ผ่าคลอดแนวตั้ง กับ แนวนอน ต่างกันอย่างไร อันไหนดีกว่ากัน!


40,758 ผู้ชม


ผ่าคลอดแนวตั้งกับแนวนอน ต่างกันอย่างไร อันไหนดีกว่ากัน ตามมาดู การลงแผลผ่าตัดคลอดบุตรที่ผนังหน้าท้อง มีอยู่ 2 แบบ คือ ผ่าคลอดแนวตั้งและผ่าคลอดแนวนอน ซึ่งขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายและการพิจารณาของสูติแพทย์กับคุณแม่ โดยมีรายละเอียดความแตกต่างกัน ดังนี้

* ผ่าคลอดแนวตั้ง คือ การลงแผลในแนวดิ่งที่ผนังหน้าท้องช่วงล่างตรงแนวกลางลำตัว ตั้งแต่ระดับต่ำกว่าสะดือยาวลงมาจนถึงระดับเหนือกระดูกหัวหน่าวเล็กน้อย ความยาวแผลประมาณ 10 เซนติเมตร การลงแผลแนวนี้จะผ่านเนื้อเยื่อหลายชั้น จนสามารถเข้าช่องท้องได้ง่าย

ข้อดี:

1. เป็นแนวแผลมาตรฐาน สามารถผ่าตัดอวัยวะอื่นในช่องท้องได้ด้วย

2. ใช้เวลาในการผ่าตัดเพื่อเข้าสู่ช่องท้องได้เร็วกว่า เหมาะสมในรายที่ต้องการความเร่งด่วนในการคลอด

3. สามารถขยายแผลได้ง่ายหากมีกรณีจำเป็น

4. ผ่าตัดได้ง่าย สะดวกกว่า

5. สามารถช่วยคลอดทารกได้ง่ายกว่า โดยเฉพาะกรณีที่ทารกอยู่ผิดท่า หรือ ตัวใหญ่กว่าปกติ

6. มีภาวะแทรกซ้อนจากแผลผ่าตัดน้อยกว่า เช่น ก้อนเลือดในผนังหน้าท้อง

ข้อเสีย:

1. เจ็บแผลผ่าตัดมากกว่า เนื่องจากมีบาดแผลในแนวตั้ง ทำให้เวลาลุกขยับตัวยาก

2. ฟื้นตัวช้ากว่า

3. มีแผลเป็นมากกว่า

4. เห็นรอยแผลได้ชัดเจน ไม่สามารถใส่เสื้อเปิดพุงได้

* ผ่าคลอดแนวนอน เป็นที่นิยมกว่า สวยงามกว่า กระทำโดยการลงแผลแนวขวางที่ผนังหน้าท้องด้านล่าง ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ตรงตำแหน่งรอยพับของหน้าท้องหรือ

ระดับประมาณ 2 เซนติเมตรสูงจากขอบบนของกระดูกหัวหน่าว ขั้นตอนการผ่าจะซับซ้อนกว่าเล็กน้อย

ข้อดี:

1. เจ็บแผลผ่าตัดน้อยกว่า เนื่องจากมีบาดแผลแนวนอนตามรอยพับของหน้าท้อง ทำให้เจ็บแผลน้อยกว่าเวลาขยับลุก

2. มีแผลเป็นน้อยกว่า เพราะลงมีดตามแนวของรอยพับผิวหนัง

3. สามารถปิดบังแผลได้ดีในกรณีที่ใส่เสื้อเปิดพุง

ข้อเสีย:

1. ใช้เวลาในการผ่าตัดเข้าสู่ช่องท้องนานกว่า เหมาะสมกับการผ่าตัดคลอดที่ไม่เร่งด่วนมาก

2. ผ่าตัดได้ยากกว่า โดยเฉพาะกรณีที่มีพังผืดในช่องท้องร่วมด้วย

3. ช่วยคลอดทารกได้ยากกว่า เนื่องจากรอยแผลอยู่ต่ำ เพิ่มการใช้อุปกรณ์ช่วยคลอดศีรษะทารก

4. หากมีการผ่าตัดอื่นในช่องท้องร่วมด้วยจะทำได้ยากกว่า

5. มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนของแผลมากกว่า เช่น ก้อนเลือดค้างในผนังหน้าท้อง

หลังจากที่ได้อ่านกันแล้ว คุณแม่ตั้งครรภ์ก็ได้ทราบถึงลักษณะความแตกต่างและข้อดีข้อเสียแล้ว เวลาจะทำการผ่าคลอดก็ลองช่วยคุณหมอสูติแพทย์พิจารณาว่าควรเลือกผ่าคลอดแนวตั้งหรือแนวนอนแบบไหนที่จะเหมาะสมกับตัวของคุณแม่เอง

https://www.thaijobsgov.com/jobs=57178

อัพเดทล่าสุด