กรดไหลย้อน โรคกรดไหลย้อน วิธีแก้กรดไหลย้อน ใครเป็นกรดไหลย้อนอยากให้อ่าน!!


32,738 ผู้ชม


กรดไหลย้อน โรคกรดไหลย้อน วิธีแก้กรดไหลย้อน ใครเป็นกรดไหลย้อนอยากให้อ่าน!!
เนื่องจากคนใกล้ชิดท้องอืดมาประมาณ 10 วัน ทานผักเพิ่มเข้าไปก็แล้ว ทานยาเคมีสังเคราะห์ต่างๆ เช่น ยาเม็ดช่วยย่อยอาหาร ยาก่อนอาหารช่วยให้ลำไส้เคลื่อนตัว ยาเม็ดเคี้ยวลดอาการท้องอืด จุก เสียดท้อง อาการก็ยังไม่ทุเลา
พอได้สูตรน้ำกะเพรา เลยลองต้มให้ญาติทาน แค่ดื่มวันแรกได้ผลดีจริงๆ ท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอเปี้ยวหายไปโดยไม่ต้องทานยาเคมีเข้าช่วยเลย ลองดื่มดูนะค่ะสูตรนี้ได้มาจาก นพ.เปี่ยมโชค ชลิดาพงศ์ (ซึ่งฟังมาจากเพื่อนต่อๆกันมาอีกที)

วิธีทำน้ำกะเพรา

1. นำกะเพรา 1 กำ (ทั้งลำต้นและใบ) ถ้าใช้กะเพราแดงจะได้ผลดีกว่า ประมาณ 1ขีด มาล้างให้สะอาดด้วยน้ำจุลินทรีย์ EM (ของโยเร แช่ 1 ช.ม.) หรือน้ำยาล้างผักเพื่อล้างยาฆ่าแมลงออก
2. ใส่น้ำ 2 - 3 ลิตรลงในหม้อ นำกะเพราใส่ลงไปทั้งหมด
3. ปิดฝาหม้อ ใช้ไฟปานกลางค่อนข้างอ่อน ต้มประมาณ 15 - 20 นาที พอน้ำเดือดปุ๊บให้ปิดแก๊สทันที
4. ดื่มหลังอาหาร 1 แก้ว 250 ml (อ่านตรง ปล. ต่อ)
5. ถ้าน้ำกะเพราเย็นลงหรือ ดื่มไม่หมด ไม่ต้องอุ่นหรือต้มซ้ำ ให้แช่เย็นไว้ดื่ม

ป.ล

1.ใช้กะเพราแดงจะได้ผลดีกว่า
2. จำไว้ว่า กะเพราเป็นสมุนไพรธาตุร้อน ถ้าดื่มน้ำกะเพราไปแล้วเกิดอาการร้อนใน ให้ลดปริมาณน้ำกะเพราลง
3. อาการหนักประมาณ 6 แก้ว และหลังจากวันแรกที่ดื่ม ถ้าอาการทุเลาให้ลดปริมาณน้ำกะเพราลง เหลือหลังอาหารวันละ 2 - 3 แก้ว
4. ยาสมุนไพรไทย ใช้เวลารักษานานค่ะถึงจะหาย ต้องกินเป็นประจำสม่ำเสมอ โดยไม่ต้องทานยาเคมีเข้าช่วยเลย
ประโยชน์ของกะเพรา

กะเพราช่วยขับลม เป็น Buffer ปรับสมดุลกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยเร่งการย่อยอาหาร ได้ผลดีเยี่ยมกับคนที่เป็นโรคลำไส้เล็ก เช่น จุกเสียดในลำไส้เล็ก (เวลาเป็นเหมือนถูกแทงด้วยหลาว นั่งอยู่ดีๆก็เจ็บเหมือนถูกแทง หรือถูกต่อย)การดูแลตนเองสำหรับผู้ที่มีอาการท้องอืด จุก เสียด แน่นเฟ้อ

(ข้อมูลนี้ได้มาจากประสบการณ์ของผู้ป่วยหลายๆท่าน)

1. ไม่รับประทานอาหารที่มีรสเผ็ดและเปรี้ยว แม้เพียงเล็กน้อย (ข้อนี้สำคัญ)

2. ไม่รับประทานอาหารมัน และของหมักดอง เช่น ผลไม้ดองต่างๆ (ข้อนี้สำคัญ)

3. ไม่ควรรับประทานอาหารรสหวาน ที่มีน้ำตาลปริมาณมาก เช่น ขนมหวาน, น้ำหวาน, น้ำอัดลม

4. งดดื่มเหล้า และสูบบุหรี่ ชาและกาแฟก็ควรงด

5. ไม่รับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์เป็นจำนวนมาก ควรทานเนื้อปลา หรือถั่ว (ข้อนี้สำคัญ)

6. ควรรับประทานผัก และผลไม้ทุกมื้อ เพื่อให้มีการขับถ่าย ไล่ลมออก จุลินทรีย์ได้ทำงาน (ข้อนี้สำคัญ)

7. ดื่มน้ำมะเขือเทศปั่น ครึ่ง – หนึ่งกิโลกรัม ก่อนรับประทานอาหารเช้า

8. ไม่ควรรับประทานผลไม้ประเภทย่อยยาก เช่น ฝรั่ง, มะม่วง

9. ควรทานผลไม้ประเภทย่อยง่าย และมีกากใยสูง ผลไม้ที่แนะนำ เช่น ส้ม ชมพู่ แตงไทย แคนตาลูป

10. เคี้ยวอาหารให้ละเอียด ประมาณ 100-200 ครั้งต่อ 1 คำ (ข้อนี้ช่วยได้มาก)

11. ไม่รับประทานอาหารจนเต็มกระเพาะอาหาร (ข้อนี้สำคัญเช่นกัน)

12. ใช้เวลารับประทานอาหารในแต่ละมื้อประมาณ ครึ่ง - หนึ่งชั่วโมง

13. หลังรับประทานอาหารเสร็จ ให้ดื่มน้ำเปล่าแต่น้อย หลังจากนั้นอีกประมาณ ครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงให้ดื่มน้ำกะเพรา เพราะน้ำกะเพราจะช่วยขับลม และช่วยเร่งการย่อยอาหาร

14. ตอนเย็นให้รับประทานอาหารย่อยง่ายๆเท่านั้น เช่น โจ๊ก, ข้าวต้ม (ข้อนี้สำคัญมากๆเช่นกัน)

15. ควรดื่มยาคูลย์ (วันละ 1 ขวด หลังอาหารเช้า) หรือยา-อาหารเสริมประเภทเพิ่มจุลินทรีย์ในลำไส้

16. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น วิ่งทุกเช้า หรือวิ่งในช่วงเย็น เพื่อให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหว (ข้อนี้สำคัญ

)17. อดทนในเรื่องไม่ทานอาหารจุกจิก ไม่เป็นเวลา ไม่เป็นมื้อ (ข้อนี้สำคัญเช่นกัน)

18. ท่องไว้ในใจเสมอว่า “การไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ” 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: hannah idaสรรหาสาระสุขภาพ

อัพเดทล่าสุด