ปกติแล้วโรควุ้นในตาเสื่อม มักเกิดกับผู้สูงอายาว 50 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่กลายมาเป็นอุปกรณ์สำคัญในการทำงานของแทบจะทุกสาขาอาชีพ
ปกติแล้วโรควุ้นในตาเสื่อม มักเกิดกับผู้สูงอายาว 50 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่กลายมาเป็นอุปกรณ์สำคัญในการทำงานของแทบจะทุกสาขาอาชีพ ทำให้มนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆ หรือแม้กระทั่งฟรีแลนซ์ทำงานอยู่บ้าน ก็ต้องเจอกับภาวะเสี่ยงในการเป็นโรค “วุ้นในตาเสื่อม”
สาเหตุของโรค วุ้นในตาเสื่อม
ใช้สายตามากเกินไป เช่น จ้องหรือเพ่งมองหน้าจอคอมพิวเตอร์ หนังสือในที่ๆ แสงน้อย หน้าจอโทรศัพท์มือถือ เล่นเกม ดูโทรทัศน์ โดยการอ่านหนังสือ หรือพิมพ์ตัวหนังสือในคอมพิวเตอร์จะทำให้วุ้นตาเสื่อมเร็วกว่าการอ่านหนังสือบนหนังสือจริง เพราะตัวอักษรบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ไม่คมชัด และปรากฏอยู่บนจอ LCD หรือจอแก้วที่มีความตื้นลึก ไม่เหมือนตัวอักษรบนแผ่นกระดาษ ทำให้สายตาเราสับสนในการปรับระยะโฟกัส นอกจากนี้การอ่านบทความแบบเลื่อนขึ้นลง ก็ทำให้สายตาของเราเลื่อนแบบกระตุกๆ ขึ้นลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้สายตาทำงานหนักกว่าการอ่านหนังสือแบบปกติ
อาการโรควุ้นในตาเสื่อม
โรควุ้นในตาเสื่อม เป็นหนึ่งในโรคออฟฟิศซินโดรม ที่มีอาการดังนี้
1. เวลาลืมตาจะเห็นเป็นคราบดำๆ เหมือนหยากไย่ลอยไปลอยมา เหมือนมีคราบติดกระจก และจะยิ่งเห็นชัดเมื่อมองไปที่พื้นที่สีขาว
2. เห็นจุดลอยๆ มากขึ้นจนเริ่รบกวนการใช้ชีวิต
3. เห็นแสงระยิบระยับคล้ายแสงแฟลช
4. สายตาพร่ามัวลง เหมือนมีม่านดวงตาบังเป็นแถบๆ
5. ในรายที่มีอาการหนัก อาจจะประสาทตาฉีกขาด จะมองเห็นแสงแฟลชในที่มืด ไม่ว่าจะลืมตาหรือหลับตา รบกวนการมองเห็นอย่างมาก
เมื่อพบอาการดังกล่าว ควรปรึกษาจักษุแพทย์โดยด่วน เพราะหากปล่อยไว้นานเกินไป อาจเสี่ยงต่อการที่จะตาบอดได้
วิธีบำรุงดวงตา
1. ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะวิตามินเอ และอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น แครอท ผักบุ้ง ตำลึง ฟักทอง คะน้า มะม่วงสุก มะละกอ ฯลฯ
2. งด หรือลดการสูบบุหรี่
3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
4. อย่าใช้งานดวงตาหนักจนเกินไป เมื่อใช้คอมพิวเตอร์ทำงาน ควรพักสายตาออกจากจอคอมพิวเตอร์ทุกๆ 2-3 ชั่วโมง พัก 5-10 นาที ค่อยทำงานต่อ
5. หากสายตาสั้น ควรสวมแว่นตาที่มีค่าเลนส์สายตาที่เหมาะกับเรา ใครที่ใส่คอนแทคเลนส์ รักษาความสะอาด และอย่าใส่คอนแทคเลนส์เกิน 6-8 ชั่วโมงต่อวัน อย่าใส่นอน
ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก เฟซบุ๊ค วุ้นในตาเสื่อม (Eye Floaters)
ภาพประกอบจาก istockphoto