กลิ่น ถือได้ว่าเป็นตัวส่งสัญญาณการแสดงบุคลิกและตัวตนของบุคคลนั้น ๆ ได้เป็นอย่างดี ทว่าหากกลิ่นที่ออกมาจากร่างกายเป็นกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์แล้ว คงสร้างความลำบากใจให้ทั้งคนที่อยู่รอบข้างและเจ้าของกลิ่นได้ไม่น้อย
กลิ่นตัว หรือ กลิ่นเต่า เมื่อเกิดขึ้นแล้วมักจะเหม็นฉุน จริง ๆ แล้วบางคนอาจไม่ได้มีกลิ่นตัวแรงเท่าไหร่ แต่ติดที่จะใช้น้ำยาระงับกลิ่นเพื่อเพิ่มความหอมและความมั่นใจให้กับตัวเองเท่านั้น แต่ถ้าอยากจะรู้ว่าคุณควรจะใช้น้ำยาระงับกลิ่นกายหรือไม่ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าให้คุณลองสังเกตขี้หูของตัวเองดู หากขี้หูแห้งมีลักษณะเป็นแผ่นสีขาวก็ไม่มีความจำเป็นต้องใช้น้ำยาระงับกลิ่นกายแต่อย่างใด เนื่องจากคุณไม่ค่อยมีกลิ่นตัวเท่าไหร่ แต่ถ้าขี้หูของคุณเป็นสีคล้ำ แถมเหนียวและเปียกอีกต่างหาก คุณก็ควรจะหาวิธีลดกลิ่นตัวได้แล้วล่ะ
ไม่มีใครประสงค์อยากจะมีกลิ่นตัว โรคกลิ่นตัวเหม็นเป็นโรคทางพันธุกรรมซึ่งสามารถถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้โดยวิธี Mendalian autosomal recessive transmission ผู้ที่เป็นโรคนี้มีทั้งหญิงและชายโดยไม่จำกัดเพศ อาการที่เห็นได้ชัดคือมีกลิ่นตัวเหม็นเหมือนปลาเน่า ลมหายใจ และน้ำลายมีกลิ่นไม่พึงประสงค์นี้เช่นกัน
ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะประสบกับปัญหาของชีวิตหลายอย่าง เช่น ปัญหาทางครอบครัวปัญหาเกี่ยวกับการเป็นที่รังเกียจของสังคมรวมทั้งญาติพี่น้อง เป็นต้น และในที่สุดก็จะกลายเป็นคนที่มีปัญหาทางอารมณ์ มีความเครียด กลุ้มใจ และซึมเศร้า
ซึ่งบางรายอาจจะถึงกับคิดจะฆ่าตัวตายในปัจจุบัน อุบัติการณ์ของโรคนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่นอน แต่ไม่น่าจะน้อยกว่าร้อยละ 1 และสำหรับประเทศไทยและกลุ่มประเทศในเอเชียก็อาจจะมีผู้ป่วยโรคนี้มากถึงร้อยละ 4 ของจำนวนประชากร
ในปัจจุบันวิธีการรักษาโรคนี้ก็ยังไม่สามารถจัดการที่สาเหตุของการเกิดโรค แต่จากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ทางพันธุกรรมอย่างรวดเร็วดังเช่นที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ก็อาจจะมีผู้ค้นพบวิธีรักษาโรคนี้ได้โดยวิธีที่ชื่อ gene therapy ซึ่งขณะนี้กำลังเป็นที่สนใจกันเป็นอย่างมากของนักวิทยาศาสตร์ในสหรัฐอเมริกาและยุโรป
วิธีการรักษา
เป็นที่น่ายินดีว่าในขณะนี้มีวิธีการรักษา FOS ที่ถูกหลักวิชาการ โดยจะให้พยายามลดอาหารที่มี choline สูงเพราะสารตัวนี้จะถูกแบคทีเรียในทางเดินอาหารเปลี่ยนไปเป็น TMA แล้วถูกดูดซึมเข้าร่างกาย ตัวอย่างอาหารดังกล่าว เช่น ปลาเค็ม เนื้อสัตว์ ถั่วเหลือง ไข่แดงและถั่ว เป็นต้น
และอีกหนึ่งการรักษาอีกก็คือ การใช้ยาปฎิชีวนะ เช่น metronidazole (Flagyl ) เพื่อไปยับยั้งการทำงานของแบคทีเรียดังกล่าว แต่วิธีนี้อาจจะเสี่ยงต่อการแพ้ยา หรือการเกิดผลข้างเคียงอันเกิดจากการใช้ยา ที่มีทั้งวิงเวียนอาเจียนปวดศรีษะ
ทั้งนี้สำหรับวิธีที่ดีที่สุดที่หลายสถาบันกำลังพัฒนาอยู่ในขณะนี้ก็คือ การตัดต่อยีนส์ (gene therapy ) เพื่อเร่งให้ร่างกายสามารถผลิต FMO3 ให้ทำงานได้เช่นปกติ
ที่มา : ศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี / https://med.mahidol.ac.th