รู้หรือไม่ สาเหตุของกลิ่นปาก มาจากก้อนเหลืองๆนี่เอง!
ทอนซิล (Tonsils) คือ ต่อมน้ำเหลืองในทางเดินหายใจ มีหลายตำแหน่ง ได้แก่ สองข้างของลิ้น (palatine tonsil), ด้านหลังจมูก , ผนังคอด้านหลัง และโคนลิ้น ทอนซิล เป็นภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ ทำงานโดยการจับเชื้อโรคมาไว้ในหลืบ จนบางครั้งเกิดเป็นนิ่วทอนซิล ซึ่งออกมาจากร่องของต่อมทอนซิล
โดยปกติต่อมทอนซิลที่ด้านข้างของคอ จะมีร่องหรือซอก (Crypts) ซึ่งเศษอาหารอาจเข้าไปติดหรือตกค้างได้ นอกจากนั้นเซลล์ที่ตายแล้วอาจหลุดลอกออกมา แล้ว แบคทีเรีย,เม็ดเลือดขาว และเอ็นไซม์ในน้ำลายเข้าไปย่อยสลายเกิดเป็นสารคล้ายเนย สีเหลืองขาวสะสมอยู่ ผู้ป่วยบางรายอาจมีสารแคลเซียมมาเกาะ ทำให้มีลักษณะคล้ายก้อนแคลเซียมอยู่ในร่องของต่อมทอนซิลได้
ซึ่งอาจก่อให้เกิดความรำคาญ รู้สึกคล้ายมีอะไรติดๆ อยู่ในลำคอ,ทำให้ต่อมทอนซิลอักเสบ ทำให้มีอาการเจ็บคอเป็นๆ หายๆ ทำให้มีกลิ่นปาก และทำให้มีอาการปวดร้าวไปที่หู หรือไอเรื้อรังได้ในผู้ป่วยบางราย
ซึ่งปัญหาดังกล่าวพบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก อาการต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรัง มีกลิ่นปาก เกิดจากเศษอาหารซึ่งตกตะกอนกับแคลเซียมในน้ำลาย แล้วไปฝังอยู่ตามร่องของต่อมทอนซิน มักเรียกกันว่า เม็ดข้าวสุก หรือ หินปูนของทอนิน หรือ TONSILLOLITH ถ้าเป็นบ่อยๆ ก็เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการระคายเคืองคอประจำ ทางที่ดีควรจะหลีกเลียงหรือลดอาหารประเภท โปรตีน แป้ง เพื่อลดปริมาณเศษอาหารที่จะไปตกตะกอนกับน้ำลาย
สำหรับต่อมทอนซิลที่อักเสบเรื้อรังถ้าต่อมโตไม่มาก ไม่มีอาการของการอุดตันการหายใจ เช่น นอนกรน นอนหายใจเสียงดัง หรือ กลืนลำบาก ก็ยังไม่ต้องผ่าตัดทอนซิน อาจรับประทานยาฆ่าเชื้อแบททีเรีย ซึ่งคลุมเชื้อชนิด ANAEROBE BACTERIA เป็น BACTERIA ที่ก่อกลิ่นเหม็นต่างๆ
แต่ถ้าต่อมทอนซินโตมากๆ และมีอาการอุดตันในลำคอ เช่น นอนกรน หายใจดัง กลืนลำบาก มีประวัติเจ็บคอบ่อย ต่อมทอนซิลอักเสบบ่อย ก็เป็นข้อชี้ในการผ่าตัดทอนซิลทั้ง 2 ข้าง การรักษา การรักษามี 2 วิธี คือ ไม่ผ่าตัดและผ่าตัด
1. ไม่ผ่าตัด อาจหาวิธีป้องกันหรือแก้ไข
ได้แก่ การกลั้วคอแรงๆ หลังรับประทานอาหารด้วยน้ำยากลั้วคอ,น้ำเกลือ หรือน้ำเปล่าธรรมดา การใช้นิ้วนวดบริเวณใต้คางบริเวณมุมขากรรไกรล่าง (ซึ่งตรงกับบริเวณต่อมทอนซิล) เพื่อให้ก้อนดังกล่าวหลุดออกมา การใช้ไม้พันสำลี , ปลายของที่หนีบผม, เครื่องมือที่ใช้เขี่ยขี้หูออก , แปรงสีฟัน เขี่ย หรือกดบริเวณต่อมทอนซิล
เพื่อเอาก้อนดังกล่าวออกใช้ที่พ่นน้ำทำความสะอาดช่องปาก,ฟัน และลิ้น ฉีดบริเวณต่อมทอนซิลเพื่อให้ก้อนดังกล่าวหลุดออกใช้นิ้วล้วงเข้าไปในช่องปาก แล้วกดบริเวณส่วนล่างของต่อมทอนซิล แล้วดันขึ้นบน หรือใช้ลิ้นดัน เพื่อให้ก้อนดังกล่าวหลุดออกมา
2. ผ่าตัด ได้แก่ ใช้กรด trichloracetic acid หรือเลเซอร์ (laser tonsillotomy) จี้ต่อมทอนซิลเพื่อเปิดขอบร่องของต่อมทอนซิลให้กว้าง ไม่ให้เป็นซอกหลืบ ที่จะเป็นที่สะสมของสิ่งต่างๆ ได้อีก
ซึ่งสามารถทำได้โดยใช้ยาชาเฉพาะที่ผ่าตัดต่อมทอนซิลออกเป็นการรักษาที่หายขาด มักจะทำในกรณีที่ใช้วิธีดังกล่าวข้างต้นแล้วยังไม่ได้ผล
ที่มา: https://u.jaahaa.com/451.html