoodhouse.com 
แปลข้อมูลโดย : https://www.rak-sukapap.com

อัพเดทล่าสุด