โรคกรดไหลย้อน คือ ภาวะที่กรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะไหลย้อนมาในหลอดอาหาร ทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก
สาเหตุของ กรดไหลย้อน
- Hiatus hernia (คือโรคที่เกิดจากกระเพาะอาหารส่วนต้นเข้าไปในกำบังลม)
- ดื่มสุรา
- อ้วน
- ตั้งครรภ์
- สูบบุหรี่
- อาหารรสเปรี้ยว เผ็ด อาหารมักดอง อาหารมัน อาหารย่อยยาก
- ทานอาหารมากจนอิ่มเกินไป
- ช้อกโกแลต กาแฟ น้ำอัดลม
- คนเครียด
- อาหารมัน ของทอด
- หอมกระเทียม
- มะเขือเทศ
อาการทางหลอดอาหาร
- อาการปวดเสบร้อนบริเวณหน้าอก และลิ้มปี่ที่เรียกว่าร้อนใน (heart burn) บางครั้งอาจจะร้าวไปที่คอได้
- รู้สึกมีก้อนอยู่ในคอ
- กลืนลำบาก หรือกลืนแล้วเจ็บ
- เจ็บคอหรือแสบลิ้นเรื้อรัง โดยเฉพาะในตอนเช้า
- รู้สึกเหมือนมีรสขมของน้ำดี หรือมีรสเปรี้ยวของกรดในคอหรือปาก
- มีเสมหะอยู่ในคอ หรือระคอตลอดเวลา
- เรอบ่อย คลื่นไส้
- รู้สึกจุกแน่นอยู่ในหน้าอก คล้ายอาหารไม่ย่อย
19 วิธีรับมือกับกรดไหลย้อน
1. ทำใจ: ตั้งสติ อย่าตื่นตระหนก
2. ลดความอ้วน: ไขมันในช่องท้อง และไขมันรอบพุงต่างก็มีส่วนเพิ่มแรงดันในช่องท้อง ทำให้กรดไหลย้อนได้ง่ายขึ้น
3. ลดความเครียด: เพราะความเครียดจะทำให้เกิดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารออกมามากขึ้นได้ ควรหาทางลดความเครียด เช่น ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ ฝึกหายใจช้าๆ ไม่เกิน 10 ครั้งต่อนาที วันละ 15 นาที ฝึกไทเกก-ไทชิ มวยจีน โยค
4. เลิกบุหรี่: เพราะบุหรี่เพิ่มการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร ถ้าเลิกบุหรี่ได้ยังช่วยความเสี่ยงที่จะเป็นโรคถุงลมโป่งพอง 5. ไม่สวมเสื้อผ้าคับ: การสวมเสื้อผ้าคับเพิ่มความดันในช่องท้อง ทำให้กรดไหลย้อนขึ้นเบื้องบนได้ง่ายขึ้น
6. พยายามหลีกเลี่ยงการเป็นท้องผูก: เพราะการเบ่งถ่ายอุจจาระเวลาท้องผูก มีส่วนเพิ่มแรงดันในช่องท้อง ทำให้กรดไหลย้อนขึ้นเบื้องบนได้ง่ายขึ้น 7. พยายามหลีกเลี่ยงการไอเรื้อรัง: การไอเรื้อรังทำให้กรดไหลย้อนขึ้นเบื้องบนได้ง่ายขึ้น เนื่องจากแรงดันในช่องท้องจะเพิ่มขึ้นมากเวลาไอ 8. ไม่ควรกินอิ่มเกิน: คนที่เป็นโรคกรดไหลย้อนหรือเกิร์ดควรแบ่งอาหารเป็นมื้อเล็กหน่อย วันละหลายๆ มื้อ เช่น วันละ 4-5 มื้อ เพราะการกินอาหารที่มากเกินไปจะทำให้อาหาร น้ำ และลมในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้นมาก ผลคือ กรดไหลย้อนขึ้นเบื้องบนมาก
9. หลีกเลี่ยงการกินข้าวคำน้ำคำ: การกินข้าวคำน้ำคำ หรือการดื่มน้ำตามหลังอาหารแทบทุกคำจะทำให้ปริมาณอาหาร น้ำ และน้ำย่อยในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น ผลคือ กรดไหลย้อนขึ้นเบื้องบนมาก
10. ไม่กินไปพูดไป: การกินไปพูดไปจะทำให้เผลอกลืนลม(อากาศ)เข้าไปพร้อมอาหาร ทำให้ปริมาณอาหาร น้ำ และลมรวมกันมากเกิน ผลคือ กรดไหลย้อนขึ้นเบื้องบนมาก
11. ควรกินมื้อค่ำเล็กน้อยเท่านั้น: เพราะการกินอาหารใกล้เวลานอนจะทำให้อาหารที่ตกค้างอยู่ในกระเพาะอาหาร น้ำ และน้ำย่อยไหลย้อนขึ้นเบื้องบนได้ง่าย เนื่องจากหลอดอาหารจะเปลี่ยนแกนจากแนวตั้งเป็นแนวนอน 12. ยืน เดิน หรือนั่งหลังอาหาร: การก้มตัว โดยเฉพาะการยกของหนักมีส่วนทำให้กรดไหลย้อนได้ง่าย การก้มตัวไปข้างหน้า หรือเอี้ยวตัวไปด้านข้างหลังอาหารทันทีทำให้กรดไหลย้อนได้ง่าย เปรียบคล้ายการเอียงขวดใส่น้ำให้อยู่ในแนวราบ น้ำจะหกได้ง่าย 13. หลีกเลี่ยงการยกของหนัก: การยกของหนักทำให้แรงดันในช่องท้องเพิ่มขึ้น ทำให้กรดไหลย้อนขึ้นเบื้องบนได้ง่ายขึ้น ทางที่ปลอดภัยกว่าคือ ไม่ยกของหนักภายใน 2 ชั่วโมงแรกหลังอาหาร
14. หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง: โดยเฉพาะอาหารประเภท “ผัดๆ ทอดๆ” หรืออาหารที่มีน้ำมันมาก มีส่วนทำให้กรดไหลย้อนขึ้นเบื้องบนได้ง่ายขึ้น
15. หลีกเลี่ยงอาหารบางชนิด: ควรสังเกตว่า เราถูกกับอาหารอะไร ไม่ถูกกับอาหารอะไร จดบันทึกไว้ ต่อไปจะได้ปรับเปลี่ยนได้ (อาหารที่อาการทำให้โรคเกิร์ดหรือกรดไหลย้อนแย่ลงได้แก่ หัวหอม กระเทียม มะเขือเทศ อาหารจานด่วน(ฟาสต์ฟูด) ชอคโกแลต ถั่ว ลูกอม เนย ไข่ นม หรืออาหารรสจัดบางอย่างถ้าดื่มนม ควรเปลี่ยนนมเป็นนมไขมันต่ำ หรือนมไม่มีไขมัน)
16. ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มมากเกินไปและไม่ควรดื่มน้ำคราวละมากๆเกิน: การดื่มน้ำคราวละมากๆ เช่น 4-5 แก้วรวดเดียวจะทำให้ปริมาตรอาหาร น้ำ และน้ำย่อยในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น ทำให้กรดไหลย้อนขึ้นเบื้องบนได้ง่าย 17. ลดน้ำอัดลม: น้ำอัดลมทำให้ปริมาตรของลมและน้ำในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น ผลคือ กรดไหลย้อนขึ้นเบื้องบนได้ง่ายขึ้น นอกจากนั้นยังทำให้อ้วนง่ายด้วย
18. ลดน้ำผลไม้: น้ำผลไม้มีน้ำตาลมาก ทำให้อิ่มได้น้อย ทำให้ปริมาตรของลมและน้ำในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น ผลคือ กรดไหลย้อนขึ้นเบื้องบนได้ง่ายขึ้น นอกจากนั้นยังทำให้อ้วนง่ายด้วย
19. นอนหัวสูง: โดยการหาแผ่นไม้หรือแผ่นโลหะที่แข็งแรงมั่นคงมารองขาเตียงด้านหัวให้สูงขึ้น 6-10 นิ้ว เพื่อให้หลอดอาหารอยู่ในแนวตั้งมากขึ้น
หลังจากที่ได้อ่านกันแล้ว ใครที่กำลังประสบกับปัญหาอาการกรดไหลย้อนอยู่ ก็ลองนำวิธีการทั้ง 19 วิธีตามด้านบนไปทำตามได้เลย แต่ถ้าทำทั้งหมดแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น แนะนำให้ไปพบแพทย์จะเป็นการดีที่สุด
ที่มา: thaijobsgov.com