แพทย์จากสหรัฐอเมริกา เตือนเรื่องนี้เป็นเรื่องจริงจังมาก การใช้ก้านสำลี แคะหู อันตรายกว่าที่คุณคิด...
แพทย์เตือน ใช้ก้านสำลี “แคะหู” อันตรายกว่าที่คุณคิด!
เชื่อว่าหลายคนคงเคยใช้คัตตอนบัดปั่นหูกันแน่นอน บ้างก็ใช้เป็นประจำ บ้างก็นาน ๆ ครั้ง ซึ่งการใช้คัตตอนบัดปั่นหูนับเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกที่สุดในการทำความสะอาดช่องหู แต่ทราบหรือไม่ว่าการทำใช้เช่นนี้เป็นประจำนั้น ส่งผลเสียและอันตรายมากกว่าที่คิด
เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2559 เว็บไซต์อินดิเพนเดนท์ของอังกฤษ รายงานว่า สำลีปั่นหูหรือคัตตอนบัดนั้น มีวัตถุประสงค์ในการใช้ที่แท้จริง คือการเช็ดทำความสะอาดสิ่งเล็ก ๆ หรืองานฝีมือต่าง ๆ แต่ผู้คนส่วนใหญ่มักนำมาใช้อย่างผิดวิธี แม้ว่าจะมีการเขียนเตือนว่าห้ามนำมาใส่หู แต่หลายคนกลับละเลยคำเตือน ใช้คัตตอนบัดปั่นหูกัน
โดยการโฆษณาเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดอย่างมาก ยกตัวอย่างคัตตอนบัดยี่ห้อหนึ่ง มีการเขียนฉลากไว้ว่า ใช้สำหรับดูแลช่องหูผู้ใหญ่ แต่ในทางกลับกันคำเตือนด้านหลังกลับบอกว่าห้ามใส่ในช่องหู เป็นเช่นนี้เรื่อยมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แม้จะดูเหมือนเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย แต่สำหรับ ดร.เดนนิส ฟิทซ์เจอรัลด์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านความผิดปกติของหูและจมูกในวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงจังมาก เนื่องจากมีผู้ป่วยเข้ามารักษาหูเป็นจำนวนมากและสาเหตุมาจากการใช้คัตตอนบัดสอดเข้าไปในช่องหูทั้งนั้น
เดนนิส กล่าวว่า ภายในช่องหูของคนเราเต็มได้วยเส้นประสาทบอบบาง ที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย บางคนชอบใช้สำลีเข้าไปให้หู ทำให้รู้สึกเพลิดเพลินและคิดว่าหายคัน แต่สิ่งที่หลายๆ คนยังไม่รู้ คือยิ่งใช้คัตตอนบัดแหย่เข้าไปในรูหูมากเท่าไร ก็ยิ่งทำให้มีอาการคันมากขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้คนส่วนใหญ่มักคิดว่าขี้หูเป็นสิ่งสกปรกที่ต้องกำจัดทิ้งเสมอ ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิด เนื่องจากขี้หูทำหน้าที่เช่นเดียวกับน้ำตา เป็นสิ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นมาตามกลไกธรรมชาติ เพื่อคอยกรองและป้องกันสิ่งสกปรกเข้าไปภายในช่องหู
ทั้งนี้การใช้คัตตอนบัตแหย่เข้าไปในหู นอกจากจะไม่ส่งผลดีแล้ว ตรงกันข้ามกลับยิ่งไปดันให้ขี้หูเข้าไปในเยื่อแก้วมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นหากแหย่ก้านสำลีลึกเข้าไปเท่าใด ก็จะยิ่งทำให้เยื่อแก้วหูฉีกขาดมากขึ้นเท่านั้น หรืออาจจะทำลายไปยังกระดูกหูส่วนกลางเลยก็เป็นได้ อยากขอเตือนให้เลิกใช้ก้านสำลีแหย่เข้าไปในหู สำหรับสินค้าที่มีการโฆษณาอยากให้นำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องกับผู้บริโภค เพื่อป้องกันการใช้ผิดวิธีและลดจำนวนผู้ป่วย
https://health.kapook.com/view140413.html