เลี่ยงซะ! 5 ผักที่ไม่ควรกินดิบๆ อันตรายต่อสุขภาพถึงชีวิตได้


44,714 ผู้ชม

ผัก มีประโยชน์ต่อร่างกาย มันจึงเป็นเหมือนอาหารหลักที่มนุษย์เรานำมาใช้ประกอบอาหาร หากเรากินผักมากๆก็จะมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง แต่รู้หรือเปล่า?...


ผัก มีประโยชน์ต่อร่างกาย มันจึงเป็นเหมือนอาหารหลักที่มนุษย์เรานำมาใช้ประกอบอาหาร หากเรากินผักมากๆก็จะมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง แต่รู้หรือเปล่า?

5 ผักเหล่านี้ “กินดิบๆ” เสี่ยงอันตราย  ขอบอกว่า มีแต่ผักที่เราๆชื่นชอบ กินกันเป็นประจำทั้งนั้น ทั้งเป็นเครื่องเคียงใส่ก๋วยเตี๋ยวเอย ขนมจีนน้ำยาเอย หรือกินกับลูกชิ้นปิ้ง ไม่น่าเชื่อว่าจะติดโผกับเขาด้วย!  ส่วนจะมีอะไรบ้างนั้นไปดูกัน...

1. ผักโขม

ไม่ควรกินดิบเพราะกรดในผักโขมจะขัดขวางการดูดซึมของธาตุเหล็ก คือกรดที่ชื่อว่าออกเซลิค แอซิด อยู่ในตัวมันสูง ทำให้ร่างกายเราไม่สามารถดูดซับธาตุเหล็กนั่นเอง


 

2. หน่อไม้

หน่อไม้ดิบมีสารที่จะเปลี่ยนเป็นไซยาไนด์ ที่เป็นพิษได้ จึงต้องต้มในน้ำเดือดนานเกิน 10 นาทีจึงจะปลอดภัยสุดๆ เจ้าสารที่ว่าว่านี้ขื้นอยู่กับสายพันธุ์ของหน่อไม้ และสภาพการปลูก การบรรจุเตรียมขายด้วยค่ะ ในกรณีหน่อไม้ปี๊บต้องต้มฆ่าเชื้อก่อนปิดปี๊บอยู่แล้ว ก็ช่วยลดเจ้าสารพิษตัวนี้ไปได้มากๆ โดยปกติเรากินหน่อไม้ เราก็ต้องลวกก่อนอยู่แล้ว ลวกนานๆละกัน อีกเรื่องนึงก็คือโรคโบทูลิซึ่ม กล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นหนักๆก็ไม่มีแรงหายใจเองไม่ได้ ถ้าช่วยไม่ทันก็ถึงตายได้ ถ้าหน่อไม้ปีปนั้นไม่สะอาดจะแฝงเชื้อนี้มากับดิน
 

3. ถั่วฝักยาว

ถั่วฝักยาวดิบด้วยแล้วจะมีแก๊สค่อนข้างสูงโดยเฉพาะแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้ท้องอืด ไม่เหมาะกับคนที่มีปัญหาการย่อยและผู้สูงอายุ

4. ถั่วงอก

ในผักสดบางชนิดมีสารพิษที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ “ไฟเตต จะพบมากในพืชตระกูล ถั่ว ไม่ว่าจะเป็นถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วเขียว หรืองา ดังนั้นในถั่วงอกดิบจึงมีไฟ เตตสูง ซึ่งเมื่อกินเข้าไปจะ ไปจับแร่ธาตุบางชนิดที่อยู่ในอาหาร ทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมแร่ธาตุเหล่านั้นเข้าร่างกาย ร่างกายจะเป็นโรคขาดแร่ธาตุ สารพิษเหล่านี้สามารถทำลายได้โดยการต้ม แต่ถ้าปรุงให้สุกไฟเตตจะสลายไป หรือมีปริมาณน้อยลง โอกาสที่ไฟเตตจะไปดูดซับแร่ธาตุต่าง ๆ จึงน้อยกว่าการรับประทานดิบ ๆ ” จึงควรรับประทานถั่วงอกสุขดีกว่าถั่วงอกดิบ แต่ในความเป็นจริงเราต้องรับประทานจำนวนมากจึงเกิดการขัดขวางการดูดซึม ถ้าจะทานดิบก็ควรทานในปริมานพอเหมาะ


 

 5. กระหล่ำปลี

ในกะหล่ำปลีดิบจะมีสารพิษที่เรียกว่า กอยโตรเจน (Goibrogen) ซึ่งเป็นสารที่จะไปกันไม่ให้ต่อมไทรอยด์จับไอโอดีน สร้างเป็น ฮอร์โมนไทร๊อกซิน (Thyroscine) ได้ ซึ่งผลที่เกิดขึ้นคือ จะทำให้เกิดเป็นโรคคอหอยพอก แต่สารพิษเหล่านี้จะถูกทำลายได้ โดยการต้ม จึงควรรับประทานกะหล่ำปลีสุก จะดีกว่ากะหล่ำปลีดิบ ความจริงก็คือถ้าคนๆนั้น มีสภาวะไทรอยด์ก็ควรงดเพราะโอกาสจะเพิ่มอาการ ส่วนคนปกติทานเป็นผักแกล้มกับน้ำพริก หรือลาบก็คงไม่มากเท่าไหร่ ยกเว้นทานเป็นกิโลๆ

ที่มา :  tnews

อัพเดทล่าสุด