ปวดมือ ชานิ้ว เวลาทำงานหรือขับรถ เสี่ยงโรคพังผืดทับเส้นประสาท


5,180 ผู้ชม

 กลุ่มอาการเส้นประสาทถูกกดทับบริเวณข้อมือ หรือมีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า Carpal Tunnel Syndrome คือ กลุ่มอาการที่เกิดจากเส้นประสาทมีเดียนถูกกดทับบริเวณข้อมือ


 กลุ่มอาการเส้นประสาทถูกกดทับบริเวณข้อมือ หรือมีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า Carpal Tunnel Syndrome คือ กลุ่มอาการที่เกิดจากเส้นประสาทมีเดียนถูกกดทับบริเวณข้อมือ 

ซึ่งเกิดจากเส้นเอ็นบริเวณช่องข้อมืออักเสบ ทำให้เส้นเอ็นบวมมีขนาดใหญ่ขึ้น มีผลให้ช่องว่างในข้อมือมีขนาดเล็กลงเส้นประสาทจึงถูกเบียดหรือถูกกดทับเส้น ประสาทมีเดียนผ่านช่องข้อมือมีแขนงไปยังนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนางด้านนิ้วหัวแม่มือ


เมื่อถูกกดทับทำให้มีอาการปวดและชาตามนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วก้อย หรือนิ้วนาง ถ้าเส้นประสาทถูกกดทับนานๆ กล้ามเนื้อบริเวณฝ่ามือด้านนิ้วหัวแม่มือจะลีบเล็กลง พบในหญิงมากกว่าชาย พบในวัยกลางคนอายุ 30-50 ปี 


อาการที่พบบ่อย คือ ชานิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง (Numbness) อาการปวด เสียวคล้ายไฟช็อต (Tingling) และปวดบริเวณข้อมือ มือ นิ้วมือ อาจปวดขึ้นตามแขนถึงไหล่ มักมีอาการเวลากลางคืน เวลาทำงาน ทำอาหาร โทรศัพท์ เขียนหนังสือ ขับรถ หรือเมื่อใช้ข้อมือมาก

 สาเหตุของโรคพังผืดกดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ เกิดจาก
1. การใช้งานข้อมือในท่าเดิม ๆ เช่น คนที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์ที่ต้องใช้เมาส์ การกดแป้นคีย์บอร์ด การเย็บผ้า
2. การใช้ข้อมือที่มีการงอมือเป็นเวลานาน เช่น การกวาดบ้านนานๆ การรีดผ้า หรือการหิ้วของหนักๆ
3. การทำงานที่มีการใช้ข้อมือกระดกขึ้นและการสั่นกระแทก เช่น ช่างฝีมือประเภทต่าง ๆ พนักงานโรงงาน งานที่เกี่ยวกับการก่อสร้างหรืองานคอนกรีต
4. การที่พังผืดหนาตัวมากขึ้น จากสภาพร่างกายที่มีอายุมากขึ้น
 

วิธีการรักษาโรคพังผืดทับเส้นประสาท
1. การรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด ทานยาเพื่อลดอาการอักเสบและบวม ใช้อุปกรณ์พยุงข้อมือ เพื่อลดการอักเสบโดยจำกัดการเคลื่อนไหวข้อมือ
2. การรักษาโดยการผ่าตัด
ถ้ารักษาด้วยวิธีข้างต้น อาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการชาหรือปวดมากขึ้น หรือมีอาการลีบของกล้ามเนื้อฝ่ามือด้านนิ้วหัวแม่มือ ต้องรักษาด้วยวิธีผ่าตัด การผ่าตัดใช้ระยะเวลาประมาณ 20 นาที คนไข้ไม่จำเป็นต้องอยู่โรงพยาบาล เป็นการผ่าตัดแบบคนไข้นอก 

ทั้งนี้วิธีการรักษาขึ้นอยู่กับแพทย์จะพิจารณาจากระดับความรุนแรงของโรค


ขอบคุณ: ศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ โรงพยาบาลพญาไท / เพจสุขภาพบำบัด

 

อัพเดทล่าสุด