การห่อตัวเด็ก เทคนิคการห่อตัวเด็กทารกแบบต่างๆ พร้อมภาพวิดีโอ


2,435 ผู้ชม

การห่อตัวเด็ก เทคนิคการห่อตัวเด็กทารกแบบต่างๆ พร้อมภาพวิดีโอ


การห่อตัวเด็ก เทคนิคการห่อตัวเด็กทารกแบบต่างๆ พร้อมภาพวิดีโอ 

การห่อตัวเด็ก คุณแม่อาจจะได้เรียนรู้วิธีการจากโรงพยาบาลกันมาบ้าง สำหรับเด็กแรกเกิด การห่อตัวนั้นจะทำให้เด็กรู้สึกอบอุ่นคุ้นเคยเหมือนอยู่ในครรภ์ของแม่ ลองมาดูประโยชน์ และวิธีการห่อตัวเด็กแบบต่างๆ กัน


ประโยชน์การห่อตัวเด็กทารก

1. ช่วยทำให้เด็กมีความสุข ทำให้เด็กสงบ พักหลับได้นานขึ้นเพราะเด็กแรกเกิดรู้สึกคุ้นเคยกับความอบอุ่นมาจากในครรภ์ของแม่ เด็กแรกเกิดต้องการให้สัมผัสและอยู่ใกล้ชิดอกของแม่ การห่อตัวเด็กอ่อน ช่วยให้เด็กรู้สึกสบายเหมือนอยู่ในมดลูกแม่ ลองห่อผ้าให้กระชับและอุ้มเด็กขึ้นพาดบ่า จะรู้สึกได้ว่าเด็กจะหดแขนขาและกอดรัดคนอุ้มเพื่อค้นหาความอบอุ่นและจะทำให้เด็กรู้สึกสบายขึ้นและร้องน้อยลง

2. ช่วยให้เด็กหยุดร้องไห้ หรือร้องไห้น้อยลงจากอาการตกใจกลัว เสียงที่ดังมาก เช่น เสียงประตูปิดกระแทกดังๆ เสียงฟ้าร้อง เป็นต้น การห่อตัวและกอดอุ้มไว้จะช่วยให้เด็กหายกลัวและหยุดร้องไห้ได้

3. ข่วยให้เด็กนอนหลับได้ยาวขึ้น เพราะเด็กเล็กๆ มักนอนเป็นช่วงระยะสั้นๆ และอาจมีอาการผวาได้ง่ายในช่วงแรก การห่อตัวจะช่วยลดอาการผวาในขณะนอนหลับ และทำให้สามารถนอนได้ยาวขึ้น

4. ช่วยเรื่องการพัฒนาระบบประสาทโดยเฉพาะเด็กเล็กคลอดก่อนกำหนด หรือเด็กที่มีน้ำหนักตัวน้อยมากๆ การห่อตัวจะช่วยลดปฎิกิริยที่ไวมากต่อการกระตุ้นจากการถูกสัมผัสครั้งแรก ช่วยให้เด็กปรับตัวกับการถูกสัมผัสได้ดีขึ้น

5. ป้องกันและลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดการเสียชีวิตอย่างกระทันหันของทารก หรือ Sudden infant death syndrome (SIDS)

6. เพิ่มสายสัมพันธ์และความผูกพันระหว่างแม่และลูก 
การห่อตัวเด็กทารกแบบต่างๆ

1.การห่อตัวแบบคลุมศีรษะช่วยในการเตรียมตรวจหรือทำหัตถการบริเวณใบหน้าเพื่อเคลื่อนย้ายกรณีป่วย เพื่อรักษาอุณหภูมิร่างกายเด็กป้องกันการสูญเสียความร้อน หรือ กรณีห่อตัวเพื่อกลับบ้าน

2. การห่อตัวแบบเปิดศีรษะช่วยในการทำหัตถการบริเวณศีรษะ เช่น การให้น้ำเกลือที่ศีรษะ การเจาะเลือด การล้างจมูก ดูดเสมหะ ฯลฯ

3. การห่อตัวแบบเปิดแขนข้างใดข้างหนึ่งช่วยในการทำหัตถการบริเวณแขน หรือปลายนิ้ว เช่น การให้น้ำเกลือ การเจาะเลือด หรือการทำแผล

4. การห่อตัวแบบเปิดช่วงอกช่วยในการทำหัตถการบริเวณช่วงอก เช่น การใส่สายยางให้อาหาร การทำแผลบริเวรณหน้าอก หน้าท้อง ฯลฯ
การห่อตัวปกติที่แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ใช้กับเด็กที่บ้าน คือ

1. การห่อตัวแบบคลุมศีรษะ

- ปูผ้าที่ใช้ห่อตัวเด็กลงบนเตียงพับมุมหนึ่งลงมาให้ผ้ากลายเป็นห้าเหลี่ยม

- อุ้มเด็กวางลงผ้าห้าเหลี่ยมที่ปูไว้โดยวางให้ศีรษะเด็กต่ำกว่าผ้าที่พับมุมไว้ 3-4นิ้ว

- ตลบผ้าลงมาโอบรอบศีรษะให้ปิดหน้าผากและใบหู

- จับแขนทั้งสองข้างของเด็กให้แนบลำตัว ดึงชายผ้าข้างหนึ่งคลุมไหล่ แล้วดึงผ่านลำตัวไปสอดไว้ใต้แขนอีกข้างหนึ่งจับแขนอีกข้างหนึ่งแนบลำตัว ตลบชายผ้าด้านที่เหลือให้คลุมไหล่และคลุมผ่านลำตัว แล้วอ้อมชายผ้าไปพันรอบตัวเด็กด้านหลัง

- รวบชายผ้าบริเวณปลายเท้า ใช้เข็มกลัดซ่อนปลายเหน็บ แต่ในเด็กเล็กกลัวเด็กดิ้นหลุด เข็มกลัดทิ่มได้ ให้ใช้การผูกปมก็พอ

คลิป การห่อตัวแบบคลุมศีรษะ

2. การห่อตัวแบบเปิดศีรษะ

ขั้นตอนคล้ายกับการห่อตัวแบบคลุมศีรษะ แต่ต่างกันตรงการอุ้มเด็กมาวางวางบนผ้า

- ปูผ้าที่ใช้ห่อตัวเด็กลงบนเตียงพับมุมหนึ่งลงมาให้ผ้ากลายเป็นห้าเหลี่ยม

- อุ้มเด็กวางลงผ้าห้าเหลี่ยมที่ปูไว้โดยวางเด็กโดยให้ระดับบ่าของเด็กอยู่ที่ริมผ้าด้านที่พับมุม

- จับแขนทั้งสองข้างของเด็กให้แนบลำตัว ดึงชายผ้าข้างหนึ่งคลุมไหล่ แล้วดึงผ่านลำตัวไปสอดไว้ใต้แขนอีกข้างหนึ่ง

- จับแขนอีกข้างหนึ่งแนบลำตัว ตลบชายผ้าด้านที่เหลือให้คลุมไหล่และคลุมผ่านลำตัว แล้วอ้อมชายผ้าไปพันรอบตัวเด็กด้านหลัง

- รวบชายผ้าบริเวณปลายเท้า และปูกชายผ้าเป็นปม

คลิป การห่อตัวแบบเปิดศีรษะ

ที่มา: https://www.momypedia.com/

อัพเดทล่าสุด